เรื่องเด่น Quattroruote
เครื่องยนต์ 2 สไตล์ JEEP AVENGER VS VOLKSWAGEN T-CROSS
ทางเลือกระบบไฮบริด หรือเครื่องยนต์สันดาป ? การเผชิญหน้ากันระหว่างรถยนต์ 2 รุ่นยอดนิยมในกลุ่มรถยนต์บี-เอสยูวี โดยที่ค่ายรถสัญชาติอเมริกันเพิ่มทางเลือกเครื่องยนต์แบบไฮบริด มีความจุที่ 1.2 ลิตร ขณะที่ค่ายสัญชาติเยอรมันก็ยกระดับประสิทธิภาพขึ้นมาแบบไม่มีใครยอมใคร
รถยนต์ 1 ใน 4 ที่ขายในประเทศอิตาลี คือ รถยนต์กลุ่มบี-เอสยูวี กับขุมพลังที่เน้นการผสมผสานของรูปแบบพลังงานระหว่างเครื่องยนต์สันดาป และระบบไฟฟ้า ทางค่ายรถมีการนำเสนอรุ่นใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับประสิทธิภาพโดยรวมที่น่าสนใจยิ่งขึ้น มีเพียงไม่กี่รายที่สนใจเลือกรถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มตัว เพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ในการทดสอบครั้งนี้ เราจึงนำครอสส์โอเวอร์ 2 รูปแบบมานำเสนอ ซึ่งเป็นรถยนต์ที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ กับตัวเลขของสเปค และสมรรถนะที่มีความสูสีกัน นั่นคือ JEEP AVENGER (จีพ อเวนเจอร์) และ VOLKSWAGEN T-CROSS (โฟล์คสวาเกน ที-ครอสส์) กับรุ่นทอพที่มีอุปกรณ์ครบครันที่สุด (ตามลำดับ คือ รุ่น SUMMIT และ STYLE) ซึ่งมีราคาแตกต่างกันเพียง 100 ยูโร
องค์ประกอบหลายส่วนของรถยนต์ 2 รุ่นนี้ อาจเคยถูกนำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่ทั้งคู่ยังคงมีสิ่งใหม่ที่น่าสนใจ นั่นคือ รถของ JEEP ออกสู่ตลาดได้ไม่ถึงปีที่ผ่านมา จัดเป็นรถยนต์ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี หากเทียบกับบรรดารถยนต์บี-เอสยูวีระดับเดียวกัน โดยรุ่นย่อยที่ขายดีที่สุดรองจากเวอร์ชันที่ให้ออพชันมาเต็มพิกัด มีทั้งแบบระบบไฟฟ้าล้วน และเบนซิน ไฮบริด ขนาด 1.2 ลิตร โดยทางเลือกของเครื่องยนต์มีทั้งระบบไฮบริดขนาดเล็ก หรือระบบไฮบริดแบบเต็มตัว (ดังที่บทความจะอธิบายไว้ดีกว่าในหน้าถัดไป) หากใครที่มีความสนใจในรุ่น AVENGER จัดเป็นความคุ้มค่าไม่น้อยกับรุ่นย่อยที่เน้นออพชันดังกล่าว โดยมีความแตกต่างกันของราคาเมื่อเทียบกับรุ่นพื้นฐานเพียง 1,700 ยูโรเท่านั้น เมื่อเทียบกับรุ่นเครื่องยนต์สันดาปตามปกติ ผู้ใช้งานจะได้ระบบเกียร์อัตโนมัติ และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขณะใช้งานในตัวเมืองที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด
มาถึงอีกหนึ่งรุ่นที่ทางค่ายรถมีการพัฒนาขุมพลังที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นั่นคือ ค่าย VOLKSWAGEN กับทางเลือกรถยนต์ระบบไฮบริดซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในรถยนต์ที่สร้างยอดจำหน่ายเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลา 4 ปีหลังจากเปิดตัว โดยมุ่งเน้นไปที่เครื่องยนต์รหัส TSI ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเครื่องยนต์เบนซินแบบ 3 สูบ ในรุ่น PLUS มีกำลังสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 110 เป็น 116 แรงม้า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การใส่ใจในองค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเติม หากย้อนไปในปี 2019 ทีมงานทดสอบของเราเคยวิพากษ์วิจารณ์คุณภาพของวัสดุที่ใช้บางส่วน แต่มาถึงปัจจุบันนี้ ค่ายรถจากเมืองโวล์ฟบวร์กได้ทำการแก้ไขแล้ว ผลลัพธ์ของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่รถยนต์รุ่น T-CROSS จัดเป็นหนึ่งในบี-เอสยูวีที่มีองค์ประกอบที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งที่ทำตลาดอยู่ในปัจจุบัน ทางค่ายรถติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมามากมายหลายรายการราวกับรถยนต์ราคาแพงกว่า ตั้งแต่ระบบช่วยการขับขี่ระดับ 2 จนถึงไฟหน้าแบบแอคทีฟเมทริกซ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรุ่นก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นในเรื่องของความแข็งแกร่งยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเบาะด้านหลังแบบเลื่อนหน้า-หลังได้ และเบาะนั่งด้านหน้าผู้โดยสารแบบพับได้ จุดเก็บของต่างๆ เพิ่มความอเนกประสงค์มากมายหลายจุด ดังนี้แล้ว รถยนต์ทั้ง 2 รุ่นต่างก็มีจุดประสงค์ของการเป็นรถยนต์คันแรกของหลายครอบครัว แม้จะมีขนาดค่อนข้างเล็กก็ตาม เพื่อดูว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน เราจึงทดสอบรถยนต์รุ่นเด่นทั้ง 2 รุ่นในสถานการณ์ที่สะท้อนชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานในตัวเมือง หรือการเดินทางไปนอกเมืองในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และทริพท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นระยะทางไกล เพื่อดูประสิทธิภาพขณะขับเคลื่อน
รุ่น E-HYBRID SUMMIT
ราคา
จากผู้ผลิต 31,000 ยูโร (ประมาณ 1,320,000 ไม่รวมภาษีนำเข้า)
เครื่องยนต์
เบนซิน เทอร์โบ 3 สูบเรียง + มอเตอร์ไฟฟ้า
ความจุ 1,199 ซีซี
กำลังสูงสุด
74 กิโลวัตต์/100 แรงม้า
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย
จากผู้ผลิต 20.0 กม./ลิตร
จากการทดสอบ 17.4 กม./ลิตร
ความคุ้มค่า 10.99 ยูโร/100 กม.
อัตราการปล่อยไอเสีย
จากผู้ผลิต 114 กรัม/กม.
จุดแข็ง
ระบบไฮบริดที่ลงตัว ประหยัดเชื้อเพลิงทั้งในสภาวะการขับในตัวเมือง และการขับบนทางด่วนที่ความเร็วสูง ประหยัดว่าเครื่องยนต์สันดาปอย่างชัดเจน และมีความโดดเด่นในแง่ของความสะดวกสบาย มากกว่าคู่แข่งระดับเดียวกัน
จุดอ่อน
ที่เก็บสัมภาระท้าย มีการใช้งานที่ลงตัว แต่มีความจุโดยรวมตามมาตรฐานรถยนต์ระดับดังกล่าว การเลือกใช้วัสดุในห้องโดยสารบางจุด ดูไม่สมกับราคาของตัวรถ
รุ่น 1.0 TSI STYLE DSG
ราคา
จากผู้ผลิต 30,900 ยูโร (ประมาณ 1,290,000 ไม่รวมภาษีนำเข้า)
เครื่องยนต์
เบนซิน เทอร์โบ 3 สูบเรียง
ความจุ 999 ซีซี
กำลังสูงสุด
85 กิโลวัตต์/116 แรงม้า
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย
จากผู้ผลิต 17.2 กม./ลิตร
จากการทดสอบ 15.8 กม./ลิตร
ความคุ้มค่า 12.14 ยูโร/100 กม.
อัตราการปล่อยไอเสีย
จากผู้ผลิต 133 กรัม/กม.
จุดแข็ง
การตกแต่งห้องโดยสารมีการใช้งานวัสดุคุณภาพสูง เช่น พลาสติคแบบนุ่มบนแผงหน้าปัด และมีการใช้งานที่หลากหลาย อเนกประสงค์ ระหว่างเบาะคู่หน้า และเบาะด้านหลัง ทำได้น่าประทับใจดีมาก
จุดอ่อน
ในการทดสอบความคล่องแคล่ว ระบบ ESP มีจังหวะการทำงานที่รบกวนการขับขี่พอสมควร ขณะที่ ระบบรองรับปรับแต่งมาแข็งกระด้างมากกว่ารุ่นก่อนหน้านี้
การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ชัดเจน
รถยนต์ของ JEEP มีการใช้งานระบบไฮบริดขนาดเล็ก แต่มีรูปแบบการทำงานที่ใกล้เคียงกับระบบไฮบริดเต็มตัว จากการทดสอบโดยทีมงานของเรา มอเตอร์ไฟฟ้า กำลังสูงสุด 29 แรงม้า ติดตั้งเข้ากับชุดเกียร์อัตโนมัติคลัทชืคู่ สามารถขับเคลื่อนตัวรถของ AVENGER ได้ โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องยนต์สันดาปด้วยซ้ำ ขณะออกตัว และใช้ความเร็วคงที่ ไม่เกิน 50 กม./ชม. รถคันนี้สามารถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล้วนได้หากกดคันเร่งเบาๆ ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงกับการขับขี่ในตัวเมือง สิ่งที่เราสังเกต คือ รถยนต์ของ JEEP กับเครื่องยนต์เบนซิน เทอร์โบ 1.2 ลิตร ทำตัวเลขออกมาที่ 16.6 กม./ลิตร ขณะที่รุ่น E-HYBRID ของคู่แข่งทำได้ที่ 20.0 กม./ลิตร โดยรวมแล้ว การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ามีความไหลลื่น แม้ในบางจังหวะจะมีการสะดุดเล็กน้อยขณะที่ใช้ความเร็วต่ำ ระบบกำลังสลับการทำงานของเครื่องยนต์สันดาป และมอเตอร์ไฟฟ้า มีจุดที่สังเกตอาการได้บ้างจากเสียง การทำงานโดยรวม และขณะที่กำลังชาร์จไฟฟ้าเข้าแบทเตอรี ซึ่งผู้ขับไม่สามารถปรับแต่งอะไรได้ ขณะที่รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป T-CROSS มีการขับเคลื่อนที่ไหลลื่นมากกว่า ระบบเกียร์แบบอัตโนมัติคลัทช์คู่เปลี่ยนจังหวะได้แม่นยำ และหนักแน่น ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ขนาดเล็กแบบ 3 สูบเรียง ทำให้ขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวลมที่ช่วงรอบเครื่องยนต์ต่ำ ทำได้ดีเทียบเท่ากับเครื่องยนต์ 1.2 ลิตร ใน AVENGER ทางด้าน VOLKSWAGEN มีระยะทำการที่ไปได้ไกลโดยไม่ต้องอาศัยระบบไฟฟ้ามาช่วย
19.9 กม./ลิตร
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงทำได้ดีมากจากการขับในตัวเมือง มอเตอร์ไฟฟ้าช่วยส่งกำลังในหลายจังหวะ ส่วนการขับทางไกล เราใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอัตราส่วนถึง 27 % ของเส้นทางทั้งหมด
กล้องที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
เซนเซอร์ช่วยจอดมีติดตั้งจากโรงงาน ขณะที่กล้องมองภาพด้านหลังต้องจ่ายเงินเพิ่ม กับราคาที่ 300 ยูโร
มุมกล้องที่กว้าง
กล้องมองภาพด้านหลังมีมุมมองที่ 180 องศา สำหรับตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้านหลัง ติดตั้งเซนเซอร์ด้านหน้า และด้านหลัง
10.7 ม.
วงเลี้ยวของตัวรถที่แคบมาก ทำให้การหักเลี้ยวในที่แคบทำได้สะดวก ระบบช่วยจอดอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติม
11.2 ม.
วงเลี้ยวมากกว่าคู่แข่งครึ่งเมตร การตอบสนองของพวงมาลัยมีความแตกต่างกับน้ำหนักที่เบากว่า มีตัวเลขที่ 1.4 กก. เทียบกับ 1.8 กก. ของ VOLKSWAGEN
ระบบของ JEEP ละเอียดกว่า
ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติถูกออกแบบสำหรับการจราจรในตัวเมือง มีการจำลองอุปสรรครอบคันมากมายสำหรับการทดสอบระบบดังกล่าว AVENGER มีการทำงานที่ดีกว่า T-CROSS แม้จะพบปัญหาของการตรวจจับคนขี่จักรยานบ้าง ทาง VOLKSWAGEN พบปัญหาของการตรวจจับผู้ใหญ่ในบางกรณี
15.2 กม./ลิตร
พิจารณาจากเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร TSI ไม่มีมอเตอร์มาช่วยขับเคลื่อน ระยะทำการสูงสุดยังไปได้ไกลมาก ผนวกกับน้ำหนักตัวรถที่เบา
10.1 วินาที
0-100 กม./ชม.
T-CROSS มีการตอบสนองคันเร่งที่น่าพอใจ ด้วยน้ำหนักตัวที่เบา และมีพละกำลังที่เหมาะสม ทำให้มีความคล่องแคล่วมากกว่า JEEP
10.2 นิ้ว
จอแสดงผลหลักของ JEEP มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดารถระดับเดียวกัน การเชื่อมต่อมือถือทำรองรับแบบไร้สาย และแท่นชาร์จมือถือแบบไร้สาย ระบบเนวิเกเตอร์ เป็นอุปกรณ์เสริม
10.8 วินาที
0-100 กม./ชม.
อัตราเร่งขณะออกตัว AVENGER มีความสูสีกับรถของ VOLKSWAGEN มอเตอร์ไฟฟ้าช่วยให้การออกตัวมีความฉับไวมากกว่าเล็กน้อย และระบบ E-HYBRID มีอัตราเร่งเร็วกว่าเพียงเสี้ยววินาทีเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน เทอร์โบ 1.2 ลิตร
AVENGER ฉับไวกว่า
T-CROSS มีจุดเด่นที่แผงหน้าปัดที่ยังคงคุ้นเคย แต่มีการใช้งานที่ครบครัน รุ่นก่อนหน้านี้มีการวัสดุพลาสติคแข็ง แต่ในรุ่นล่าสุดมีการใช้วัสดุพลาสติคที่อ่อนนุ่มแทน และการใช้งานแบบดิจิทอลที่ทันสมัยกว่าเดิม โดยมีแผงหน้าปัดแบบดิจิทอลเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ติดตั้งจากโรงงาน สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลาย ทำได้ดีกว่ารุ่น AVENGER ที่มีความโดดเด่นกับหน้าจอขนาดใหญ่ และแสดงผลระบบความบันเทิงได้ดีกว่า ทั้ง 2 รุ่นมีระบบเนวิเกเตอร์เป็นอุปกรณ์เสริม แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร เพราะระบบรองรับ ANDROID AUTO และ APPLE CAR PLAY อยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วย ขณะขับขี่บนถนนจริง เครื่องยนต์แบบ 3 สูบเรียง มีจุดเด่นที่ความไหลลื่นของการส่งกำลัง และมีการทำงานที่ชาญฉลาด โดยเฉพาะของ VOLKSWAGEN ไม่ต้องใช้รอบเครื่องยนต์สูงเกินไป เป็นผลดีจากน้ำหนักของตัวรถที่ต่ำกว่าคู่แข่ง (เบากว่ากันที่ 80 กก.) ทำให้ T-CROSS มีความคล่องแคล่วมากกว่า ขณะที่การตอบสนองการหักเลี้ยวทำได้ใกล้เคียงกัน แต่รถยนต์สัญชาติเยอรมันทำได้ดีกว่าเล็กน้อย ในแง่ของการตอบสนองที่ไหลลื่น และตอบสนองการหักเลี้ยวได้แม่นยำ ทั้ง 2 รุ่นใช้โครงสร้างตัวถังที่แข็งแรง โดยเฉพาะทาง JEEP มีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำกว่า ทำให้มีการขับขี่ที่มั่นคง และควบคุมง่าย มีอาการโคลงขณะเข้าโค้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วน T-CROSS เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ มีการปรับแต่งที่ลงตัวขึ้น อาการโคลงมีน้อยลงอย่างชัดเจน
การบรรทุกของ T-CROSS
สำหรับการใช้งานกับกิจกรรมกลางแจ้ง ประสิทธิภาพของการบรรทุกสัมภาระถือเป็นสิ่งสำคัญ T-CROSS มีคู่แข่งที่ทำได้ใกล้เคียงกันเพียงไม่กี่ราย จากผลดีของเบาะแถวที่ 2 ที่สามารถเลื่อนหน้า/หลังได้ ช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บสัมภาระอย่างได้ผล นอกจากนี้เบาะด้านข้างผู้ขับสามารถพับรายลงมาได้ ทำให้ขนของความยาว 2.40 ม. หรือขนสัมภาระทรงยาวได้สะดวก ส่วนทาง AVENGER ต้องอาศัยการจัดเรียงกระเป๋าให้ดี การใช้งานเพิ่มเติมที่พอจะช่วยได้ คือ พื้นของห้องโดยสารที่ปรับระดับได้ ทำให้มีพื้นที่เก็บสัมภาระอีกเล็กน้อย ในแง่ของการขับทางไกล รถทั้ง 2 คันมีการเก็บเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีมาก โดยเฉพาะของ JEEP หากผู้ขับต้องการความผ่อนคลายของการขับทางไกล มีระบบช่วยเหลือการขับขี่ระดับที่ 2 ให้ใช้งานด้วย สามารถควบคุมพวงมาลัย และรักษาตัวรถให้อยู่กลางเลนโดยอัตโนมัติ มีการทำงานที่ไหลลื่นเป็นอย่างดี ซึ่งทาง VOLKSWAGEN ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย ส่วนพละกำลัง และแรงบิดของเครื่องยนต์ ต่างก็มีประสิทธิภาพดีเช่นกันในทั้ง 2 รุ่น ในแง่ของการเร่งแซง หรือไต่ความเร็วขณะขับขี่บนถนน T-CROSS จะมีความฉับไวมากกว่าเล็กน้อย เร่งแซงได้ทันใจ รถยนต์สัญชาติเยอรมันมีจุดสังเกตเพิ่มเติม คือ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ทำได้ดีกว่า จากเครื่องยนต์แบบ 3 สูบเรียง TSI แม้จะถูกออกแบบให้มีความโดดเด่นในแง่ของการประหยัดเชื้อเพลิงเป็นหลักก็ตาม ขณะที่ AVENGER มีการส่งกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าอีกแรง แม้จะมีจุดอ่อนกับการขับทางไกลบ้าง ทำให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยของการขับทางไกลจาก T-CROSS ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย แตกต่างกันเพียง 1 กม./ลิตร เท่านั้น ผลลัพธ์ดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากข้อดี คือ ตัวถังที่มีความลู่ลมสูง (มีตัวเลขที่ 0.31 เมื่อเทียบกับคู่เปรียบเทียบ คือ 0.33) ส่วนการหักหลบกะทันหันในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้ง JEEP และ VOLKSWAGEN ตอบสนองได้อย่างมั่นคง และยังควบคุมได้ง่าย อาการของตัวรถมีความสมดุล และตอบสนองได้รวดเร็วพอ จากการทำงานของระบบ ESP ที่ไม่รบกวนการขับขี่แต่อย่างใด
AVENGER ข้อมูลจำเพาะของรถทดสอบจากผู้ผลิต
เครื่องยนต์
- วางด้านหน้าตามขวาง
- เบนซิน เทอร์โบ 3 สูบเรียง
- ความจุ 1,199 ซีซี
- กำลังสูงสุด 74 กิโลวัตต์/100 แรงม้า ที่ 5,500 รตน.
- แรงบิดสูงสุด 205 นัวทันเมตร/20.9 กก.ม. ที่ 1,750 รตน.
ระบบไฮบริด
- มอเตอร์ไฟฟ้าแบบสนามแม่เหล็ก
- กำลังสูงสุด 29 แรงม้า
- แรงบิดสูงสุด 55 นิวทันเมตร/5.6 กก.ม.
ระบบส่งกำลัง
- ขับเคลื่อน 2 ล้อหน้า
- เกียร์อัตโนมัติคลัทช์คู่ 6 จังหวะ
รูปแบบตัวถัง
- ระบบรองรับด้านหน้า แมคเฟอร์สัน สตรัท คอยล์สปริง เหล็กกันโคลง
- ระบบรองรับด้านหลัง มัลทิลิงค์ คอยล์สปริง เหล็กกันโคลง
- ระบบเบรคแบบ จาน ช่องระบายความร้อน เอบีเอส และอีเอสพี
ยาง
- GOOD YEAR EFFICIENTGRIP PERFORMANCE 2 215/55 R18 99V
มิติตัวถัง และน้ำหนัก
- ระยะฐานล้อ 2,550 มม.
- ความยาว 4,080 มม. กว้าง 1,770 มม. สูง 1,530 มม.
- น้ำหนักโดยรวม 1,280 กก.
สถานที่ผลิต
- เมือง TYCHY (ประเทศโปแลนด์)
261 ลิตร
พื้นที่เก็บสัมภาระของ JEEP มีความจุไม่มากนัก พื้นห้องโดยสารสามารถปรับความสูงได้ 2 ระดับ ประตูบานท้ายเปิด/ปิดด้วยไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน เป็นสิ่งที่ VOLKSWAGEN ไม่มี
T-CROSS ข้อมูลจำเพาะของรถทดสอบจากผู้ผลิต
เครื่องยนต์
- วางด้านหน้า ตามขวาง
- เบนซิน เทอร์โบ 3 สูบเรียง
- ความจุ 999 ซีซี
- กำลังสูงสุด 85 กิโลวัตต์/116 แรงม้า ที่ 5,500 รตน.
- แรงบิดสูงสุด 200 นิวทันเมตร/20.4 กก.ม. ที่ 2,000-3,500 รตน.
ระบบส่งกำลัง
- ขับเคลื่อน 2 ล้อหน้า
- เกียร์อัตโนมัติคลัทช์คู่ 7 จังหวะ
รูปแบบตัวถัง
- ระบบรองรับด้านหน้า แมคเฟอร์สัน สตรัท คอยล์สปริง เหล็กกันโคลง
- ระบบรองรับด้านหลัง มัลทิลิงค์ คอยล์สปริง เหล็กกันโคลง
- ระบบเบรคแบบ จาน พร้อมช่องระบายความร้อน เอบีเอส และอีเอสพี
ยาง
- HANKOOK VENTUS PRIME 3 215/45 R18 89V
มิติตัวถัง และน้ำหนัก
- ระยะฐานล้อ 2,550 มม.
- ความยาว 4,140 มม. กว้าง 1,760 มม. สูง 1,560 มม.
- น้ำหนัก 1,296 กก.
สถานที่ผลิต
- เมือง PAMPLONA (ประเทศสเปน)
319 ลิตร
นอกเหนือจากพื้นที่เก็บสัมภาระที่เหลือเฟือ VOLKSWAGEN มีพื้นที่อย่างเหลือเฟือมากๆ เป็นผลดีจากเบาะแถวที่ 2 เลื่อนหน้า/หลังได้ และพื้นห้องโดยสารปรับความสูงได้ นอกจากนี้เบาะด้านข้างผู้ขับสามารถพับราบได้ด้วย
พื้นที่ใช้สอย ทัศนวิสัย และพื้นที่เก็บสัมภาระ
การทดสอบระบบความปลอดภัย
การทดสอบสมรรถนะ
การประเมินผลของ QUATTRORUOTE
เบาะผู้ขับ
เบาะของทั้ง 2 รุ่น มีการโอบกระชับสรีระได้ดี และปรับทิศทางได้อย่างหลากหลาย จุดแตกต่างมีเพียงความสูงของเบาะ โดยทาง AVENGER มีความสูงน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด
แผงคอนโซล และปุ่มใช้งาน
ทั้ง 2 รุ่นมีฟังค์ชันการใช้งานที่ครบครัน และผสมผสานการใช้งานแบบดิจิทอลเข้ากับปุ่มแบบดั้งเดิมอย่างได้ผล JEEP มีการออกแบบแผงคอนโซลที่มีโทนความปลอดโปร่งมากกว่า มาพร้อมจุดเก็บของหลายตำแหน่ง
แผงหน้าปัด
จอแผงหน้าปัดแบบดิจิทอลมีการแสดงข้อมูลหลากหลายหัวข้อ ทำได้ละเอียดใกล้เคียงกันทั้ง 2 รุ่น T-CROSS สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้มากมาย สั่งงานผ่านปุ่มใช้งานแบบดั้งเดิมได้สะดวก
ระบบความบันเทิง
การใช้งานเน้นความเรียบง่าย การแสดงผลด้วยกราฟิคมีการออกแบบที่ลงตัว รองรับการเชาอมต่อแบบไร้สายกับโทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์ติดตั้งจากโรงงาน (ทาง JEEP มีแท่นชาร์จไร้สายด้วย) และต้องจ่ายเงินเพิ่มสำหรับระบบเนวิเกเตอร์
ระบบปรับอากาศ
การใช้งานระบบปรับอากาศสามารถทำได้ผ่านปุ่มใช้งานแบบดั้งเดิม JEEP เป็นระบบโซนเดียว ขณะที่ของทาง VOLKSWAGEN เป็นแบบแยก 2 โซน (อุปกรณ์เลือกติดตั้ง) ไม่มีช่องแอร์ด้านหลัง
ทัศนวิสัย
JEEP มีรูปทรงของกระจกประตูที่เล็กกว่า และในขณะที่ทำการเลี้ยวในที่แคบ จุดอับสายตาค่อนข้างมาก ทาง VOLKSWAGEN ทัศนวิสัยดีกว่า และมีระบบไฟหน้าแอลอีดีแบบ แมทริกซ์ด้วย
คุณภาพการประกอบ
T-CROSS มีการออกแบบใหม่ มีองค์ประกอบที่น่าพอใจในหลายส่วน หันมาใช้วัสดุพลาสติคนุ่มมากขึ้น และมีการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพดีกว่าของ JEEP
อุปกรณ์ใช้งาน
ทั้ง 2 รุ่นจัดเป็น B-SUV ที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้งานมาให้หลายรายการ อุปกรณ์มาตรฐานจึงมีให้อย่างครบครัน รองรับการใช้งานที่หลากหลาย ทาง AVENGER มีอุปกรณ์มาตรฐานที่สำหรับ T-CROSS เป็นอุปกรณ์ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ระบบความปลอดภัย/ระบบช่วยเหลือการขับขี่
ระบบช่วยเหลือการขับขี่ ระดับที่ 2 มีติดตั้งในรถทั้ง 2 รุ่น JEEP มีระบบเตือนจุดอับสายตา แต่เป็นอุปกรณ์เลือกติดตั้งใน VOLKSWAGEN แต่มีระบบช่วยจอดอัตโนมัติในเลือกด้วย
พื้นที่ใช้สอย
จุดแตกต่างสำคัญ คือ พื้นที่โดยสารของเบาะแถวที่ 2 T-CROSS มีพื้นที่ช่วงขามากกว่าเล็กน้อย ลักษณะการนั่งมีความเป็นธรรมชาติมากกว่า โดยรวมแล้ว ผู้ใหญ่ 4 คนสามารถโดยสารพร้อมกันได้สบายๆ ในรถทั้ง 2 รุ่น
ที่เก็บสัมภาระท้าย
ค่ายรถสัญชาติเยอรมันสามารถเลื่อนหน้า/หลังกับเบาะแถวที่ 2 ได้ และเบาะนั่งข้างผู้ขับสารถพับเก็บได้ บรรทุกสัมภาระทรงยาวได้ดี อย่างไรก็ตาม กลับไม่มีแม้แต่อุปกรณ์เลือกติดตั้ง นั่นคือ ประตูบานท้ายเปิด/ปิดด้วยไฟฟ้า สำหรับ JEEP
ความสะดวกสบาย
ทั้ง 2 รุ่นเป็น B-SUV ที่มีความสะดวกสบายอย่างน่าพอใจ AVENGER มีระบบรองรับที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือนจากพื้นถนนได้ดีกว่า ส่วน T-CROSS มีห้องโดยสารที่เงียบสบายกว่า
เครื่องยนต์
การใช้งานเครื่องยนต์เทอร์โบแบบ 3 สูบเรียงที่มีรูปแบบแตกต่างกัน การตอบสนองมีความยืดหยุ่น ขับขี่ได้ไหลลื่น ระบบไฮบริดของ JEEP อาจมีอาการสะดุดให้สัมผัสเล็กน้อย จากการสลับการทำงานระหว่างเครื่องยนต์สันดาป และมอเตอร์ไฟฟ้า
อัตราเร่ง
T-CROSS มีกำลังสูงสุดมากกว่าเล็กน้อย และยังมีน้ำหนักน้อยกว่าด้วย ทำให้อัตราเร่งมีฉับไวกว่า AVENGER ที่ใช้ระบบไฮบริด เสียเปรียบเรื่องน้ำหนักที่มากกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป
อัตราเร่งยืดหยุ่น
ความแตกต่างเหมือนกับอัตราเร่งในหัวข้อก่อนหน้านี้ แม้แต่การกดคันเร่งเพื่อไต่ความเร็วสูงขึ้น VOLKSWAGEN มีการตอบสนองที่กระฉับกระเฉงกว่า แต่โดยรวมแล้วทั้ง 2 รุ่นมีอัตราเร่งที่น่าพอใจ
ระบบส่งกำลัง
การออกแบบที่มีแนวทางแตกต่างกัน แม้จะใช้ระบบเกียร์คล้ายกัน นั่นคือ เกียร์อัตโนมัติคลัทช์คู่ โดนรุ่นหนึ่งมีระบบไฮบริดเข้ามาเสริม แต่อีกรุ่นหนึ่งไม่มี เอาเข้าจริง ระบบเกียร์ของ T-CROSS แบบ DSG มีการเปลี่ยนจังหวะที่ฉับไว และไหลลื่นกว่า
การบังคับเลี้ยว
VOLKSWAGEN ตอบสนองการหักเลี้ยวได้อย่างนุ่มนวลมากกว่า แม้ความหนักแน่นจะถูกลดทอนลงบ้าง แต่สามารถหักเลี้ยวได้ดังใจ และมีความต่อเนื่องที่มั่นคง ทาง JEEP มีระยะฟรีมากไปเล็กน้อย สำหรับตำแหน่งพวงมาลัยตรงกลาง
ระบบเบรค
AVENGER มีระบบเบรคที่มีประสิทธิภาพสูง ระยะเบรคกระชับสั้นในเกือบทุกสภาวะ และมีความทนทานที่ยอดเยี่ยม ส่วน T-CROSS มีระยะเบรคค่อนข้างยาวในพื้นผิวถนนลื่น
ความคล่องแคล่ว
AVENGER มีการตอบสนองที่มั่นคง ตัวรถมีความนิ่ง และควบคุมได้สบาย จากการปรับแต่งที่เน้นความหนักแน่น การขับขี่โดยรวมจึงหนึบแน่น และหักเลี้ยวได้แม่นยำ T-CROSS มีจุดศูนย์ถ่วงที่สูงกว่า และการทำงานของระบบ ESP ค่อนข้างรบกวนการขับขี่
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย
เครื่องยนต์ไฮบริดมีความได้เปรียบในหัวข้อนี้ โดยเฉพาะการขับในตัวเมือง JEEP ทำตัวเลขออกมาได้ที่ 20.0 กม./ลิตร เทียบกับทาง T-CROSS คือ 15.2 กม./ลิตร อย่างไรก็ตามการขับทางไกลที่ความเร็วสูงเครื่องยนต์สันดาปประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีกว่า