ธุรกิจ
ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์
Motor Expo 2024 เปิดฉากยิ่งใหญ่
เริ่มแล้ว “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41” ตื่นตากับรถยนต์รุ่นล่าสุด 42 แบรนด์ จักรยาน ยนต์ 22 แบรนด์ พร้อมโปรโมชันสุดเร้าใจ ตั้งแต่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2567
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41” เปิดเผยว่า ปีนี้จัดงานภายใต้แนวคิด “จิตวิญญาณแห่งนวัตกรรม…ยานยนต์ล้ำอนาคต-Innovative Spirit…Futuristic Vehicles” โดยได้รับเกียรติจาก เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน ในงานจัดแสดงรถยนต์ 42 แบรนด์ จาก 9 ประเทศ รถจักรยานยนต์ 22 แบรนด์ จาก 7 ประเทศ คาดจะสร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 6 หมื่นล้านบาท ช่วยกระตุ้นตลาด และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ไฮไลท์ของงานเป็นรถต้นแบบ 3 คัน
Changan P201 (ฉางอัน พี 201) รถกระบะที่มาพร้อมเทคโนโลยี Range-Extended Electric Vehicle (REEV) ขับเคลื่อนด้วยมอ เตอร์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์สันดาปพร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ไกลกว่า 1,000 กม. ตามมาตรฐาน CLTC
Chery Fengyun E05 (เชอรี เฟิงหยุน อี 05) รถซีดานระดับไฮเอนด์ มาพร้อมระบบขับขี่อัจฉริยะระดับสูง มีให้เลือก 2 รุ่น ได้แก่ ระ บบขับเคลื่อนไฟฟ้าล้วน และ Extended-Range
iCar X25 (ไอคาร์ เอกซ์ 25) รถเอสยูวีดีไซจ์นล้ำอนาคต ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟ ฟ้า BEV และ REEV มีล้อขนาดใหญ่อยู่ทั้ง 4 มุม ติดตั้งแผ่นป้องกันใต้กันชนหน้า และมีระ ยะห่างจากพื้นสูงเพื่อการใช้งานสมบุกสมบัน เสา A ลาดเอียงมาก ส่วนเสา B ซ่อนได้อย่างลงตัว มือจับประตูซ่อนแบบรถไฟฟ้า ประตูท้ายมียางอะไหล่ 21 นิ้ว
รถที่เปิดตัวครั้งแรกในโลก ได้แก่ Geely EX5 (จีลี อีเอกซ์ 5) เอสยูวีไฟฟ้า 100 % รุ่นล่าสุด พวงมาลัยขวา
รถที่เปิดตัวครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ Lotus Chapman Bespoke (โลทัส แชพแมน บีสโปค)
และรถที่เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย ได้ แก่ Aion V (ไอออน วี)
Nissan Serena (นิสสัน เซเรนา)
Xpeng X9 Ultra Smart Coupe MPV (เสี่ยวเผิง เอกซ์ 9 อุลทรา สมาร์ท คูเป เอมพีวี)
นอกจากนี้ ยังมีรถเด่นที่น่าสนใจ เช่น MG New IM6 (เอมจี ไอเอม 6) ใหม่ รุ่นพวงมา ลัยขวาครั้งแรกของโลก และ New MG Cyberster (เอมจี ไซเบอร์สเตอร์) ใหม่ สปอร์ทโรดสเตอร์ไฟฟ้าที่ยกระดับความ โมเดิร์นด้วยสีใหม่ Modern Beige ตัดกับหลังคาผ้าสีแดง
GWM Wey 80 PHEV (กเรท วอลล์ มอเตอร์ เว่ย 80 พีเอชอีวี) รถเอมพีวีอเนกประสงค์ระดับไฮเอนด์ สำหรับครอบครัว เน้นความหรู หรา และความสะดวกสบายเหมือนบ้านหลังที่ 2 เมื่อเครื่องยนต์ทำงานคู่กับระบบไฟฟ้า ได้กำลังรวม 485 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม.
GWM Tank 700 Hi4-T (กเรท วอลล์ มอเตอร์ แทงค์ 700 เอชไอ 4-ที) รถเอสยูวีรุ่นเรือธง ขุมพลังพลัก-อิน ไฮบริด ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าได้ไกล 100 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง มาตรฐาน NEDC
สำหรับผู้ชมงานมีสิทธิ์ลุ้นรับฟรี รถยนต์ 3 คัน และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ในรายการ ซื้อรถ...ชิง The Kia EV5 รุ่น Light/ซื้อบัตร...ชิง Mazda รุ่น New CX-3 Base Plus/ซื้อมอเตอร์ไซค์...ชิง Triumph รุ่น Scrambler 1200 X/ชมงานผ่าน Motor Expo App ชิง Suzuki รุ่น Swift GL
ยิ่งกว่านั้น สามารถชมงานผ่าน “Motor Expo” Application อัดแน่นข้อมูลของงาน ทั้งรีวิวรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ภายในงานจาก Influencer ชื่อดัง และรายละเอียดอื่นๆ ของงาน อาทิ Buyer‘s Guide ช่วยเลือกซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ด้วยข้อมูลเปรียบเทียบคันต่อคัน กิจกรรมภายในอาคาร ภาย นอกอาคาร รายงานสภาพจราจร พร้อมแผนผังที่จอดรถ จำหน่ายบัตรชมงานทั่วไป และเข้าชมงานแบบวีไอพี Motor Expo Exclusive Visitor ฯลฯ
การเดินทางไปชมงานมีบริการ รถรับ-ส่ง ฟรี ! 4 เส้นทาง ดังนี้
1. รังสิต-IMPACT-รังสิต จุดจอดรับ-ส่ง : บริเวณลานจอดรถหน้า Big C (ถัดจากท่ารถตู้)
2. ศรีรัช-IMPACT-ศรีรัช MRT : สถานีศรีรัช Exit 1 จุดจอดรับ-ส่ง : บริเวณหน้า 7-11
3. หมอชิต-IMPACT-หมอชิต BTS : สถานีหมอชิต Exit 2 : MRT สถานีจตุจักร Exit 4
4. หัวลำโพง-IMPACT-หัวลำโพง MRT : สถานีหัวลำโพง Exit 2 จุดจอดรับ-ส่ง : ลานจอดรถของสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
พบกับงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41” ณ อาคารชาลเลนเจอร์ IMPACT เมืองทองธานี วันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2567 พร้อมชมการถ่ายทอดสดงาน วันที่ 5 ธันวา คม 2567 ได้ทางช่อง 9 MCOT เวลา 14.00-15.00 น. และไทยรัฐทีวี เวลา 14.30-15.30 น. ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทุกสื่อในเครือ “IMC สื่อสากล” และ motorexpo.co.th
..................................................................................................................................................
อุตสาหกรรมยานยนต์หดตัว ลดเป้าผลิตลงอีก 2 แสนคัน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เผยลดเป้าผลิตรถยนต์ลงอีก 2 แสนคัน เดือนตุลาคม 2567 ผลิตรถยนต์ 118,842 คัน ลดลงร้อยละ 25.13 ขาย 37,691 คัน ลดลงร้อยละ 36.06 ส่งออก 84,334 คัน ลดลงร้อยละ 20.23 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 688 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34,300 ขายรถยนต์ไฟ ฟ้า (BEV) 3,717 คัน ลดลงร้อยละ 49.73
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ร่วมเปิดเผยจำ นวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนตุลาคม 2567 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนตุลาคม 2567 มีทั้งสิ้น 118,842 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 25.13 และลดลงจากเดือนกันยายน 2567 ร้อยละ 2.81 เพราะผลิตเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 7.00 และผลิตเพื่อขายในประเทศลดลงร้อยละ 51.70
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,246,868 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 19.28
รถยนต์นั่ง เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 47,481 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 17.07 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 32,607 คัน ลดลงจากเดือนตุลา คม 2566 ร้อยละ 22.49
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 688 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 34,300
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 500 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 8.76
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำ นวน 13,686 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 6.48
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกรา คม-ตุลาคม 2567 มีจำนวน 474,200 คัน เท่ากับร้อยละ 38.03 ของยอดการผลิตทั้ง หมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 11.91 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 301,931 คัน ลดลงจากเดือนมก ราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 27.41
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำ นวน 8,026 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 5,215.23
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 5,067 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 36.85
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำ นวน 159,176 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกรา คม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 39.38
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนตุลาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-ตุลา คม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 90.74
รถยนต์บรรทุก เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 71,361 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 29.67 และตั้งแต่เดือนมกรา คม-ตุลาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 772,658 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 23.22
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 70,514 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 27.83 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 757,709 คัน เท่ากับร้อยละ 60.77 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 22.33 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 120,468 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 30.03
• รถกระบะดับเบิลแคบ 500,462 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 21.84
• รถกระบะ PPV 136,779 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 16.11
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 847 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 77.52 รวมเดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ผลิตได้ 14,949 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลา คม 2566 ร้อยละ 51.38
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 87,741 คัน เท่า กับร้อยละ 73.83 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 7.00 ส่วนเดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 861,916 คัน เท่ากับร้อยละ 69.13 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.69
รถยนต์นั่ง เดือนตุลาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 27,187 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 4.99 และตั้งแต่เดือนมกรา คม-ตุลาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 256,817 คัน เท่ากับร้อยละ 54.16 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกรา คม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 3.72
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนตุลาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 60,554 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 7.87 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 605,099 คัน เท่า กับร้อยละ 79.86 ของยอดการผลิตรถกระ บะ ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 7.86 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 51,244 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 22.67
• รถกระบะดับเบิลแคบ 443,787 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 10.88
• รถกระบะ PPV 110,068 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 19
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 31,101 คัน เท่า กับร้อยละ 26.17 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 51.70 และเดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ผลิตได้ 384,952 คัน เท่ากับร้อยละ 30.87 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 39.89
รถยนต์นั่ง เดือนตุลาคม 2567 ผลิตเพื่อจำ หน่ายในประเทศ 20,294 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 29.14 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ผลิตได้ 217,383 คัน เท่ากับร้อยละ 45.84 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ลดลงร้อยละ 25.22
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนตุลาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9,960 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 68.85 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 152,610 คัน เท่ากับร้อยละ 20.14 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 52.14 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 69,224 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 34.64
• รถกระบะ Double Cab 56,675 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 60.20
• รถกระบะ PPV 26,711 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 62.13
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในเดือนตุลาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม-ตุลา คม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 90.74
รถบรรทุก เดือนตุลาคม 2567 ผลิตได้ 847 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 77.52 และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลา คม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 14,949 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 51.83
รถจักรยานยนต์
เดือนตุลาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 294,395 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลา คม 2566 ร้อยละ 70.52 แยกเป็นรถจักร ยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 149,010 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 6.35 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 145,385 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 346.93
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกรา คม-ตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,030,213 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.49 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,585,364 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 10.84 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักร ยานยนต์ (CKD) 444,849 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 57.34
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนตุลาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 37,691 คัน ลดลงจากเดือนกันยายน 2567 ร้อยละ 36.08 ต่ำสุดในรอบ 54 เดือน นับตั้งแต่ยกเลิกลอคดาวน์จากการระบาดของ COVID-19 เดือนพฤษภาคม 2563 จากการเข้มงวดในการให้กู้ซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินเป็นหลัก ส่งผลให้จำนวนบัญชีผู้กู้ซื้อรถ ยนต์ในไตรมาส 3 มี 6,365,571 บัญชี ลดลงจากไตรมาส 2 ถึง 75,377 บัญชี เท่ากับร้อยละ 1.2 และลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2566 จำนวน 199,655 บัญชี หรือร้อยละ 3.0 จำนวนเงินหนี้รถยนต์ไตรมาส 3 มีจำ นวน 2,465,204 ล้านบาท ลดลงจากไตร มาส 2 ร้อยละ 2.8 และลดลงร้อยละ 5.8 จากไตรมาส 3 ปี 2566 รถบรรทุกลดลงจากเศรษฐกิจของประเทศที่ยังอ่อนแอ เติบ โตในอัตราต่ำ และหนี้ครัวเรือนสูง ดัชนีภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่ำที่ร้อยละ 0.1 ในไตรมาส 3
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำ นวน 21,814 คัน เท่ากับร้อยละ 57.67 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 33.21
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สัน ดาปภายใน (ICE) 11,562 คัน เท่ากับร้อยละ 30.68 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.80
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟ ฟ้า (BEV) 3,717 คัน เท่ากับร้อยละ 9.86 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียว กันปีที่แล้ว ร้อยละ 49.73
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟ ฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 227 คัน เท่ากับร้อยละ 0.60 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 187.34
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟ ฟ้าผสม (HEV) 6,308 คัน เท่ากับร้อยละ 16.74 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 31.23
รถกระบะ มีจำนวน 10,896 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 41.65 รถ PPV มีจำนวน 2,451 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.33 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,270 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 33.02 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,260 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 10.57
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 140,113 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2566 ร้อยละ 18.86 และเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 3.80
ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 476,350 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 26.24 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำ นวน 284,304 คัน เท่ากับร้อยละ 59.84 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียว กันในปีที่แล้วร้อยละ 12.22
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สัน ดาปภายใน (ICE) 129,440 คัน เท่ากับร้อยละ 27.17 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.65
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟ ฟ้า (BEV) 55,936 คัน เท่ากับร้อยละ 11.74 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียว กันปีที่แล้วที่ร้อยละ 0.33
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟ ฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,880 คัน เท่ากับร้อยละ 0.39 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.17
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟ ฟ้าผสม (HEV) 97,048 คัน เท่ากับร้อยละ 20.37 ของยอดขายรถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 39.56
รถกระบะมีจำนวน 137,456 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 39.54 รถ PPV มีจำนวน 29,395 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.98 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 13,582 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 38.83 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 11,613 คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้วร้อยละ 10.87
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,421,824 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 10.09 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 1,421,624 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 10.04 รถจักรยานยนต์ BEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.09
การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนตุลาคม 2567 ส่งออกได้ 84,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 5.08 แต่ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 20.23 ส่งออกลดลงเพราะฐานสูงในเดือนเดียวกันของปี 2566 ที่ส่งออกถึง 105,726 คัน ส่งผลให้ส่งออกลดลงทุกตลาด ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ คือ ตลาดออสเตรเลีย ตะวันออก กลาง และยุโรป ที่สงครามอิสราเอลกับฮามาสขยายมากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวน้อยลง อีกความขัดแย้งที่ต้องติดตามแบบไม่กะพริบตาที่จะกระทบเศรษฐกิจโลก คือ สงครามยูเครนกับรัสเซีย ที่อาจขยายไปประเทศอื่นซึ่งกระทบการส่งออกรถยนต์ และสินค้าอื่นๆ แบ่งเป็น
• รถกระบะ 45,922 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 54.45 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 26.67
• รถยนต์นั่ง ICE 21,831 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 25.89 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 23.17
• รถยนต์นั่ง HEV 3,806 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.51 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 80.21
• รถ PPV 12,775 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 15.15 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 1.61
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 55,728.19 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 23.11
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,336.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 10.17
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,715.26 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลา คม 2566 ร้อยละ 11.96
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,495.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลา คม 2566 ร้อยละ 9.04
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนตุลาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะ ไหล่ มีมูลค่า 77,274.86 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 19.78
เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ส่งออกรถ ยนต์สำเร็จรูป 853,221 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 8.02 แบ่งเป็น
• รถกระบะ ICE 486,584 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 57.03 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.76
• รถยนต์นั่ง ICE 210,945 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 24.72 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 20.35
• รถยนต์นั่ง HEV 41,336 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 4.84 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 336.59
• รถ PPV 114,356 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 13.40 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 12.23
มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 588,790.48 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 0.53 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 29,588.95 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกรา คม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 8.03
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 161,691.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมก ราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 4.42
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 22,150.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกรา คม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 9.52
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-ตุลา คม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 802,220.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 0.38
รถจักรยานยนต์
เดือนตุลาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 175,066 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ร้อยละ 150.98 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 156.94 โดยมีมูลค่า 6,562.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 16.62
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 268.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 16.24
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 232.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 62.24
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนตุลาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักร ยานยนต์ 7,063.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 17.69
เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 รถจักรยาน ยนต์ มีจำนวนส่งออก 776,362 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 15.89 มีมูลค่า 52,751.56 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.76
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 2,183 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 13.48
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,704.83 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 1.10
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 56,639.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 5.89
เดือนตุลาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถ ยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะ ไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 79,338.66 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 17.59
เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 858,860.17 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 0.06
ปรับเป้าการผลิตรถยนต์ ปี 2567 จาก 1,700,000 คัน เป็น 1,500,000 คัน
ตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี 2567 (ใหม่) ปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2567 จาก 1,700,000 คัน เป็น 1,500,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยปรับการผลิตขายในประเทศลดลงจาก 550,000 คัน เป็น 450,000 คัน และการผลิตเพื่อส่งออกลดลงจาก 1,150,000 คัน เป็น 1,050,000 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนตุลาคม 2567
เดือนตุลาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟ ฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 6,651 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 32.19 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,890 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 36.62
o รถยนต์นั่ง จำนวน 4,782 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 101 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 1 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 6 คัน
• รถกระบะ และรถแวน มีทั้งสิ้น 40 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 110.53
• รถยนต์ 3 ล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 3 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 90.32
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 2 คัน
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 1 คัน
• รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 1,702 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 13.47
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 1,702 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 7 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 89.39
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 9 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 10
เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 มียานยนต์ประ เภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำ นวน 82,304 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 6.12 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 59,198 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 2.18
o รถยนต์นั่ง จำนวน 57,484 คัน o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1,634 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 10 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 67 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถกระบะ และรถแวน มีทั้งสิ้น 549 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 289.36
• รถยนต์ 3 ล้อ มีทั้งสิ้น 144 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 51.35
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 38 คัน
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ จำนวน 106 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 21,756 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 21.53
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 21,647 คัน
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 109 คัน
• รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 288 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 76.22
• รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 369 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 419.72
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนตุลาคม 2567
เดือนตุลาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟ ฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,622 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 30.36 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 8,569 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 30.15
o รถยนต์นั่ง จำนวน 8,567 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 1 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 53 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2566 ร้อยละ 82.76
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 53 คัน
เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 มียานยนต์ประ เภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำ นวน 112,819 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกรา คม-ตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 56.61 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 112,353 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 57.09
o รถยนต์นั่ง จำนวน 112,253 คัน
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 26 คัน
o รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 17 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 53 คัน
o รถยนต์บริการให้เช่า จำนวน 3 คัน
• รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 466 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 9.51
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 466 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนตุลาคม 2567
เดือนตุลาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟ ฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 773 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 8.95 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 773 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 8.95
o รถยนต์นั่ง จำนวน 773 คัน
เดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 มียานยนต์ประ เภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 8,083 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคมปีที่แล้วร้อยละ 22.15 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 8,083 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 ร้อยละ 22.15
o รถยนต์นั่ง จำนวน 8,076 คัน
o รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 7 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567
ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 213,173 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 94.70 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 148,559 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียว กันปี 2566 ร้อยละ 107.57
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 145,749 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 105.46
o รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 2,251 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 399.11
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 80 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 175.86
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 143 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 429.63
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน ซึ่งในช่วงเดียวกันไม่มีการจดทะเบียน
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 333 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 166.40
• รถกระบะ และรถแวนมีจำนวน 814 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 302.97
• รถยนต์ 3 ล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,026 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 33.25
o รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 120 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 53.85
o รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ มีจำนวน 906 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 30.92
• รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 59,396 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 73.43
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 59,269 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 73.68
o รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีจำนวน 127 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 4.10
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,705 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 11.96
o รถบรรทุก มีจำนวนทั้งสิ้น 673 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 139.50
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567
ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 455,364 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.67 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 446,040 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียว กันปี 2566 ร้อยละ 38.66
o รถยนต์นั่งมีจำนวน 445,069 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 38.70
o รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 497 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียว กันปี 2566 ร้อยละ 4.41
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 73 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 52.08
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 206 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 43.06
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 150
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 190 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 68.14
• รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่า กับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
• รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 9,321 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.44
o รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,321 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.44
• อื่นๆ
o รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567
ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 61,913 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.53 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
• รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 61,913 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.53
o รถยนต์นั่ง มีจำนวน 61,841 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 17.55
o รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 43 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 4.88
o รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 19 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 5
o รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 66.67
o รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 25
..................................................................................................................................................
10 เรื่อง Motor Expo ที่คุณอาจยังไม่รู้ !?
“มหกรรมยานยนต์” หรือ Thailand International Motor Expo งานแสดงยานยนต์ที่ยิ่งใหญ่ระดับประเทศ อยู่คู่กับวง การยานยนต์ไทยมายาวนานถึง 41 ปี และต่อไปนี้ คือ 10 เหตุการณ์สำคัญที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับงาน ตลอดช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา
1. จุดเริ่มต้นของงาน
บริษัท สื่อสากล จำกัด จัดงาน “มหกรรมยานยนต์” ครั้งแรกเมื่อปี 2527 ณ ศูนย์นิทรรศการ อโศกแฟร์กราวน์ด โดยใช้ชื่อว่า “มหกรรมรถยนต์ ‘84”
2. ศูนย์กลางพัฒนาวงการยานยนต์
“มหกรรมยานยนต์” ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์จำ นวนมาก พร้อมใช้พื้นที่งานเป็นศูนย์กลางจัดสัมมนา และเสวนาวิชาการ รวมถึงกิจ กรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
3. ก่อนจะเป็น IMPACT เมืองทองธานี
- อโศกแฟร์กราวน์ด
เปิดตำนาน “มหกรรมยานยนต์” ครั้งแรก เมื่อวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2527 ซึ่งเป็นปฐมบทของงานที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ณ ศูนย์นิทรรศการ อโศกแฟร์กราวน์ด
- มาบุญครองเซนเตอร์
ปี 2528 ย้ายสถานที่จัดงานไปยัง ชั้น 4 มาบุญครองเซนเตอร์ เพิ่มพื้นที่จัดงานกว่า 5,000 ตรม. พร้อมที่จอดรถกว่า 2,500 คัน
- เซนทรัล พลาซา ลาดพร้าว
วันที่ 29 ธันวาคม 2530-3 มกราคม 2531 ย้ายสถานที่มาจัดบริเวณ ชั้น 4 และ 5 คอนเวนชันฮอลล์ เซนทรัล พลาซา ลาดพร้าว เพื่อรองรับผู้ชมงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2536 ขยายพื้นที่จัดงานไปยังอาคารจอดรถของเซนทรัล พลาซา ลาด พร้าว
- IMPACT เมืองทองธานี
ในปี 2542 ย้ายสถานที่จัดงานมายัง IMPACT เมืองทองธานี ก่อนที่ในปี 2549 จะย้าย “ข้ามฝั่ง” ไปที่ IMPACT ชาลเลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี พื้นที่ 80,000 ตรม. ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานในปัจจุบัน
4. งานที่มี “แนวคิด”
“มหกรรมยานยนต์” เป็นงานแสดงยานยนต์รายแรกที่มีการกำหนดแนวคิดเป็นแนวทางในการจัดงานแต่ละปี โดยเริ่มจากงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 8” ใช้แนวคิดว่า “เสน่ห์เทคโนโลยีที่ไร้มลพิษ” (The Enchantment of Pollution Free Technology) เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐ และผู้ผลิตรถยนต์ ใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการเริ่มจำหน่ายน้ำมันไร้สารตะกั่ว
5. เริ่มแคมเปญแจกรถ
ปี 2539 เป็นปีแรกของงานที่มีการแจกรถ ยนต์ Daihatsu Mira (ไดฮัทสุ มิรา) และรถจักรยานยนต์ Honda Nova (ฮอนดา โนวา) ก่อนที่ในปี 2545 จะมีการจัดแคมเปญ “ซื้อรถ ชิงรถ” โดยมี Honda CR-V (ฮอนดา ซีอาร์-วี) เป็นรางวัล จากนั้นในปี 2557 เริ่มจัดแคมเปญ “ซื้อมอเตอร์ไซค์ ชิงบิกไบค์” สำ หรับผู้จอง หรือซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ในงาน กระทั่งในงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41” มีการแจกรถยนต์ 3 คัน และจักรยาน ยนต์ 1 คัน
6. แสดงรถจักรยานยนต์ครั้งแรก
งาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 16” วันที่ 4-12 ธันวาคม 2542 เป็นครั้งแรกที่มีการแสดงรถจักรยานยนต์ภายในงาน เพื่อเอาใจคนรักรถสองล้อ ประเดิมด้วยค่าย Yamaha (ยามาฮา) ซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้ที่เข้าชมงานได้เป็นจำนวนมาก และเป็นปีที่เปลี่ยนชื่องานเป็น “มหกรรมยานยนต์” ก่อนที่ในปี 2544 จะเปลี่ยนชื่องานภาษาอังกฤษเป็น “Thailand International Motor Expo” เพื่อให้สอดคล้องกับความยิ่งใหญ่ของงาน
7. งานเดียวที่ UFI รับรอง
สมาคมอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าโลก (UFI: Union Des Foires Internationales) ให้การรับรองมาตรฐานแก่งาน “มหกรรมยานยนต์” ตั้งแต่ปี 2555 นับเป็นงานแสดงยานยนต์รายการแรก และรายการเดียวในประเทศไทย
8. ยอดจองรถยนต์สูงสุดกว่า 80,000 คัน
“มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 29” ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2555 เป็นการจัดงานครั้งที่ประสบความสำเร็จสูงสุด กวาดยอดจองรถในงาน 85,904 คัน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 76,000 ล้านบาท
9. พริททีที่งามสง่า
“มหกรรมยานยนต์” เป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของพริททีให้เหมาะสม เน้นความสง่างาม เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย จนได้รับหนังสือชมเชยจากกระทรวงวัฒน ธรรม และทำให้เป็นงานสำหรับทุกคนในครอบครัว
10. จัดแสดงเรือ
พื้นที่สำหรับคนรักยานยนต์ทางน้ำ Join Boat โดยรวบรวมเรือสุดหรูจากแบรนด์ต่างๆ มาจัดแสดงในงานเดียวกันมากที่สุด ทั้งเรือยอชท์, เรือยนต์, สปีดโบท, สกูเตอร์ และอื่นๆ
..................................................................................................................................................
รีวิว Mercedes-Benz รุ่นใหม่ 6 รุ่น เตรียมบุกงาน Motor Expo 2024
เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย)ฯ เสริมทัพไลน์อัพรถยนต์ระดับ Top-End Luxury กว่า 6 รุ่น ครอบคลุมทั้งแบรนด์ Mercedes-Maybach (เมร์เซเดส-มายบัค) และรถยนต์ Mercedes-Benz (เมร์เซเดส-เบนซ์) ในกลุ่ม G-Class (จี-คลาสส์), S-Class (เอส-คลาสส์) และ V-Class (วี-คลาสส์) พร้อมเจอคันจริงได้ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41 หรือ Thailand International Motor Expo 2024
• Mercedes-Benz G 580 with EQ Technology ครั้งแรกกับการสานต่อตำนาน 45 ปี ของ G-Class เจ้าของฉายา “King of Off-Road” มาพร้อมระบบขับเคลื่อนพลัง งานไฟฟ้า 100 % และมอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว กำลังสูงสุด 587 แรงม้า แรงบิดได้สูงสุดถึง 1,164 นิวทันเมตร/118.7 กก.ม. อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. 4.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 180 กม./ชม. แบทเตอรีความจุ 116 กิโลวัตต์ชั่วโมง ระยะทำการสูงสุดเมื่อชาร์จแบทเตอรีเต็ม คือ 473 กม. (WLTP) รองรับการชาร์จไฟฟ้าแบบ DC สูงสุดที่ 200 กิโลวัตต์ โดยเปิดตัว 2 รุ่น ในรุ่น Standard ราคาเริ่มต้น 9,500,000 บาท และรุ่น Edition One รา คาเริ่มต้น 12,200,000 บาท (ติดตั้งชุดตก แต่งตัวเพิ่มเติมทั้งภายนอก และภายใน พร้อมออพชันที่มากกว่า) โดยสำหรับรุ่น Edition One จะจำหน่ายจำนวนจำกัดเพียง 6 คัน ในประเทศไทย
• นอกจากนี้ ยังเปิดตัว Mercedes-Benz G 450 D (เมร์เซเดส-เบนซ์ จี 450 ดี ยนตร กรรม The New G-Class ที่มาพร้อมขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล เทอร์โบ 3.0 ลิตร กำลังสูง สุด 367 แรงม้า จำหน่ายในราคาเริ่มต้น 12,200,000 บาท
• Mercedes-Maybach EQS 680 SUV รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100 % รุ่นแรกภายใต้แบรนด์ Mercedes-Maybach ที่สุดแห่งยนตรกรรมเอสยูวีที่ตอบโจทย์การใช้งานอันเหนือระดับ จำหน่ายในราคาเริ่มต้น 12,500,000 บาท มาพร้อมมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ชุด กำลังสูงสุด 658 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 4.4 วินาที แบทเตอรีความจุ 118 กิโลวัตต์ชั่วโมง ระยะทำการสูงสุดเมื่อชาร์จแบทเตอรีเต็ม คือ 615 กม. (WLTP)
• Mercedes-Maybach S 580 E Premium รถยนต์ซีดานระดับไฮเอนด์ลักชัวรีที่สะ ท้อนเอกลักษณ์ความสง่างามในแบบฉบับของ S-Class โดยกลับมาพร้อมตัวถังสีทูโทนใหม่ แบบ Local Production ผลิตในประเทศไทยที่ได้สิทธิ์ในการผลิตรถยนต์ของ Maybach หนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลก เครื่องยนต์พลัก-อิน ไฮบริด ประกอบด้วย เบนซิน เทอร์โบ 3.0 ลิตร กำลังสูงสุด 367 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้า กำลังสูงสุด 150 แรงม้า กำลังสูงสุดทั้งระบบ 510 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 5.7 วินาที แบทเตอรีความจุ 60.0 กิโลวัตต์ชั่วโมง แล่นด้วยไฟฟ้าล้วนได้สูงสุด 100 กม. (WLTP) จำหน่ายในราคาเริ่มต้น 11,300,000 บาท
• Mercedes-Benz S 580 E AMG Premium ยนตรกรรมลักชัวรีซีดานที่มอบความครบเครื่องในทุกมิติ ทั้งสุนทรียภาพด้านการขับขี่ ความสะดวกสบายของการโดยสาร ระบบความบันเทิง และความปลอด ภัยขั้นสูง มาพร้อมการเพิ่มความสะดวกสบายทุกการขับขี่ที่มากขึ้น ด้วยระบบควบ คุมทิศทางตัวรถแบบเลี้ยว 4 ล้อ (Rear Axle Steering 4.5°) เครื่องยนต์พลัก-อิน ไฮบริด ประกอบด้วย เบนซิน เทอร์โบ 3.0 ลิตร กำ ลังสูงสุด 367 แรงม้า และมอเตอร์ไฟฟ้า กำ ลังสูงสุด 150 แรงม้า กำลังสูงสุดทั้งระบบ 510 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 5.2 วินาที จำหน่ายในราคา 7,580,000 บาท
• Mercedes-Benz V 300 D Exclusive รถแวนระดับลักชัวรี 6 ที่นั่ง รุ่นนำเข้ามาตร ฐานยุโรป ออกแบบมาเพื่อรองรับทั้งการเดินทางแบบครอบครัว และการใช้งานในทางธุร กิจ มอบความสะดวกสบายและความหรูหราระดับเฟิร์สต์คลาสส์ พร้อมทั้งเสริมสมรรถ นะที่ทรงพลังยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ได้อย่างลงตัว เครื่องยนต์ดีเซล เทอร์ โบ 2.0 ลิตร กำลังสูงสุด 237 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 7.4 วินาที เกียร์อัต โนมัติ 9 จังหวะ 9G-Tronic จำหน่ายในราคา 5,820,000 บาท