ธุรกิจ
สอท. เผยยอดผลิตรถเดือนมกราคม ลดลงร้อยละ 12.46
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยถึงจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม 2567 มีทั้งสิ้น 142,102 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 12.46 เพราะผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 33.62 จากการผลิตรถกระบะเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงถึงร้อยละ 50.89 ตามยอดขายที่ลดลง และผลิตรถยนต์นั่งเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 14.68 จากรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าที่มียอดจดทะเบียน เดือนมกราคม 2567 จำนวน 13,314 คัน ในขณะที่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีเพียง 652 คัน แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 11.96
รถยนต์นั่ง เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ 52,509 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 7.27 โดยแบ่งเป็น
• รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 32,655 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 28.95
• รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 652 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 9,214.29
• รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 401 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 59.70
• รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 18,801 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 94.63
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 16.67
รถยนต์บรรทุก เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 89,583 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ15.24
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 86,788 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 16.02 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 16,086 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 15.17
• รถกระบะ Double Cab 55,454 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 18.34
• รถกระบะ PPV 15,248 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 7.47
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน-มากกว่า 10 ตัน เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ 2,795 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 19.29
ส่วนการผลิตเพื่อส่งออก เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ 95,110 คัน เท่ากับร้อยละ 66.93 ของยอดการผลิตทั้ง หมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 3.91
รถยนต์นั่ง เดือนมกราคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 27,589 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 0.63
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมกราคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 67,521 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 5.31 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 6,395 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 22.09
• รถกระบะ Double Cab 48,312 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 3.96
• รถกระบะ PPV 12,814 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 49.49
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ 46,992 คัน เท่ากับร้อยละ 33.07 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 33.62
รถยนต์นั่ง เดือนมกราคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 24,920 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 14.68
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมกราคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 19,267 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 50.89 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 9,691 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 29.39
• รถกระบะ Double Cab 7,142 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 59.43
• รถกระบะ PPV 2,434 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 69.22
รถจักรยานยนต์ เดือนมกราคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 224,589 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 5.56 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 177,822 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.30 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 46,767 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 6.50
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมกราคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 54,814 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 16.42 เพราะรถกระบะมียอดขายแค่ 14,864 คัน ลดลงถึงร้อยละ 43.47 จากการเข้มงวดในการอนุ มัติสินเชื่อของสถาบันการเงินเพราะหนี้ครัวเรือนสูงมาก รถ PPV มียอดขายลดลงร้อยละ 43.86 เพราะยังไม่มีรุ่นใหม่ออกมา ประกอบกับมีรถ SUV แบบ Hybrid ออกใหม่ในราคาจับต้องได้มาเอาส่วนแบ่งตลาดไป และรถบรร ทุกขายลดละร้อยละ 32.01 จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้าออกไปหลายเดือน ทำให้การลงทุน การใช้จ่าย และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลล่าช้าไปไปด้วย เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวในระดับต่ำตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2566 แยกเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 34,364 คัน เท่ากับร้อยละ 62.69 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 11.59
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 14,373 คัน เท่ากับร้อยละ 26.22 ของยอดขายทั้ง หมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 32.81
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 9,763 คัน เท่ากับร้อยละ 17.81 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 205.48
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 98 คัน เท่ากับร้อยละ 0.18 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 67.66
• รถยนต์นั่ง และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 10,130 คัน เท่ากับร้อยละ 18.48 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 71.52
รถกระบะมีจำนวน 14,864 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.47 รถ PPV มีจำนวน 3,074 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 43.86 รถบรรทุก 5-10 ตัน มีจำนวน 1,079 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 32.01 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,433 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 0.56
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 154,003 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 16.34 และลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 3.30 โดยแบ่งเป็น
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนมกราคม 2567 ส่งออกได้ 86,716 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 3.97 และลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 0.08 เพราะส่งออกได้เพียงร้อยละ 91.17 ของยอดผลิตเพื่อส่งออก เพราะเรือมีพื้นที่ไม่เพียงพอจึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ แยกเป็นรถยนต์สัน ดาปภายใน ICE 81,763 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 4.85 ส่งออกรถยนต์ HEV 4,953 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 478.62 มูลค่าการส่งออก 60,567.43 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 14.99 อย่างไรก็ตาม การส่งออกชิ้นส่วน และอะไหล่รถยนต์ยังเพิ่มขึ้น ดังนี้
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,110.46 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม2566 ร้อยละ 13.45
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,038.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 16.68
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,917.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 12.60
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 79,633.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 14.25
รถจักรยานยนต์ เดือนมกราคม 2567 มีจำนวนส่งออก 82,853 คัน (รวม CBU+CKD) ลดลงจากเดือนธันวาคม 2566 ร้อยละ 8.20 และลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 5.39 โดยมีมูลค่า 5,757.22 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 9.11
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 220.28 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 21.20
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 147.34 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 5.32
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนมกราคม 2567 ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ 6,124.83 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 9.53
เดือนมกราคม2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยาน ยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 85,758.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 12.15
สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดง เดือนมกราคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 15,943 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 238.71 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 13,574 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 360.92
รถยนต์นั่ง จำนวน 13,322 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 242 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 1 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 9 คัน
รถกระบะ รถแวน มีทั้งสิ้น 86 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 273.91
รถยนต์ 3 ล้อรับจ้าง มีทั้งสิ้น 2 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 93.75
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล จำนวน 2 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 2,253 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 46.01
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 2,251 คัน
รถจักรยานยนต์สาธารณะ จำนวน 2 คัน
รถโดยสาร มีทั้งสิ้น 21 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม2566 ร้อยละ 86.88
รถบรรทุก มีทั้งสิ้น 7 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 75
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงเดือนมกราคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 14,143 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 83.99 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 14,119 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 84.49
รถยนต์นั่ง จำนวน 14,097 คัน
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน จำนวน 1 คัน
รถยนต์บริการธุรกิจ จำนวน 6 คัน
รถยนต์บริการทัศนาจร จำนวน 15 คัน
รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 24 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 29.41
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 24 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงเดือนมกราคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 940 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วร้อยละ 2.19 โดยแบ่งเป็น
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 940 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2566 ร้อยละ 2.19
รถยนต์นั่ง จำนวน 940 คัน
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 มกราคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 147,743 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 301.75 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 103,290 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 519.54
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 102,154 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 519.90
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คน มีจำนวน 817 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 380.59
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 51 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 628.57
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 60 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,900
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์ มีจำนวน 208 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,500
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 365 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 280.21
รถยนต์ 3 ล้อ มีจำนวนทั้งสิ้น 903 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 70.38
รถยนต์ 3 ล้อส่วนบุคคล มีจำนวน 82 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 32.26
รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ มีจำนวน 821 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 75.43
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 40,435 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 123.71
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 40,300 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 123.76
รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 135 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 107.69
อื่นๆ
รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2,440 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 77.84
รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 310 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 933.33
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 มกราคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 357,645 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 33.75 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 348,534 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 34.91
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 347,678 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 34.90
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 479 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.83
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 57 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 103.57
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 170 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 100
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 2 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 33.33
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 148 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 448.15
รถกระบะ และรถแวน มีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถจักรยานยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 9,102 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.80
รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีจำนวน 9,108 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 0.80
อื่นๆ
รถโดยสาร มีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 มกราคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 54,907 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 26.63 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้
รถยนต์นั่ง และรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 54,907 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 26.63
รถยนต์นั่ง มีจำนวน 54,838 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 26.66
รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 2.50
รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 21 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 5
รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566
รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิคส์มีจำนวน 4 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ไม่มีการจดทะเบียน