ข่าวจากประเทศอังกฤษ ระบุว่า Stellantis เคยประชาสัมพันธ์แผนผลิตพแลทฟอร์มของบริษัทเมื่อปี 2564 และในครั้งนี้ มีการเปิดเผยความคืบหน้าของการพัฒนาพแลทฟอร์มใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของซีรีส์นี้
พแลทฟอร์ม STLA ที่บริษัทฯ เรียกว่า “สเตลลา” ใช้แบทเตอรีที่ผลิตขึ้นเอง มีความจุกระแสไฟระหว่าง 85-118 กิโลวัตต์ชั่วโมง และเป็นพแลทฟอร์มที่มีแบทเตอรีขนาดใหญ่สุด เพื่อผลิตรถซาลูนระดับทอพ ที่ทำระยะเดินทางได้ 800 กม. พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ, สามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 2 วินาที ทั้งสามารถผลิตได้ทั้งรถขับเคลื่อนล้อหน้า หรือล้อหลังก็ได้
STLA Large สามารถใช้ผลิตได้ทั้งรถครอสส์โอเวอร์ และเอสยูวี (รวมถึงพแลทฟอร์ม STLA Small, STLA Medium และ STLA Frame สำหรับรถพิคอัพ และรถเพื่อการพาณิชย์) พแลทฟอร์ม STLA สามารถรองรับการชาร์จเร็วได้ถึง 270 กิโลวัตต์
พแลมฟอร์ม STAL Large มีแรงดันกระแสไฟให้เลือกตั้งแต่ 400-800 โวลท์ สามารถใช้ผลิตรถไฟฟ้าจากแบทเตอรี (BEV), รถขุมพลังไฮบริด หรือรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน ระบบรองรับเลือกได้ ทั้งระบบรองรับแบบถุงลม หรือแดมเพอร์แบบปรับได้
พแลทฟอร์ม STLA Large ของ Stellantis มีความยืดหยุ่นสามารถปรับระยะฐานล้อได้ระหว่าง 2,870-3,075 มม. ปรับระยะห่างใต้ท้องระหว่าง 140-288 มม. ถ้านึกไม่ออกสามารถอ้างอิง BMW i7 ที่มีระยะห่างใต้ท้อง 136 มม. หรือ Defender 110 ที่มีระยะห่างใต้ท้อง 291 มม. จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพแลทฟอร์มนี้ จะสามารถผลิตรถได้หลากหลายรูปแบบ และขนาดเท่าที่ต้องการ
Dodge และ Jeep เป็นรถกลุ่มแรกที่จะใช้พแลทฟอร์มนี้สำหรับรถใหม่ในปีนี้ โดยเฉพาะ Jeep Wagoneer S ที่มีกำลังสุทธิ 600 แรงม้า จะใช้พแลทฟอร์มใหม่นี้อย่างแน่นอน
ระหว่างปี 2567-2569 จะมีรถใหม่ขนาดใหญ่จากเครือ Stellantis ถึง 8 รุ่น ซึ่งจะใช้พแลทฟอร์มนี้ ทั้ง Alfa Romeo, Chrysler และ Maserati ที่มีแผนเปิดตัวในระหว่างนี้
Marc Issner หัวหน้าวิศวกรแผนกพัฒนาพแลทฟอร์ม กล่าวว่า รถใหม่ที่ใช้พแลทฟอร์มนี้ นับว่าเป็นรถระดับทอพที่มีเทคโนโลยีระดับก้าวหน้าที่น่าจับตามอง
บทความแนะนำ