สารคดี/บทความ/รายงาน/กิจกรรม 10 Jun 2022
รวมฉายา "รถดังในอดีต" ที่คุ้นหูคนไทย
หากพูดถึงรถยนต์ในบ้านเรายุคก่อน หลายโฉม หลายรุ่น ถูกตั้งฉายาตามเอกลักษณ์ประจำตัว จนกลายเป็นชื่อเรียกติดปากอย่างแพร่หลายมาจนปัจจุบัน “autoinfo.co.th” จะพาไปรู้จักที่มาของฉายารถรุ่นต่างๆ จะมีอะไรบ้างมาดูกัน...
![Mercedes-Benz W203]()
Mercedes-Benz W203 > ตาถั่ว
ผลิตออกมาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2543 รูปลักษณ์ภายนอกสวยงาม โค้งมน ไม่ตกยุค จุดเด่นเป็นโคมไฟหน้าที่ออกแบบให้มีลักษณะเชื่อมติดกัน 2 โคม กลายเป็นรูปเลข 8 ตะแคง แต่กลับดูเหมือนฝักถั่วลิสง ที่ลักษณะเป็นกระเปาะ 2 อันเชื่อมกัน จึงเรียกรุ่นนี้ว่า “เบนซ์ตาถั่ว”
![Mercedes-Benz W124]()
Mercedes-Benz W124 > โลงจำปา
เริ่มเข้ามาจำหน่ายในไทย ปี 2528 เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของรุ่นนี้เป็นการออกแบบภายนอกที่มีแต่เหลี่ยมคมในทุกสัดส่วน โดยฉายาโลงจำปานี้ได้มาจากท้ายรถ ที่ตัดท้ายลงในแนวตั้งตรงเรียบๆ พอมองมุมตรงก็เห็นส่วนนูนออกที่ด้านข้าง และด้านบน คล้ายคลึงกับโลงจำปา หรือโลงศพของชาวจีน
![Toyota Corolla AE90]()
Toyota Corolla AE90 > โดเรมอน
เป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมมากในยุคนั้น เปิดตัวในปี 2531 ปรับโฉมจากทรงเหลี่ยมสัน มาเป็นทรงโค้งมนเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นช่วงพอดีกับการ์ตูนโดเรมอนสมัยนั้นกำลังได้รับความนิยม และรถรุ่นนี้ยังมีออพชันหลากหลายกว่าคู่แข่งมากมาย เช่น กระจกไฟฟ้า เครื่องยนต์หัวฉีด เกียร์อัตโนมัติ ฯลฯ ราวกับของวิเศษจากโดเรมอนเลยทีเดียว
![Toyota Corolla AE101]()
Toyota Corolla AE101 > สามห่วง
รถยอดฮิทในตำนาน เปิดตัวครั้งแรกในไทยปี 2534 โดยเป็นรุ่นแรกที่เปลี่ยนโลโก จากเดิมเป็นคำว่า Toyota มาเป็นแบบวงรีไขว้ 3 วงซ้อนกัน ทำให้เรียกรุ่นนี้ว่า “สามห่วง” ซึ่งโลโกดังกล่าว ก็ถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน
![Honda civic ek]()
![Honda civic ข้าวโพด]()
Honda Civic EK> ตาโต
ผลิตขึ้นปี 2539 โฉมนี้ยังมีให้เห็นอยู่บนถนนจำนวนมาก โดยรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่นคงหนีไม่พ้นไฟหน้า ที่ออกแบบได้ใหญ่โตกว่าเจเนอเรชันที่ผ่านมา จึงได้รับฉายาว่า “ตาโต” และในช่วงปี 2542 - 2543 ได้ปรับเปลี่ยนหน้าตา ไมเนอร์เชนจ์ใหม่ ทั้งกันชนหน้า ไฟหน้า กันชนท้าย รวมไปถึงไฟท้าย ที่มีลักษณะคล้ายกับเมล็ดข้าวโพด จึงเรียกรุ่นไมเนอร์เชนจ์นี้ว่า “ไฟท้ายข้าวโพด”
![Honda Civic EG]()
![EG_Banner]()
Honda Civic EG > เตารีด
เดิมทีฉายานี้มาจากรุ่น EF เพราะความแบน แต่พอรุ่น EG ออกมาแล้วมีรุ่น 3 ประตู ทำให้ผู้คนเทฉายานี้ให้กับรุ่นนี้มากกว่า เนื่องจากความเรียบแบน และหน้าแหลมมากกว่าเดิม อีกทั้งรุ่นท้ายแฮทช์แบคก็ยังดูเหมือนท้ายของเครื่องเตารีด คนจึงนิยมเรียก EG ว่าเตารีดมากกว่า
![Mitsubishi Lancer]()
Mitsubishi Lancer > กล่องไม้ขีด
เจเนอเรชันที่ 2 ถูกผลิตตั้งแต่ปี 2522 รุ่นนี้ได้ปรับปรุงให้เครื่องยนต์มีความประหยัดน้ำมันมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน และออกแบบให้ห้องโดยสารเงียบขึ้น ลดปริมาณเสียงรบกวนจากภายนอก ซึ่งดูจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ก็ไม่แปลก ที่จะเรียกว่า “กล่องไม้ขีด” เพราะมีรูปทรงแบนราบมีแต่เหลี่ยมสัน เหมือนกับกล่องไม้ขีดนั่นเอง
![Mitsubishi Lancer CK 9Original]()
Mitsubishi Lancer CK > ท้ายเบนซ์
สำหรับรุ่นนี้เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี 2539 โดยเป็นความบังเอิญของรุ่น ที่ออกแบบไฟท้ายมาเป็นก้อนสามเหลี่ยม ที่ดันไปละม้ายคล้ายทรง Mercedes-Benz C-Class W202 ที่ผลิตออกมาก่อนหน้านี้
![Honda Accord G7]()
Honda Accord G7 > ปลาวาฬ
สำหรับรุ่นนี้ เปิดตัวในเมืองไทย ปี 2546 ถูกปรับปรุงให้รูปลักษณ์ภายนอกใหญ่โตมากขึ้น พร้อมไฟหน้าเรียวแหลมและกระจังรูเล็ก กับไฟท้ายแนวนอนแบนยาว จนได้โชว์ความโค้งมน เมื่อมองจากด้านข้างจะมีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ ส่วนไฟท้ายก็เหมือนกับลายครีบ และหางของปลาวาฬเช่นกัน
![Honda Accord CB]()
Honda Accord CB > ตาเพชร
อีกหนึ่งฉายาที่เรียกกันติดปาก กับรถหรูค่าย Honda ที่พลิกโฉมจากเดิมด้วยการใช้ไฟหน้าแบบมัลทิรีเฟลคเตอร์ เป็นจานฉายที่ทำมุมสะท้อนแสง พร้อมกับโคมแบบใส ทำให้มองเห็นภายในไฟ ที่ดูไกลๆ เหมือนเป็นเหลี่ยมเพชร ทำให้คนทั่วไปเรียกว่า “ตาเพชร”
![Honda Accord CG]()
Honda Accord CG > งูเห่า
เป็นรถซีดานขนาดใหญ่ ที่มีความเพรียวลม ขอบกระจังหน้ามีสันนูนแนวตั้งยื่นออกมา บวกกับไฟหน้าปลายแหลม พร้อมช่องดักลมล่างขนาดใหญ่ ทำให้ดูเหมือนงูเห่า
![Toyota Camry XV20 .]()
![Toyota Camry XV20]()
Toyota Camry XV20 > ไม้บรรทัด
เป็นรุ่นแรกที่ประกอบในไทย ด้วยไฟท้ายรีเรียวยาวแนวนอนเรียบตรง จึงมีคนเปรียบเทียบให้เป็นไม้บรรทัด ต่อมาในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ได้ปรับขอบล่างไฟท้ายให้เฉียงลงมาจรดทะเบียน จึงได้ฉายาท้ายย้อยไปแทน
Toyota Corolla Altis > หน้าหมู
เป็นรถที่ยังเห็นอยู่มากมายมายตามท้องถนน ซึ่งที่เรียกกันว่าหน้าหมู เพราะไฟหน้ากลมๆ หน้าตายื่นออกมาเหมือนจมูกหมู หรือหน้ากากหมู เลยเรียกมันว่า “หน้าหมู” ซะเลย
![Toyota-Soluna-VHT329_05]()
Toyota Soluna > หยดน้ำ
ชื่อนี้มาจากหลังปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในปี 2542 ที่ได้ปรับหน้าตาใหม่ กันชนใหม่ ไฟท้ายใหม่ ซึ่งบรรดาเทนท์รถเรียกกันว่า “ไฟท้ายหยดน้ำ” เพราะลายของไฟที่ฝากระโปรงหลังมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ต่อมา Toyota Soluna ในรุ่นถัดไปจึงพัฒนาเป็น Soluna Vios เข้ามาแทนที่ และชื่อของ “Soluna” ก็หายไปจากตลาดตั้งแต่ปี 2545
![Datsun 620]()
Datsun 620 > ช้างเหยียบ
มีความโดดเด่นกว่าใครในยุคนั้น โมเดลนี้ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี 2515 - 2522 โดยจุดเด่นหนึ่งที่คนจำได้ คือ การนำรถกระบะ Datsun รุ่นนี้ มาถ่ายทำโฆษณา โดยใช้ลูกช้างขึ้นไปเหยียบบนกระบะหลังเพื่อสื่อถึงความแข็งแกร่ง ทำให้คนยุคนั้นจดจำถึงหนังโฆษณานี้ได้เป็นอย่างดี จึงเรียกรุ่นนี้ว่า “Datsun ช้างเหยียบ”
Mercedes-Benz W203 > ตาถั่ว
ผลิตออกมาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2543 รูปลักษณ์ภายนอกสวยงาม โค้งมน ไม่ตกยุค จุดเด่นเป็นโคมไฟหน้าที่ออกแบบให้มีลักษณะเชื่อมติดกัน 2 โคม กลายเป็นรูปเลข 8 ตะแคง แต่กลับดูเหมือนฝักถั่วลิสง ที่ลักษณะเป็นกระเปาะ 2 อันเชื่อมกัน จึงเรียกรุ่นนี้ว่า “เบนซ์ตาถั่ว”
Mercedes-Benz W124 > โลงจำปา
เริ่มเข้ามาจำหน่ายในไทย ปี 2528 เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของรุ่นนี้เป็นการออกแบบภายนอกที่มีแต่เหลี่ยมคมในทุกสัดส่วน โดยฉายาโลงจำปานี้ได้มาจากท้ายรถ ที่ตัดท้ายลงในแนวตั้งตรงเรียบๆ พอมองมุมตรงก็เห็นส่วนนูนออกที่ด้านข้าง และด้านบน คล้ายคลึงกับโลงจำปา หรือโลงศพของชาวจีน
Toyota Corolla AE90 > โดเรมอน
เป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมมากในยุคนั้น เปิดตัวในปี 2531 ปรับโฉมจากทรงเหลี่ยมสัน มาเป็นทรงโค้งมนเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นช่วงพอดีกับการ์ตูนโดเรมอนสมัยนั้นกำลังได้รับความนิยม และรถรุ่นนี้ยังมีออพชันหลากหลายกว่าคู่แข่งมากมาย เช่น กระจกไฟฟ้า เครื่องยนต์หัวฉีด เกียร์อัตโนมัติ ฯลฯ ราวกับของวิเศษจากโดเรมอนเลยทีเดียว
Toyota Corolla AE101 > สามห่วง
รถยอดฮิทในตำนาน เปิดตัวครั้งแรกในไทยปี 2534 โดยเป็นรุ่นแรกที่เปลี่ยนโลโก จากเดิมเป็นคำว่า Toyota มาเป็นแบบวงรีไขว้ 3 วงซ้อนกัน ทำให้เรียกรุ่นนี้ว่า “สามห่วง” ซึ่งโลโกดังกล่าว ก็ถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน
Honda Civic EK> ตาโต
ผลิตขึ้นปี 2539 โฉมนี้ยังมีให้เห็นอยู่บนถนนจำนวนมาก โดยรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่นคงหนีไม่พ้นไฟหน้า ที่ออกแบบได้ใหญ่โตกว่าเจเนอเรชันที่ผ่านมา จึงได้รับฉายาว่า “ตาโต” และในช่วงปี 2542 - 2543 ได้ปรับเปลี่ยนหน้าตา ไมเนอร์เชนจ์ใหม่ ทั้งกันชนหน้า ไฟหน้า กันชนท้าย รวมไปถึงไฟท้าย ที่มีลักษณะคล้ายกับเมล็ดข้าวโพด จึงเรียกรุ่นไมเนอร์เชนจ์นี้ว่า “ไฟท้ายข้าวโพด”
Honda Civic EG > เตารีด
เดิมทีฉายานี้มาจากรุ่น EF เพราะความแบน แต่พอรุ่น EG ออกมาแล้วมีรุ่น 3 ประตู ทำให้ผู้คนเทฉายานี้ให้กับรุ่นนี้มากกว่า เนื่องจากความเรียบแบน และหน้าแหลมมากกว่าเดิม อีกทั้งรุ่นท้ายแฮทช์แบคก็ยังดูเหมือนท้ายของเครื่องเตารีด คนจึงนิยมเรียก EG ว่าเตารีดมากกว่า
Mitsubishi Lancer > กล่องไม้ขีด
เจเนอเรชันที่ 2 ถูกผลิตตั้งแต่ปี 2522 รุ่นนี้ได้ปรับปรุงให้เครื่องยนต์มีความประหยัดน้ำมันมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน และออกแบบให้ห้องโดยสารเงียบขึ้น ลดปริมาณเสียงรบกวนจากภายนอก ซึ่งดูจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ก็ไม่แปลก ที่จะเรียกว่า “กล่องไม้ขีด” เพราะมีรูปทรงแบนราบมีแต่เหลี่ยมสัน เหมือนกับกล่องไม้ขีดนั่นเอง
Mitsubishi Lancer CK > ท้ายเบนซ์
สำหรับรุ่นนี้เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี 2539 โดยเป็นความบังเอิญของรุ่น ที่ออกแบบไฟท้ายมาเป็นก้อนสามเหลี่ยม ที่ดันไปละม้ายคล้ายทรง Mercedes-Benz C-Class W202 ที่ผลิตออกมาก่อนหน้านี้
Honda Accord G7 > ปลาวาฬ
สำหรับรุ่นนี้ เปิดตัวในเมืองไทย ปี 2546 ถูกปรับปรุงให้รูปลักษณ์ภายนอกใหญ่โตมากขึ้น พร้อมไฟหน้าเรียวแหลมและกระจังรูเล็ก กับไฟท้ายแนวนอนแบนยาว จนได้โชว์ความโค้งมน เมื่อมองจากด้านข้างจะมีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ ส่วนไฟท้ายก็เหมือนกับลายครีบ และหางของปลาวาฬเช่นกัน
Honda Accord CB > ตาเพชร
อีกหนึ่งฉายาที่เรียกกันติดปาก กับรถหรูค่าย Honda ที่พลิกโฉมจากเดิมด้วยการใช้ไฟหน้าแบบมัลทิรีเฟลคเตอร์ เป็นจานฉายที่ทำมุมสะท้อนแสง พร้อมกับโคมแบบใส ทำให้มองเห็นภายในไฟ ที่ดูไกลๆ เหมือนเป็นเหลี่ยมเพชร ทำให้คนทั่วไปเรียกว่า “ตาเพชร”
Honda Accord CG > งูเห่า
เป็นรถซีดานขนาดใหญ่ ที่มีความเพรียวลม ขอบกระจังหน้ามีสันนูนแนวตั้งยื่นออกมา บวกกับไฟหน้าปลายแหลม พร้อมช่องดักลมล่างขนาดใหญ่ ทำให้ดูเหมือนงูเห่า
Toyota Camry XV20 > ไม้บรรทัด
เป็นรุ่นแรกที่ประกอบในไทย ด้วยไฟท้ายรีเรียวยาวแนวนอนเรียบตรง จึงมีคนเปรียบเทียบให้เป็นไม้บรรทัด ต่อมาในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ได้ปรับขอบล่างไฟท้ายให้เฉียงลงมาจรดทะเบียน จึงได้ฉายาท้ายย้อยไปแทน
เป็นรถที่ยังเห็นอยู่มากมายมายตามท้องถนน ซึ่งที่เรียกกันว่าหน้าหมู เพราะไฟหน้ากลมๆ หน้าตายื่นออกมาเหมือนจมูกหมู หรือหน้ากากหมู เลยเรียกมันว่า “หน้าหมู” ซะเลย
Toyota Soluna > หยดน้ำ
ชื่อนี้มาจากหลังปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในปี 2542 ที่ได้ปรับหน้าตาใหม่ กันชนใหม่ ไฟท้ายใหม่ ซึ่งบรรดาเทนท์รถเรียกกันว่า “ไฟท้ายหยดน้ำ” เพราะลายของไฟที่ฝากระโปรงหลังมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ต่อมา Toyota Soluna ในรุ่นถัดไปจึงพัฒนาเป็น Soluna Vios เข้ามาแทนที่ และชื่อของ “Soluna” ก็หายไปจากตลาดตั้งแต่ปี 2545
Datsun 620 > ช้างเหยียบ
มีความโดดเด่นกว่าใครในยุคนั้น โมเดลนี้ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี 2515 - 2522 โดยจุดเด่นหนึ่งที่คนจำได้ คือ การนำรถกระบะ Datsun รุ่นนี้ มาถ่ายทำโฆษณา โดยใช้ลูกช้างขึ้นไปเหยียบบนกระบะหลังเพื่อสื่อถึงความแข็งแกร่ง ทำให้คนยุคนั้นจดจำถึงหนังโฆษณานี้ได้เป็นอย่างดี จึงเรียกรุ่นนี้ว่า “Datsun ช้างเหยียบ”
เรื่องโดย : อภินันท์ อุ่นทินกร
ภาพโดย : อินเทอร์เนท
คอลัมน์ Online : สารคดี/บทความ/รายงาน/กิจกรรม
ลิงค์สำหรับแชร์ : https://www.autoinfo.co.th/online/367535