นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 74,115 คัน ลดลง 1.4 % ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,461 คัน ลดลง 20.7 % รถเพื่อการพาณิชย์ 51,654 คัน เพิ่มขึ้น 10.4 %ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 40,837 คัน เพิ่มขึ้น 9.3 %
ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคมมีปริมาณการขาย 74,115 คัน ลดลง 1.4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 20.7 % และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10.4 % เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศกำลังไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โครงการ “คนละครึ่ง” และมาตรการ “ชอพดีมีคืน” ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค อีกทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์
ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือน มีปริมาณการขาย 608,880 คัน ลดลง 27.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 36.8 % ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 20.9 % เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีมาตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ตาม จากการที่ภาครัฐฯ ออกมาตรการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคประชาชน และเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และผู้บริโภคให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้เช่นกัน นอกจากนี้ในด้านของตลาดรถยนต์ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆ พยายามอย่างเต็มที่ในช่วงปลายปี ที่จะดึงดูดความสนใจ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทั้งการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การออกกลยุทธ์ต่างๆ การบริการหลังการขาย เพื่อมอบความคุ้มค่าให้กับลูกค้า ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายนมีทิศทางที่ดีขึ้น
อันดับที่ 1 Toyota (โตโยตา) 25,709 คัน ลดลง 3.6 % ส่วนแบ่งตลาด 34.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu (อีซูซุ) 17,174 คัน เพิ่มขึ้น 44.8 % ส่วนแบ่งตลาด 23.2 %
อันดับที่ 3 Honda (ฮอนดา) 9,011 คัน ลดลง 7.2 % ส่วนแบ่งตลาด 12.2 %
อันดับที่ 1 Honda 7,233 คัน ลดลง 6.9 % ส่วนแบ่งตลาด 32.2 %
อันดับที่ 2 Toyota 6,245 คัน ลดลง 32.0 % ส่วนแบ่งตลาด 27.8 %
อันดับที่ 3 Nissan (นิสสัน) 2,602 คัน เพิ่มขึ้น 0.0 % ส่วนแบ่งตลาด 11.6 %
อันดับที่ 1 Toyota 19,464 คัน เพิ่มขึ้น 11.3 % ส่วนแบ่งตลาด 37.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu 17,174 คัน เพิ่มขึ้น 44.8 % ส่วนแบ่งตลาด 33.2 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi (มิตซูบิชิ) 2,985 คัน ลดลง 23.8 % ส่วนแบ่งตลาด 5.8 %
ปริมาณการขาย 40,837 คัน เพิ่มขึ้น 9.3 %
อันดับที่ 1 Toyota 16,622 คัน เพิ่มขึ้น 6.3 % ส่วนแบ่งตลาด 40.7 %
อันดับที่ 2 Isuzu 16,010 คัน เพิ่มขึ้น 51.5 % ส่วนแบ่งตลาด 39.2 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 2,985 คัน ลดลง 23.8 % ส่วนแบ่งตลาด 7.3 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,127 คัน
Toyota 2,783 คัน-Mitsubishi 816 คัน-Ford (ฟอร์ด) 452 คัน-Isuzu 70 คัน- Chevrolet (เชฟโรเลต์) 6 คัน
อันดับที่ 1 Isuzu 15,940 คัน เพิ่มขึ้น 59.8 % ส่วนแบ่งตลาด 43.4 %
อันดับที่ 2 Toyota 13,839 คัน เพิ่มขึ้น 1.5 % ส่วนแบ่งตลาด 37.7 %
อันดับที่ 3 Ford 2,198 คัน ลดลง 29.6 % ส่วนแบ่งตลาด 6.0 %
อันดับที่ 1 Toyota 182,840 คัน ลดลง 33.7 % ส่วนแบ่งตลาด 30.0 %
อันดับที่ 2 Isuzu 140,700 คัน เพิ่มขึ้น 2.1 % ส่วนแบ่งตลาด 23.1 %
อันดับที่ 3 Honda 74,058 คัน ลดลง 31.0 % ส่วนแบ่งตลาด 12.2 %
อันดับที่ 1 Honda 61,665 คัน ลดลง 25.3 % ส่วนแบ่งตลาด 29.2 %
อันดับที่ 2 Toyota 51,921 คัน ลดลง 47.0 % ส่วนแบ่งตลาด 24.6 %
อันดับที่ 3 Nissan 21,951 คัน ลดลง 27.9 % ส่วนแบ่งตลาด 10.4 %
อันดับที่ 1 Isuzu 140,700 คัน เพิ่มขึ้น 2.1 % ส่วนแบ่งตลาด 35.4 %
อันดับที่ 2 Toyota 130,919 คัน ลดลง 26.4 % ส่วนแบ่งตลาด 32.9 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 27,814 คัน ลดลง 32.5 % ส่วนแบ่งตลาด 7.0 %
ปริมาณการขาย 315,184 คัน ลดลง 22.6 %
อันดับที่ 1 Isuzu 130,323 คัน เพิ่มขึ้น 4.2 % ส่วนแบ่งตลาด 41.3 %
อันดับที่ 2 Toyota 112,207 คัน ลดลง 29.4 % ส่วนแบ่งตลาด 35.6 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 27,814 คัน ลดลง 32.5 % ส่วนแบ่งตลาด 8.8 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 31,746 คัน
Toyota 14,267 คัน-Mitsubishi 7,386 คัน-Isuzu 4,225 คัน-Ford 4,022 คัน-Nissan 1,174 คัน-Chevrolet 672 คัน
อันดับที่ 1 Isuzu 126,098 คัน เพิ่มขึ้น 7.7 % ส่วนแบ่งตลาด 44.5 %
อันดับที่ 2 Toyota 97,940 คัน ลดลง 28.2 % ส่วนแบ่งตลาด 34.6 %
อันดับที่ 3 Mitsubishi 20,428 คัน ลดลง 31.5 % ส่วนแบ่งตลาด 7.2 %