ในอดีตการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้พิการ หรือผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ สามารถเดิน หรือยืนได้ด้วยตัวเอง การใช้โครงร่างแข็งแรงภายนอก เป็นตัวช่วยสนับสนุน เพื่อเทคโนโลยีที่ก้าวไกลขึ้น วิศวกร ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาเพื่อคนพิการ หรือผู้ที่อ่อนแอ เพื่อนำมาปรับใช้ในสายการผลิต โดยเฉพาะสายการผลิตยานยนต์ ซึ่งมีลักษณะการทำงานเฉพาะในบางจุด อาทิ การต้องทำงานเหนือศีรษะเป็นเวลานานในทางทฤษฎี เราเรียกโครงร่างแข็งแรงภายนอก ที่นำมาสวมใส่เพื่อสนับสนุนการทำงานนี้ว่า Exoskeletons โดยมีคำแปลอย่างเป็นทางการว่า โครงร่างแข็งแรงภายนอก เวบไซท์ www.techsauce.com ให้คำจำกัดความไว้ว่า Exoskeleton คือ อุปกรณ์สวมใส่ สำหรับการเป็นแขนขา เปรียบเสมือนโครงกระดูกสำหรับคน เจ้าโครงร่างแข็งแรงภายนอก จะเป็นชุดสำหรับสวมใส่ เพื่อช่วยในการลดโหลด หรือลดภาระในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่ต้องทำซ้ำๆ กัน หรืองานที่ต้องบิดกล้ามเนื้อร่างกาย ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ หรืองานที่อยู่เหนือระดับศีรษะ และไม่สามารถใช้หุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติอื่นๆ เข้ามาช่วยงานได้ ปัจจุบัน ค่ายรถยนต์ที่ทำการพัฒนาโครงร่างแข็งแรงภายนอกนี้ มี Hyundai motor, Ford Motor Company และ General Motors Company ซึ่งต่างก็อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ตามแต่นโยบายของแต่ละบริษัท โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการทำงานระดับพนักงาน โดยเฉพาะในสายการผลิต ที่ต้องทำงานในลักษณะซ้ำๆ กันเกือบตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายในการทำงาน บริษัท ULS Robotics ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อนู่ในเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้พัฒนา โครงร่างแข็งแรงภายนอกนี้ สำหรับสายการผลิตรถยนต์, การเดินอากาศ และผู้ผลิตทางอุตสาหกรรม ปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา โครงร่างภายนอก 3 ลักษณะ อย่างแรก สำหรับลำตัวด้านบน, อย่างที่ 2 สำหรับบริเวณบั้นเอว และส่วนที่ 3 พุ่งเป้าไปที่ส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้สวมใส่ ให้ยกของหนักมากๆ ได้ โครงร่าง 2 อย่างแรก มีน้ำหนักราวอย่างละ 7 กก. ช่วยให้ผู้สวมใส่ สามารถยกสิ่งของน้ำหนักราว 44 ปอนด์ หรือประมาณ 10 กก. ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้พลังงานจากแบทเตอรีลิเธียม-ไอออน ที่ใส่ไว้ในโครงร่าง มีอายุการทำงานราว 6-8 ชม. ปัจจุบัน GM กำลังทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ของ ULS Robotics และยังมีลูกค้าอีกหลายราย ที่อยู่ระหว่างการทดลองเช่นกัน โดยโครงร่างแข็งแรงภายนอกนี้ สามารถช่วยการทำงานของฝ่ายภาคพื้นได้เป็นอย่างดี