หัวข้อเรื่องอาจจะงงๆ อยู่สักหน่อย แต่เป็นข่าวมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสำนักงานเพื่อความปลอดภัยจากการเดินทางทางถนน (National Highway Traffic Safety Administration หรือ NHTSA) ยืนยันการประกาศเลื่อนกำหนดที่บังคับให้ผู้ผลิตรถไฟฟ้า ต้องติดตั้งเครื่องกำเนิดเสียง โดยกำหนดสุดท้ายวันที่ 1 มีนาคม 2564ปัญหาของรถไฟฟ้า คือ เสียงเงียบมาก ขณะใช้งานไม่ว่าจะด้วยความเร็วสักเท่าใด เพราะมีแค่มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาว่าคนเดินถนนที่ไม่ได้มองสิ่งต่างๆ รอบข้าง และคุ้นชินกับเสียงรถเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ขับเข้ามาใกล้ๆ จะได้ยินเสียงชัดเจน รวมท้ังเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ความสามารถในการมองเห็นที่บกพร่อง ไม่สามารถเดาได้ว่า รถกำลังวิ่งอยู่หรือไม่ จากการฟังเพียงเสียงเครื่องยนต์อย่างเดียว จึงทำให้สำนักงานเพื่อความปลอดภัยฯ ประกาศบังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ ต้องมีเครื่องกำเนิดเสียง บรรดาผู้ผลิต อาทิ General Motors, Volkswagen และ Toyota ร่วมกันร้องขอสำนักงานเพื่อความปลอดภัยฯ ให้เลื่อนกำหนดการติดตั้งเครื่องกำเนิดเสียงดังกล่าว ไปอีก 1 ปี แต่สำนักงานเพื่อความปลอดภัยฯ เลื่อนให้เพียง 6 เดือน เท่านั้น สำนักงานเพื่อความปลอดภัยฯ ระบุว่า “ข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องเข้มงวด และมีระยะเวลาที่ชัดเจน” ระเบียบดังกล่าว กำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ ต้องมีแหล่งกำเนิดเสียง เมื่อรถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 30 กม./ชม. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับคนเดินถนน, จักรยาน, ผู้พิการทางสายตา หรือมีปัญหาด้านการมองเห็น ที่อาจไม่สังเกตว่ามีรถยนต์เคลื่อนเข้ามาใกล้ สำนักงานเพื่อความปลอดภัยฯ ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตั้งแหล่งกำเนิดเสียง นี้ จะตกราว 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/ปี เพราะผู้ผลิตจำเป็นต้องเพิ่มระบบกันน้ำของแหล่งกำเนิดเสียงเข้าไปด้วย แต่จะสามารถลดการบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น คิดเป็นมูลค่าราว 250-320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/ปี เช่นกัน ข้อมูลเพิ่มเติม ยังระบุด้วยว่า รถไฮบริด ก็มีส่วนเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินถนน เพิ่มขึ้น 19 % เมื่อเทียบกับในอดีตที่มีเฉพาะรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน