ปวีณา นันทิกุลวาณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์สะสม 10 เดือน มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 838,968 คัน เพิ่มขึ้น 0.7 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 3.7 % ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 1.3 %
ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือน มีปริมาณการขาย 838,968 คัน เพิ่มขึ้น 0.7 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 3.7% โดยมีปัจจัยหลักมาจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำเข้าสู่ตลาด ส่วนตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลง 1.3 % สืบเนื่องจากกำลังซื้อที่ลดลง และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม มีปริมาณการขาย 77,121 คัน ลดลง 11.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยตลาดรถยนต์นั่งลดลง 7.6 % และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ลดลง 13.5 % เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการชะลอตัวของสภาพเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามค่ายรถยนต์ต่างๆ ยังคงทยอยเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และเตรียมการเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปี รวมถึงในช่วงงาน “มหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 36” ส่งผลให้แนวโน้มของตลาดรถยนต์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ยังเป็นที่น่าจับตามอง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือน ตุลาคม 2562 แบ่งออกเป็น
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 77,121 คัน ลดลง 3 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 26,672 คัน ลดลง 8.1 % ส่วนแบ่งตลาด 34.6 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,860 คัน ลดลง 12.1 % ส่วนแบ่งตลาด 15.4 %
อันดับที่ 3 ฮอนดา 9,709 คัน ลดลง 11.6 % ส่วนแบ่งตลาด 12.6 %
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 30,327 คัน ลดลง 6 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 9,185 คัน ลดลง 6.4 % ส่วนแบ่งตลาด 30.3 %
อันดับที่ 2 ฮอนดา 7,772 คัน ลดลง 4.6 % ส่วนแบ่งตลาด 25.6 %
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,140 คัน เพิ่มขึ้น 15.1 % ส่วนแบ่งตลาด 10.4 %
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 46,794 คัน ลดลง 5 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 17,487 คัน ลดลง 9.0 % ส่วนแบ่งตลาด 37.4 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,860 คัน ลดลง 12.1 % ส่วนแบ่งตลาด 25.3 %
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,918 คัน ลดลง 1.8 % ส่วนแบ่งตลาด 8.4 %
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 37,357 คัน ลดลง 14.8 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 15,636 คัน ลดลง 8.5 % ส่วนแบ่งตลาด 41.9 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,570 คัน ลดลง 12.7 % ส่วนแบ่งตลาด 28.3 %
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,918 คัน ลดลง 1.8 % ส่วนแบ่งตลาด 10.5 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,296 คัน โตโยตา 2,000 คัน–มิตซูบิชิ 1,001 คัน–อีซูซุ 592 คัน–ฟอร์ด 390 คัน–เชฟโรเลต์ 209 คัน–นิสสัน 104 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 33,061 คัน ลดลง 1 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 13,636 คัน ลดลง 9.7 % ส่วนแบ่งตลาด 41.2 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,978 คัน ลดลง 9.3 % ส่วนแบ่งตลาด 30.2 %
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,124 คัน ลดลง 26.9 % ส่วนแบ่งตลาด 9.4 %
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม–ตุลาคม 2562
อันดับที่ 1 โตโยตา 275,704 คัน เพิ่มขึ้น 8.9 % ส่วนแบ่งตลาด 32.9 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 137,819 คัน ลดลง 1.0 % ส่วนแบ่งตลาด 16.4 %
อันดับที่ 3 ฮอนดา 107,404 คัน เพิ่มขึ้น 3.4 % ส่วนแบ่งตลาด 12.8 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 97,921 คัน เพิ่มขึ้น 5.6 % ส่วนแบ่งตลาด 29.1 %
อันดับที่ 2 ฮอนดา 82,562 คัน เพิ่มขึ้น 5.4 % ส่วนแบ่งตลาด 24.6 %
อันดับที่ 3 มาซดา 40,417 คัน ลดลง 4.0 % ส่วนแบ่งตลาด 12.0 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 177,783 คัน เพิ่มขึ้น 10.8 % ส่วนแบ่งตลาด 35.3 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 137,819 คัน ลดลง 1.0 % ส่วนแบ่งตลาด 27.4 %
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 41,703 คัน ลดลง 23.6 % ส่วนแบ่งตลาด 8.3 %
ปริมาณการขาย 407,057 คัน เพิ่มขึ้น 0.7 %
อันดับที่ 1 โตโยตา 158,910 คัน เพิ่มขึ้น 13.8 % ส่วนแบ่งตลาด 39.0 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 125,122 คัน ลดลง 0.9 % ส่วนแบ่งตลาด 30.7 %
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 41,702 คัน ลดลง 22.6 % ส่วนแบ่งตลาด 10.2 %
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 51,224 คัน โตโยตา 22,464 คัน–มิตซูบิชิ 11,378 คัน–อีซูซุ 8,071 คัน–ฟอร์ด 5,255 คัน–เชฟโรเลต์ 2,572 คัน–นิสสัน 1,484 คัน
อันดับที่ 1 โตโยตา 136,446 คัน เพิ่มขึ้น 15.5 % ส่วนแบ่งตลาด 38.3 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 117,051 คัน เพิ่มขึ้น 0.6 % ส่วนแบ่งตลาด 32.9 %
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 36,447 คัน ลดลง 20.4 % ส่วนแบ่งตลาด 10.2 %