เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมิถุนายน 2024/2023
ตลาดโดยรวม -26.0 %
รถยนต์นั่ง -27.1 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) +4.8 %
กระบะ 1 ตัน -39.0 %
รถเพื่อการพาณิชย์ +1.8 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2024/2023
ตลาดโดยรวม -24.2 %
รถยนต์นั่ง -19.4 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) +11.4 %
กระบะ 1 ตัน -40.7 %
รถเพื่อการพาณิชย์ -4.7 %
ปัญหาเรื่องตลาดภายในประเทศที่ตกต่ำในปี 2567 ถ้าปริมาณความต้องการของตลาดทำยอดขายได้เพียง 5.5-6 แสนคัน/ปี ขนาดตลาดนี้จะเท่ากับนำเราย้อนกลับไปสู่อดีตเมื่อ 16-20 ปีที่แล้ว ผมไม่ทราบว่าเรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร เพราะในวิกฤตเศรษฐกิจสำคัญๆ ของโลกเรา มี 3 เหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำ คือ สงครามอ่าว, ต้มยำกุ้ง ปี 2540 และปี 2551 เศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประกอบกับไทยแบ่งสีตีกัน บ้านเมืองพังยับ ถือเป็นช่วงเวลาที่การขายรถไทยตกต่ำสุด
เหตุการณ์ที่ผ่านมาถือว่าได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกมากกว่าภายใน ส่วนปี 2567 ปัญหาหลัก คือ หนี้ครัวเรือนกับเศรษฐกิจไทยโตช้า ปัญหาภายนอกก็มีบ้าง แต่ไม่รุนแรงเท่า ดังนั้น ความตกต่ำปี 2567 สะท้อนฝีมือการบริหารของฝ่ายบริหารจัดการโดยแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ตกต่ำก็ยังดีที่ไม่ถึงกับเป็นอุปสรรคในการขยายเครือข่าย และตลาดของค่ายรถหน้าใหม่ เรียกว่า ตลาดรวมอ่อนตัว แต่รถยนต์ไฟฟ้ายังลงทุนเพิ่ม มีโชว์รูมใหม่ๆ ของผู้ค้ารถจากจีนเกิดขึ้นทุกพื้นที่ บางทีก็เทคโอเวอร์โชว์รูมจากบแรนด์เดิม สำหรับนักลงทุนเก่าๆ ดั้งเดิมไม่น่าห่วง เพราะอยู่ในวงการค้ารถตัวจริง แม้จะขยายการลงทุนไปบแรนด์ใหม่บ้าง คงมีสายป่านรอคืนทุน 5-10 ปี แต่รถหน้าใหม่ส่วนใหญ่เป็นบรรดาดีเลอร์ระดับเทียร์ 2-3 ต้องหาโอกาสเติบโต บแรนด์ไหนเข้ามาทำท่าขายดีก็บ่ายหน้าไปทางนั้น สุ่มเสี่ยงมากหน่อยตามสถานการณ์ ซึ่งดูแล้วหากยอดขายรถในปีหน้ายังไม่ดีขึ้น มีโอกาสได้เห็นการปิดโชว์รูมมากกว่าการเปิดใหม่
หากตลาดปีนี้ปิดยอดขายเพียง 6 แสนคัน ในจำนวนนี้ กว่า 50 % เป็นรถกระบะ และ 80 % ในนั้น ครองตลาดโดยรถเพียง 3 ค่าย คือ TOYOTA (โตโยตา) ISUZU (อีซูซุ) และ FORD (ฟอร์ด) จะเหลือยอดอีกไม่มากให้บรรดาผู้ขายหลายสิบรายได้เบียดแย่งกัน ซึ่งในตลาดรถเก๋งก็เห็นว่าเกิดสงครามราคากันทันที และหนักมาก
ภาพรวมของภาคนโยบายไทยนั้นมีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งสำหรับการผลิตรถยนต์ และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งที่ผ่านมาห่วงโซ่สำหรับเครื่องยนต์ ICE มีความแข็งแกร่งกว่า EV อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของห่วงโซ่ ICE นี้กำลังถูกท้าทาย และทดแทนด้วย EV มีผลต่อโมเมนทัมไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาค ซึ่งภาคนโยบายเราสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจะมาทดแทนรถน้ำมัน แต่ตอนนี้สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมรถยนต์โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แนวคิดเดิมที่ว่ารถน้ำมันจะถูกเลิกผลิตได้ยุติลง เครื่อง ICE นั้นยังคงไปต่อ แต่หันไปพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ระบบใหม่ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เป็นที่สุดของยานยนต์เพื่อการลดกลไกการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เหมือนแนวทางช่วงแรกๆ ที่ ไทยเรานั้นปรับนโยบายสอ