เล่นท้ายเล่ม
ดวงตาเห็นธรรม
ว่างๆ ผมมักชอบอ่านแต่เรื่องธรรมะ เนื่องจากเวลาที่ว่างนั้นมักเกิดขึ้นหลังจากผมว่างเป็นเวลานาน
แล้วมาระลึกสติได้ในภายหลังว่า ผมว่างเว้นจากธรรมะไปด้วย
ผมมีความเชื่อว่า ผมคงไม่ได้เป็นคนไทย หรือพุทธศาสนิกชนผู้เดียวที่มีอาการเป็นเช่นนี้ แต่ก็คงมีญาติ
โยมอีกหลายคนเป็นเหมือนๆ กัน
พระพุทธศาสนา จึงน่าจะเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยให้ประเทศไทยของเราทุกคนมีความสงบร่มเย็นเป็นสุขตาม
อัตภาพ และเป็นมาช้านานแล้ว
บรรดาเรื่องต่างๆ ในธรรมบทที่ได้รับการแปลมาจากภาษาบาลี ขอให้สังเกตดูเถิดครับ มักหนีไม่พ้น
สัตว์ทั้งหลายในห้วงมหรรณพ เหตุที่เป็นไปดังนี้ก็เพราะสมัยพุทธกาล คนทุกคนไม่ว่าเป็นคนไทยหรือ
เทศก็มักแวดล้อมด้วยสิงสาราสัตว์ อยู่กับธรรมชาติดิบๆ ยิ่งเป็นคนที่อยู่ในบรรพชิต (นักบวชในพระ
พุทธศาสนา) ด้วยแล้ว ย่อมหายใจเข้าหายใจออกอยู่กับป่าเขา แวดล้อมด้วยสัตว์นานาชนิด
ด้วยประการฉะนี้ ธรรมบทจึงมีสัตว์ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยพระพุทธองค์ทรงยกเอาสัตว์ต่างๆ มา
แสดงธรรมบ่อยๆ ครั้ง
ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ผมอยากลอกเลียนคำของ พระไพศาล วิสาโล จาก "ตื่นรู้ ที่ภูหลง" มา
แสดงสักท่อนหนึ่ง ท่านรจนาไว้ดังนี้
"...เวลาตีระฆังทำวัตรเช้า-เย็น หมาทุกตัวในวัดจะหอนเป็นจังหวะตามจังหวะระฆัง พอหยุดตีมันก็หยุด
หอนไปด้วย แต่ถ้าตีเมื่อไหร่มันก็หอนอีก มันควบคุมตัวเองไม่ได้..."
"เห็นแล้วก็อดขำ และอดสมเพชไม่ได้ ที่มันกลายเป็นทาสของระฆังไปแล้ว"
"แต่มานึกดูให้ดี บ่อยครั้งเราก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกันนะ เพียงแต่ว่าเราอาจไม่ได้มีปฏิกิริยากับเสียง
ระฆัง แต่มีปฏิกิริยากับเสียงอย่างอื่นแทน..."
เป็นบทเตือนสติอย่างดีสำหรับผม และคนไทยอย่างผม เรื่องของหมาก็ยังปรากฏในธรรมบทอีกมาก
กาลครั้งนั้น...พระพุทธองค์เสด็จดำเนินผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวหนึ่งกำลังใช้เท้า
เขี่ยเต่าพลิกไปพลิกมา ด้วยหวังว่าจะกินเต่าเสียกระนั้น แต่เต่าก็หดหัวเข้าไปนิ่งเงียบอยู่ในกระดอง
มิไยที่สุนัขจะเพียรพยายามสักเท่าไร เต่าก็ไม่สูญเสียสัญชาตญาณ ไม่ยอมหลงเล่ห์เพทุบายสุนัขเอา
หัวโผล่ออกมา
การณ์เป็นไปซ้ำซากเช่นนั้น จนสุนัขเกิดความท้อแท้ และเปลี่ยนใจหันหลังให้เต่าแล้วไปหาออร์เดิฟ
อย่างอื่นแทน
กาลครั้งนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้เสด็จเพียงลำพัง แต่ยังติดตามด้วยพระสาวกอีกมาก ทรงชี้ให้พระสาวก
เหล่านั้นเห็นธรรม ตรัสขึ้นว่า
"พวกเธอเห็นหรือไม่เล่า สุนัขมันพยายามจะกินเต่า แต่เต่ามันระมัดระวังตัว หดหัวของมันอยู่แต่ใน
กระดอง มันจึงรอดพ้นจากอันตรายถึงชีวิต"
พระพุทธเจ้าตรัสเช่นนั้น หมายถึง ให้พระสาวกทั้งหลายมีความสำรวมในอินทรีย์ เวลาใดก็ตามถ้าดวง
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และใจเกิดความคำนึง ก็จงมีสติ และจง
ระมัดระวัง ไม่เกิดความยินดียินร้าย ไม่ตกเป็นทาสแห่งตัณหาพาไปสู่ ความเสียหายแล้ว ก็จะปลอด
ภัยดุจเดียวกับเต่าที่หดหัวในกระดอง"
แต่คำพังเพยไทยที่กล่าวถึงคำว่า "หดหัว" เป็นคำกิริยา แปลว่า ชักหัวกลับ โดยปริยายก็หมายความว่า
เกิดอาการกลัว หรือหลบจนไม่โผล่หัวออกไป
เช่น เพื่อนชายคนหนึ่งของผมถูก "กิ๊ก" กล่าวว่า "มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้านนั่นแหละ" ซึ่งหมายความว่า ถ้า
เป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ก้มหน้ากินน้ำพริกถ้วยเก่าไปละกัน
นิทานแทรกธรรมะอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับโค สมัยพุทธกาลนั้น โค เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อ
มวลมนุษย์ (ถึงสมัยนี้ก็เหมือนกันนะ ยังมีคนกินเนื้อโค)
และกาลครั้งนั้น...พระพุทธเจ้าเสด็จถึงลำธารแห่งหนึ่ง ทอดพระเนตรเห็นนายโคบาล (เด็กเลี้ยงโค)
กำลังต้อนฝูงโคข้ามน้ำอันมีกระแสไหลเชี่ยวกราก โคทั้งหลายว่ายน้ำข้ามตามโคที่เป็นจ่าฝูงซึ่งว่ายนำ
อยู่ข้างหน้า จนข้ามฝั่งเป็นผลสำเร็จไม่มี "คลื่นใต้น้ำ" รบกวน
พระพุทธองค์ทรงตรัสเป็นพุทธพจน์ขึ้นอย่างไพเราะว่าดังนี้
"...เมื่อฝูงโคข้ามฟาก หากจ่าฝูงนำไปคด โคทั้งหลายย่อมเดินคดตาม แต่หากโคจ่าฝูงนำไปตรง โคทั้ง
หลายก็จะพากันเดินตรงตามฉันใด ในหมู่มนษย์ก็ฉันนั้น คนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ให้เป็นผู้นำ
หากคนผู้นั้นไม่ประพฤติธรรม รัฐก็จักเดือดร้อน แต่หากผู้นำประพฤติธรรม คนทั้งปวงก็จักประพฤติ
ตาม รัฐก็จะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข..."
นิทานเกี่ยวกับคาวบอย...เอ๊ย...เด็กเลี้ยงโค ยังมีอีกหลายเรื่อง แต่คำสอนของพระพุทธองค์ซึ่งสอนให้
พระสาวกจงปฏิบัติตนเยี่ยงเด็กเลี้ยงโคที่ดี 11 ประการนั้น ดูจะเข้าท่ากับคุณลักษณะชีวิตคนเราสมัยนี้
1. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักรูปพรรณโคฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ย่อมพิจารณาสังขารตนเองโดยแจ่มแจ้ง
2. เด็กเลี้ยงโค (ที่ดี) ย่อมรู้จักลักษณะโคฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้ลักษณะคนพาลและบัณฑิต รู้
จักคบหาสมาคมกับคนดี และหลีกเลี่ยงคนพาล
3. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักเขี่ยไข่ขาง (ขี้แมลงวันที่แผลโค) ฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักกำจัดความ
คิดอันเป็นอกุศล
4. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักเปิดแผลโคฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักสำรวจการแสดงออกทั้งทางตา
และทางหู เป็นต้น
5. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักสุมควันไล่แมลงให้กับโคฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักแสดงธรรมไล่ความโง่
ออกจากจิตใจคนทั่วไป
6. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักท่าน้ำสำหรับเพื่อให้โคเล่นน้ำฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักเข้าหาผู้มีความรู้
เพื่อพัฒนาการปฏิบัติธรรม
7. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักให้โคดื่มน้ำที่ดื่มได้ฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักดื่มพระพุทธธรรม
8. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักเส้นทางที่ควรต้อนโค หรือไม่ควรต้อนโคฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้ทางควร
ปฏิบัติ คือ อริยมรรค 8 นั้นเอง
9. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักแหล่งหากินของโคฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน
4 อันได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นแล
10. เด็กเลี้ยงโคย่อมรู้จักการรีดนมโค ไม่รีดหมดจนลูกโคไม่มีนมโคกินฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จัก
ประมาณต่อการรับปัจจัยทั้ง 4 อันได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช นั้นเอง
11. เด็กเลี้ยงโค (ที่ดีนะ) ย่อมรู้จักทะนุถนอมโคจ่าฝูงฉันใด พระภิกษุก็ฉันนั้น ต้องรู้จักเคารพนับถือพระ
เถระ เป็นสังฆบิดร
ญาติโยมทั้งหลายที่สดับความมาทั้งหมดวันนี้ อาจเวียนหัว หรือหลับไปแล้ว แต่ผมยังมีนิทานไทยๆ อีก
เรื่อง ขันกันมาตั้งแต่โบราณเพราะเป็นเรื่องโบราณสมัยโทรเลขเป็นอีเมล์สื่อสารถึงกันและกันเพียง
อย่างเดียว
นิทานเรื่องนี้เป็นของท่าน "แสงทอง" ท่านเล่าว่า สมัยนั้น ยังมีผัวเมียคู่หนึ่งบ้านอยู่ปากน้ำ และปากน้ำ
กับพระนครสมัยนั้นไกลยิ่งกว่ากรุงเทพ ฯ เชียงรายสมัยนี้
อยู่มาวันหนึ่งผัวเข้าไปในพระนครแล้วไม่กลับบ้าน เมียก็โทรเลขถามเพื่อนผัวทุกคนเพื่ออยากรู้ว่าไป
นอนที่ไหน รุ่งขึ้นตอนบ่ายผัวกลับบ้านแล้วก็มีโทรเลขตอบกลับมาเป็นฉบับแรก เมียเปิดอ่านดังๆ ได้
ความว่า
"เมื่อคืนผัวเธอนอนบ้านผม...(ลงชื่อ) เล็ก"
ผัวได้ยินก็หัวเราะก๊ากและว่า "ไอ้เล็กมันเป็นเพื่อนคนเดียว เชื่อไม่ได้ โคตรกะล่อน แต่แปลกมาก วันนี้
มันไม่ยักเล่นบทโกหก"
สักประเดี๋ยวก็มีโทรเลขตอบมาอีกหอบหนึ่ง ล้วนมาจากเพื่อนผัวทั้งสิ้น และทุกฉบับมีความเดียวกัน
หมด คือ นอนที่บ้านผม คราวนี้ผัวทำตาปริบๆ พูดอะไรไม่ออก เงียบไปพักใหญ่ บุรุษไปรษณีย์นำโทร
เลขฉบับสุดท้ายมาส่งที่บ้าน คราวนี้เป็นโทรเลขจากพ่อของเมีย (พ่อตา) เมียก็เปิดอ่านมีความดังนี้
"เมื่อคืนผัวเธอนอนบ้านพ่อ"
ABOUT THE AUTHOR
บ
บรรเจิด ทวี
นิตยสาร 399 ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2550
คอลัมน์ Online : เล่นท้ายเล่ม