ประกันภัย
ประกันภัยเสรี คนไทยได้อะไร
โปรย: เมื่อถึงวันนั้น การผูกขาดจะเป็นของกลุ่มต่างชาติ
ซึ่งสามารถกำหนดเงื่อนไขเบี้ยประกันได้อย่างเสรี แล้วอย่างนี้ชะตากรรมของคนไทยจะเป็นอย่างไร
การประชุม APEC ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพเพิ่งจะผ่านพ้นไป เมื่อ 20-22 ตุลาคม 2546
หัวข้อส่วนใหญ่ว่าด้วยการค้าเสรีที่ประเทศเขตเศรษฐกิจ 21
ประเทศจะต้องเปิดประตูลดเงื่อนไขให้แก่กันและกัน หนึ่งในการถูกผลักดันให้เกิดการค้าเสรีอย่างยิ่งคือ
การประกันภัยเสรี คำถามต่อมาจึงมีว่า "คนไทยได้อะไรจากการเปิดประกันภัยเสรี"
โลกแห่งการแข่งเสรี ทำให้เกิดการลด...แลก...แจก...แถม กันอย่างบ้าระห่ำชนิดใครดีใครอยู่
ใครไม่สู้ก็ถอยไป ถ้าการแข่งขันอย่างเสรีทางการค้าเป็นไปอย่างสมบูรณ์หมายถึง
การมีผู้ค้ามากรายและอยู่ภายใต้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการแข่งขัน ผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
คือประชาชนผู้บริโภค แต่ถ้าการแข่งขันไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ มีผู้ค้าน้อยรายหรือมีมากมาย
แต่มีรายใหญ่ผูกขาดหรือสามารถกำหนดราคา กำหนดทิศทางของสินค้าได้ทั้งหมด
เช่นนี้ถือว่าเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมกัน
กรณีหลังนี้ผู้ได้รับประโยชน์จะไม่ใช่ประชาชนผู้บริโภค แต่จะเป็นผู้ค้ารายใหญ่
ธุรกิจในประเทศไทยในระยะหลังๆ
มีการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขันมากขึ้นตามนโยบายการค้าเสรีของระบบทุนนิยมที่พยายามกดดันใ
ห้ไทยเปิดตลาดการค้าเสรี เพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรในลักษณะพิเศษ (GSP)
ในการที่ไทยสามารถส่งสินค้าออกไปขายยังประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อันได้แก่
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม (G8) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีป ยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ซึ่งถือว่าเป็นตลาดหลักของสินค้าส่งออกไทย
การกดดันของกลุ่มประเทศมหาอำนาจซึ่งมีความเจริญทางด้านวัตถุ
มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีอันทันสมัย มีความเชี่ยวชาญทางด้านการค้า สามารถสร้างกฎกติกา
มาตรการในเชิงการค้าต่างๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย ทำให้ไทยต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบหลายประการ
เช่น การกีดกันทางการค้า โดยตั้งเงื่อนไขต่างๆ ด้านภาษีอากร
การกล่าวหาว่าสินค้าไทยไม่ได้คุณภาพปนเปื้อนสารพิษ หรือสินค้าไทยดำเนินการขัดกับสิทธิมนุษยชน
หรือสิ่งแวดล้อม แล้วแต่จะนำมากล่าวอ้างโจมตี
ในขณะเดียวกัน
ประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นก็มีกลวิธีเจรจาเพื่อขอให้นักลงทุนของตนเข้ามาลงทุนกับไทยได้ด้วยเงื่อนไ
ขพิเศษเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งกลุ่มทุนกลุ่มธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุน
ลงทุนในไทยก็จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีกำลังเงินสูง เทคโนโลยีที่ทันสมัย
และมีอำนาจต่อรองเงื่อนไขกับรัฐบาลมาก ผู้อยู่เบื้องหลังการร่วมทุนมักเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ
การเมืองที่มีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อกลุ่มและพรรคพวกของตน ทุกอย่างก็เป็นไปโดยง่าย
สิ่งที่ตามมาของกระแสวัฒนธรรมการค้าเสรีของโลกมหาอำนาจ
ส่งผลให้ประเทศไทยถูกธุรกิจข้ามชาติยึดครองกว่าครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสาร
ธุรกิจน้ำมันและพลังงาน ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต เป็นต้น
การเข้ามาขยายตัวของธุรกิจข้ามชาติดังกล่าว
ทำให้ร้านค้ารายเล็กรายน้อยต้องปิดกิจการนับพันนับหมื่น
เพราะไม่สามารถจะแข่งขันกับทุนข้ามชาติได้ ธุรกิจการผลิตซัพพลายเออร์ขายส่ง
กลับถูกบีบให้กลายเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าในตรายี่ห้อของต่างชาติ แทนตราสินค้าของตนเอง
นับวันธุรกิจไทยจะยิ่งหดตัวปิดกิจการเพิ่มขึ้น
แล้วท้ายที่สุดก็จะถูกครอบครองโดยต่างชาติอย่างแน่นอน
การที่รัฐบาลออกมารณรงค์ให้คนไทยใช้สินค้าไทย สำนึกถึงความเป็นไทยในระยะหลังๆ นี้
ดูว่าจะสายเกินไปเสียแล้วเพราะคนไทยได้ดูดซับค่านิยมในแบรนด์ยี่ห้อ ตราสินค้า
ของต่างชาติไปเป็นชีวิตจิตใจ คนไทยมีรสนิยมว่าสินค้าต่างชาติดีมีคุณภาพสูงกว่าสินค้าไทย
ซึ่งผลิตโดยคนไทย และราคาสินค้าต่างชาติก็ไม่ได้สูงกว่าสินค้าไทยเท่าใดนัก
เมื่อเทียบกับคุณภาพและความน่าเชื่อถือที่ในความรู้สึกสินค้าไทยด้อยกว่าทุกประตู
ซึ่งในที่สุดการออกมารณรงค์ของรัฐบาลก็เป็นเพียงการทำแบบเสียไม่ได้ หรือฉาบฉวย ขอไปที
เพื่อป้องกันการถูกด่า ถูกโจมตีจากประชาชนผู้รักชาติรักแผ่นดินเท่านั้น
ไม่มีความจริงใจในการปลุกจิตสำนึก สร้างไทยด้วยสินค้าไทยอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะทั้งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ตลอดจนนักการเมืองทั้งหลายต่างเป็นผู้ร่วมทุน
มีผลประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติทั้งนั้น
มาดูในแง่ของการประกันภัย ธุรกิจต่างชาติ การร่วมทุนต่างชาติ เต็มไปหมด
จนบางครั้งไม่แน่ใจว่าชื่อบริษัทเรียกถูกหรือเปล่า จำไม่ได้แล้วว่าชื่ออะไรแน่
เพราะเปลี่ยนชื่อตลอดเวลา เดี๋ยวต่อหน้า เดี๋ยวเติมท้าย วุ่นไปหมด
การเข้ามาร่วมลงทุนถ้ามองในด้านของเศรษฐกิจมหภาค อาจเห็นว่าเป็นแง่ดีตามนโยบาย IMF
คือจะได้มีเม็ดเงินใหม่เติมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งไทยเพลี่ยงพล้ำถูกมรสุมทางเศรษฐกิจซัดกระหน่ำในช่วงปี 2540
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่ฟื้นคืนชีพ
แต่ถ้ามองในแง่ของผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าเดียวกัน ก็จะพบว่าธุรกิจข้ามชาติเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว
มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย
มีกำลังทุนที่หนาและพร้อมจะโจมตีด้วยวิธีการทุ่มตลาดวัดศักยภาพและสายป่านได้ตลอดเวลา
ดังนั้นลูกค้าดีๆ จะหันหน้าเข้าหาธุรกิจข้ามชาติที่สามารถเสนอเงื่อนไขดีๆ เบี้ยประกันถูกกว่า
และสามารถจะแย่งแชร์ตลาดในกลุ่มลูกค้าดีๆ จากบริษัทไทยไปได้
ธุรกิจคนไทยก็คงต้องเศร้าไปตามๆ กันเพราะลูกค้าที่เหลือจะเป็นลูกค้าระดับที่ไม่ดี มีความเสี่ยงสูง
และต่างชาติไม่สนใจ ครั้นจะไปออกสินค้าใหม่แข่งก็ติดเรื่องการประกันภัยต่อ
เพราะการต่อเชื่อมเครือข่ายกับต่างชาติ ต้นทุนต้องสูงกว่าแน่นอน
ดังนั้นสภาพการแข่งขันจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบต่างชาติตลอดเวลา
ถึงวันนี้ต้องบอกได้ว่าธุรกิจประกันภัยไทยน่าเป็นห่วงมาก
ประกอบกับกรมการประกันภัยกำหนดให้การจัดสรรเงินสำรองเสี่ยงภัย
ต้องเป็นเงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาล
ห้ามใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์มาตีราคาประเมินด้วยแล้วบริษัทประกันภัยไทยจะต้องวิ่งหาเงิน
มาเพิ่มกองทุน จะด้วยวิธีเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ หรือไม่ได้ ก็ต้องรอขายให้ต่างชาติไปตามระเบียบ
สิ่งที่สะท้อนภาพรัฐบาลรวมถึงกรมการประกันภัยที่ได้ออกมาตรการต่างๆ ออกมา
พร้อมกับแสดงเจตนารมณ์ว่าเพื่อความเข้มแข็ง และมั่นคงของธุรกิจประกันภัย แต่มาตรการต่างๆ
ไม่ได้ส่งเสริมหรือพัฒนาธุรกิจไทยเลย
แต่กลับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถหรือความได้เปรียบให้กับธุรกิจข้ามชาติที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว
ถึงไม่ค่อยมั่นใจในความมั่นคงและเสถียรภาพของธุรกิจประกันภัยเท่าที่ควร เพราะภายใต้รัฐบาลชุดนี้
และท่านอธิบดีกรมการประกันภัยท่านนี้มุ่งเน้นที่จะให้เปิดเสรีธุรกิจประกันเพื่อเอาใจต่างชาติตลอดเวลา
มองในแง่ของประชาชนเชื่อว่าในระยะแรกๆ อาจได้ซื้อประกันของดี ราคาถูก
ในช่วงของการแข่งขันแบบทุ่มตลาด แต่เชื่อว่าในระยะยาว
ธุรกิจไทยจะต้องพ่ายแพ้ธุรกิจข้ามชาติแน่นอน ด้วยทุนที่หนากว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัย
ต้นทุนเชื่อมต่อภายในเครือข่ายต่ำกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ
และเมื่อถึงวันนั้น การผูกขาดจะเป็นของกลุ่มต่างชาติ
ซึ่งสามารถกำหนดเงื่อนไขเบี้ยประกันภัยได้อย่างเสรีที่ไม่มีคู่แข่งที่เป็นธุรกิจไทย
เว้นแต่จะเป็นคู่แข่งต่างชาติด้วยกัน อาจพูดคุยภาษาเดียวกัน แบ่งปันผลประโยชน์เพื่อกำหนดตลาด
แล้วอย่างนี้ชะตากรรมของคนไทยจะเป็นอย่างไร
ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญคิดทบทวนดูกันเองก็แล้วกัน
ท้ายนี้ก็ขอวอนถึงท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน
โปรดแสดงความรักชาติ รักแผ่นดินอย่างจริงใจหน่อย อย่หลงในอำนาจวาสนา
นำพาประเทศชาติให้ตกอยู่ในเงื้อมือต่างชาติ ทุนข้ามชาติ ธุรกิจต่างชาติ
บุกยึดแผ่นดินไทยทุกหัวระแหง แล้วธุรกิจไทยจะอยู่อย่างไร ตัวท่านเป็นไทย ขอว่าใจอย่าเป็นทาส
รักชาติ รักแผ่นดิน รณรงค์กินใช้ของไทย อุดหนุนสินค้าไทย ประกันภัยประกันชีวิตกับธุรกิจของคนไทย
ทำให้ได้จริงๆ ตัวท่านนั่นแหละต้องเป็นแบบอย่างให้กับสังคมไทย
"ประเทศไทยจะอยู่รอดปลอดภัย อย่าปล่อยให้ต่างชาติครองเมือง"
ABOUT THE AUTHOR
ก
กฤชกมล
ภาพโดย : -นิตยสาร 399 ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2546
คอลัมน์ Online : ประกันภัย