สัมภาษณ์พิเศษ(formula)
ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์
นับวันบริษัทรถยนต์ในประเทศไทยเริ่มก่อตั้งมาโดยคนไทยจะลดเหลือน้อยลงไปอย่างต่อเนื่อง
และถ้าหากพูดถึงรถมิตซูบิชิในประเทศไทยแล้ว ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันดี
ถึงคุณภาพและราคาที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลานาน
แต่แล้วการพัฒนาที่จะต้องใช้เงินทุนก็มีความจำเป็น มิตซูบิชิวันนี้จึงอยู่ภายใต้การบริหารงานของญี่ปุ่น
เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากบริษัทแม่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ แต่การทำงานในเรื่องราวต่าง ๆ
รวมถึงนโยบายการทำงาน ก็ยังคงร่วมมือกันทำต่อไป และนี่คือ บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จำกัด
ฟอร์มูลา : นโยบายของมิตซูบิชิในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ?
ดร.วัชระ : เน้นแผนงานด้านการประชาสัมพันธ์ การขาย การบริการ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
รวมถึงหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดและความต้องการ เน้นตลาดนิชมาร์เก็ต ตอบสนองในส่วนของผู้บริโภค
ฟอร์มูลา : แผนงานและกลยุทธ์ในการแข่งขัน ?
ดร.วัชระ : มีสินค้าที่ตลาดต้องการ หลังจากนั้น คือ ต้องใช้กลยุทธ์ในเรื่องของราคาแต่ว่าคงไม่ใช่กลยุทธ์เดียว
เป็นตัวนำ แต่อาจจะรวมไปถึงชุดแต่ง และการบริการอื่น ๆ ที่บริษัทสามารถให้ได้กับลูกค้า ซึ่ง
จุดนี้ต้องมีความแตกต่างจากคู่แข่งด้วย
โดยที่ผ่านมาบริษัทได้มีการตั้งทีม ซีเอส (CUSTOMER SEVICES) พยายามปรับปรุงการส่งมอบรถให้กับดีเลอร์
ใช้ระบบ เดลี่ ดิลิเวอร์รี่ ที่ดีเลอร์จะสามารถทราบว่ารถจะถึงมือได้เมื่อไร ทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจไม่ต้องรอ
ส่งรถเร็วขึ้น รวมถึงปรับปรุงเรื่องอะไหล่ที่สามารถตอบสนองได้เร็วขึ้น
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว ให้ดีเลอร์และลูกค้ารู้สึกดีต่อสินค้า และไม่ต้องรอสินค้านาน
ส่งรถได้เร็วขึ้นนั้นได้มีการพัฒนาระบบ SAP ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วน
ตัวแทนจำหน่าย และโรงงาน ทำให้การสั่งซื้อและสั่งผลิตรถยนต์เป็นได้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงดีเลอร์ใหม่ โดยแบ่งเป็นเขตการทำงานเป็น 15 เขต
ฟอร์มูลา : การปรับปรุงดีเลอร์และตัวแทนจำหน่ายใหม่ แตกต่างจากเดิมอย่างไร ?
ดร.วัชระ : เปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมการบริหารดีเลอร์เป็นเขตย่อย 15 เขต หรือ 4S (ชื่อเต็ม....) เดิม ขาย บริการ
อะไหล่ บริการหลังการขาย ซึ่งจะมีถึง 4 คน แต่หลังจากปรับปรุงแล้วจะแบ่งเป็นเขตการจำหน่าย 15 เขต คือ
กรุงเทพฯ 5 เขต ภาคใต้ 2 เขต ภาคเหนือ 2 เขต ภาคอีสาน 2 เขต ภาคตะวันออก 2 เขต และภาคกลาง 2 เขต
โดยแต่ละเขตจะมีผู้จัดการเขต โดยจะมีเขตการรับผิดชอบน้อยลง แต่หน้าที่ความรับผิดชอบจะมีมากขึ้น
โดยมีหน้าที่หลัก ประสานงานการขาย เป้าการขาย แคมเปญต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาศูนย์บริการและอะไหล่
ฟอร์มูลา : ภาพลักษณ์ของดีเลอร์จะเป็นอย่างไร ?
ดร.วัชระ : ปีนี้จะใช้คอนเซปต์ SPIRITED PRODUCT FOR SPIRITED PEOPLE
ซึ่งเป็นคอนเซปต์การทำงานแบบรีบอนของมิตซูบิชิ โดยบริษัทจะเข้าไปสนับสนุนผู้แทนจำหน่ายอย่างใกล้ชิด
พัฒนาประสิทธิภาพการขาย ศูนย์บริการ อะไหล่ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
ซึ่งได้เริ่มพัฒนาแล้วแต่ค่อย ๆ ทำทีละจุด
ฟอร์มูลา : แล้วจะมีการพัฒนาดีเลอร์ในด้านใดเพิ่มขึ้นอีก ?
ดร.วัชระ : คงจะเน้นไปที่การสร้างความแข็งแกร่งให้มากขึ้น จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น ในด้านการอบรม
มีเงินสนับสนุนเรื่องของรถยนต์ ด้านการปรึกษาหารือ ได้มีการฝึกอบรมเจนเนอเรชั่นใหม่ของดีเลอร์ ที่เป็นลูกหลาน
ที่เพิ่งจบมาแล้วมาช่วยพ่อแม่ ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบใหม่ที่นำมาใช้ได้
ฟอร์มูลา : เป้าหมายของมิตซูบิชิในประเทศไทย ?
ดร.วัชระ : ต้องสร้างชื่อของสินค้าให้เกิดการยอมรับมากขึ้น ผลิตรถที่มีคุณภาพ
ฟอร์มูลา : แผนการลงทุน ?
ดร.วัชระ : การลงทุนใหญ่ ๆ คงไม่มี โรงงานลงทุนเต็มที่แล้ว ส่วนความร่วมมือกับเดมเลอร์ไครสเลอร์
นั้นคงจะร่วมมือในส่วนของเทคโนโลยี แต่ในเรื่องการทำตลาดยังแยกกันทำงานอยู่
ฟอร์มูลา : แผนงานสำหรับสินค้าใหม่ในปีนี้ ?
ดร.วัชระ : ในปีที่ผ่านมาบริษัทเพิ่งแนะนำรถใหม่ คือ แลนด์เซอร์ ซิเดอาร์ และ สตราดา จีแวกอน
ซึ่งทำให้ในปีนี้จะมีเพียงการปรับปรุงเครื่องยนต์ของพิคอัพ สตราดา ในเรื่องของการใส่เทอร์โบ
ซึ่งจะเป็นการเพิ่มไลน์เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสเลือกมากขึ้น
ส่วนสินค้าที่นำเข้ามาขณะนี้ฝ่ายการตลาดกำลังทำการวิจัยอยู่ว่าสินค้าใดเหมาะสมกับความต้องการของตลาด
ไม่าจะเป็นรถขนาดเล็ก เอนพีแซด หรือ แอร์เทรค
ซึ่งนอกจากวิจัยเรื่องความต้องการแล้วยังต้องดูที่ราคาด้วยว่าาสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้หรือไม่
แต่ความเป็นไปได้น่าจะเป็นแอร์เทรค ส่วนเอนพีแซดนั้นขึ้นอยู่กับโครงการไอโค ซึ่งเอนพีแซดมีแล้วในอินโดนีเซีย
กาแลนด์มีประกอบในฟิลิปปินส์ การวิจัยทั้งหมดนี้น่าจะสรุปได้ประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้
ฟอร์มูลา : การผลิตในปีนี้วางแผนไว้อย่างไร ?
ดร.วัชระ : การผลิตในปีนี้ ตั้งเป้าไว้ที่ 100,000 คัน เป็นการจำหน่ายในประเทศ 35,000 คัน ส่งออก 60,000 คัน
ซึ่งการผลิตนั้นเต็มกำลังการผลิต 120,000 คัน ยังสามารถขยายเพิ่มได้อีก
แต่ในเรื่องของการขยายโรงงานคงจะไม่มีเนื่องจากยังรับได้หากมีการเพิ่มน่าจะเป็นในส่วนของบุคลากร
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการขายและตลาดโลก
ฟอร์มูลา : ตลาดส่งออกมีนโยบายอย่างไร ?
ดร.วัชระ :
ฟอร์มูลา : แผนงานสำหรับความร่วมมือระหว่างมิตซูบิชิกับเดมเลอร์ไครสเลอร์ ?
ดร.วัชระ : ความร่วมมือถ้าเกิดขึ้นในไทย การทำงานน่าจะดีขึ้นในหลายด้าน เช่น การขยายฐานเพิ่มมากขึ้น
มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น
ฟอร์มูลา : หลังจากร่วมมือกันแล้วจะส่งผลดีอย่างไรบ้างกับมิตซูบิชิ ?
ดร.วัชระ : น่าจะส่งผลดีได้ในหลายส่วน เพราะต่างฝ่ายมีความเข้มแข็งที่จะมาเอื้อกันได้ เช่น บุคคล ระบบการทำงาน
ฟอร์มูลา : ท่านคิดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน ?
ดร.วัชระ : อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยก้าวหน้าขึ้น คงจะก้าวขึ้นไปถึงดีทรอยด์ ออฟเดอะอีสต์ คงจะมีอะไรดีขึ้น
ส่วนเราก็จะทำอะไรให้ชัดเจนขึ้น เช่น การทำงานให้เกิดผล สร้างให้เป็นฐานการผลิต ทำให้เกิดการสร้างงาน
ในส่วนต่างๆ ตลาดไทยนับเป็นตลาดหลักในอาเซียน มีตลาดรถพิคอัพที่ใหญ่เป็นที่สองของโลก
มีความสามารถที่จะทำอะไรได้มากขึ้น มีบุคลากรที่ดีมีความสามารถในเรื่องทักษะต่างๆ
และมีแผนสาธารณูปโภคที่ดี
ฟอร์มูลา : ท่านคิดว่ามิตซูบิชิมีจุดอ่อนในด้านใด และจุดแข็งในด้านใด ?
ดร.วัชระ :
ฟอร์มูลา : ท่านวางแผนสำหรับการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำของมิตซูบิชิไว้ในส่วนใด ?
ดร.วัชระ :
ฟอร์มูลา : จากผลที่มีรถยนต์จากประเทศแถบยุโรปย้ายฐานผลิตมาประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ทำให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น มิตซูบิชิวางแผนตรงจุดนี้ไว้อย่างไร?
ดร.วัชระ :
ฟอร์มูลา : หลังจากที่มิตซูบิชิปรับโครงสร้างแล้ว ท่านคิดว่าการทำงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?
ดร.วัชระ :
ฟอร์มูลา : ด้านกิจกรรมส่งเสริมการขายในปีนี้จะทำในด้านใดบ้าง
ดร.วัชระ : ปีนี้จะสนับสนุนกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ท มีมิตซูบิชิ แรลลีอาร์ท
และสำหรับเครื่องยนต์ใหม่ที่มีเทอร์โบก็จะทำกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ท เพื่อทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์
ซึ่งแต่เดิมกิจกรรมในส่วนนี้ไม่ได้ทำมาประมาณ 2-3 ปีแล้ว และปีนี้จะมีทีมแข่งมิตซูบิชิ
นอกจากนี้ก็จะมีกิจกรรมในส่วนของแฟมีลี แรลลี คาราวาน มวย กิจกรรมเพื่อสังคม
ฟอร์มูลา : การจำหน่ายรถราคาเดียวควบคุมอย่างไร
ดร.วัชระ : การจำหน่ายรถราคาเดียว เป็นเกือบทุกยี่ห้อ
ในการขายตัดราคาในกลุ่มทำความเข้าใจว่าการตัดราคาไม่ควรจะทำ ที่ผ่านมาบริษัทประกาศราคาเดียว
แต่โดยกระบวนการจำหน่ายแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกัน
บางแห่งจะเป็นแคมเปญที่ผู้แทนจำหน่ายนำผลประโยชน์ของตัวเองมาลดราคา
ดังนั้นการควบคุมราคาเป็นความร่วมมือของผู้แทนจำหน่ายเป็นหลัก
ABOUT THE AUTHOR
น
นุสรา เงินเจริญ
ภาพโดย : -นิตยสาร 399 ฉบับเดือน มิถุนายน ปี 2545
คอลัมน์ Online : สัมภาษณ์พิเศษ(formula)