มาตรวัดตลาดรถ 26 Nov 2021
อนาคตจะรุ่งหรือ
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2021/2020
ตลาดโดยรวม - 17.7 %
รถยนต์นั่ง - 13.5 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) - 25.4 %
กระบะ 1 ตัน - 21.0 %
รถเพื่อการพาณิชย์ - 1.0 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-กันยายน 2021/2020
ตลาดโดยรวม - 0.5 %
รถยนต์นั่ง - 6.7 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) + 11.3 %
กระบะ 1 ตัน + 0.9 %
รถเพื่อการพาณิชย์ + 8.7 %
อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ยังต้องเผชิญความท้าทาย ด้วยทั่วโลกกำลังมุ่งนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ประกอบกับแนวคิดการเปลี่ยนการคมนาคมขนส่งมาเป็นบริการบนพแลทฟอร์มออนไลน์ MaaS (MOBILITY AS A SERVICE) ที่เปรียบได้กับคลื่นลูกใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งกำลังวิวัฒนาการไปพร้อมกับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี 5G และ IoT
ขณะเดียวกัน วิสัยทัศน์ของภาครัฐ ก็มองว่า เพื่อให้เป็นการครอบคลุมถึงส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บีโอไอจึงปรับปรุงกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบทเตอรีให้ครอบคลุมถึง “พแลทฟอร์มสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบทเตอรี” ด้วย ซึ่งจะทำให้บริษัทสตาร์ทอัพมีโอกาสเข้ามาเป็นผู้พัฒนายานยนต์ไฟฟ้าได้อีกด้วย นอกเหนือจากจำกัดอยู่เฉพาะค่ายรถยนต์รายใหญ่
โดยมูลค่าพแลทฟอร์ม (รวมแบทเตอรี) สูงถึง 74 % ของมูลค่ายานยนต์ไฟฟ้าแบบแบทเตอรี การผลิตลักษณะพแลทฟอร์มร่วมจะช่วยลดปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (ECONOMY OF SCALE) อันจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง เกิดการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด
สำหรับพแลทฟอร์มฯ ที่จะได้รับส่งเสริมการลงทุนต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ระบบกักเก็บพลังงาน หรือ ENERGY STORAGE SYSTEM, CHARGING MODULE และ FRONT & REAR AXLE MODULE จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มยานพาหนะไฟฟ้านี้จะเห็นได้ว่าบีโอไอให้ความสำคัญกับการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความนิยมของผู้บริโภคที่มุ่งสู่การใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด
อุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อน ECOSYSTEM ของยานพาหนะไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
นักวิเคราะห์จากธนาคารมองว่า “อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านไปสู่ฐานการผลิตยาน-ยนต์ไฟฟ้าของไทยอาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ไม่เพียงแต่จะต้องเตรียมความพร้อมในแง่ของการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและประกอบตัวรถ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งการ NEW SKILL UP-SKILL และ RE-SKILL ที่เข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้วเท่านั้น แต่ต้องเร่งพัฒนาชิ้นส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง “แบทเตอรี” ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้เดินหน้าได้อย่างเต็มที่”
“ทั้งนี้ แม้เราจะเห็นผู้ประกอบการในประเทศประกาศตั้งโรงงานผลิตแบทเตอรีลิเธียม กระจายในพื้นที่ EEC บ้างแล้ว ทั้งจาก บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในเครือ ปตท. บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) รวมถึงการร่วมมือระหว่างสวนอุตสาหกรรมโรจนะ และบริษัท EVLOMO จากสหรัฐฯ”
“แต่ดูเหมือนว่าไทยจะยังขาดทรัพยากรต้นน้ำที่เป็นหัวใจหลักของแบทเตอรียานยนต์ไฟฟ้าอย่าง “แร่ลิเธียม” และ “แร่นิคเคิล” ที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนใน EEC สะท้อนจากสถิติการลงทุนจากต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา”
“ส่วนใหญ่อยู่ในกิจการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะสูงถึง 1.1 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HYBRID ELECTRIC VEHICLE: HEV) 4.3 หมื่นล้านบาท และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ 3.4 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ”
ก็ได้แต่คาดหวังว่า นักอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ เพื่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้ในอนาคต
มือบ๊วย ก็คาดหวังเช่นเดียวกัน
ตลาดโดยรวม - 17.7 %
รถยนต์นั่ง - 13.5 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) - 25.4 %
กระบะ 1 ตัน - 21.0 %
รถเพื่อการพาณิชย์ - 1.0 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-กันยายน 2021/2020
ตลาดโดยรวม - 0.5 %
รถยนต์นั่ง - 6.7 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) + 11.3 %
กระบะ 1 ตัน + 0.9 %
รถเพื่อการพาณิชย์ + 8.7 %
อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ยังต้องเผชิญความท้าทาย ด้วยทั่วโลกกำลังมุ่งนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ประกอบกับแนวคิดการเปลี่ยนการคมนาคมขนส่งมาเป็นบริการบนพแลทฟอร์มออนไลน์ MaaS (MOBILITY AS A SERVICE) ที่เปรียบได้กับคลื่นลูกใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งกำลังวิวัฒนาการไปพร้อมกับเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี 5G และ IoT
ขณะเดียวกัน วิสัยทัศน์ของภาครัฐ ก็มองว่า เพื่อให้เป็นการครอบคลุมถึงส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บีโอไอจึงปรับปรุงกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบทเตอรีให้ครอบคลุมถึง “พแลทฟอร์มสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบทเตอรี” ด้วย ซึ่งจะทำให้บริษัทสตาร์ทอัพมีโอกาสเข้ามาเป็นผู้พัฒนายานยนต์ไฟฟ้าได้อีกด้วย นอกเหนือจากจำกัดอยู่เฉพาะค่ายรถยนต์รายใหญ่
โดยมูลค่าพแลทฟอร์ม (รวมแบทเตอรี) สูงถึง 74 % ของมูลค่ายานยนต์ไฟฟ้าแบบแบทเตอรี การผลิตลักษณะพแลทฟอร์มร่วมจะช่วยลดปริมาณวัตถุดิบที่ต้องใช้ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (ECONOMY OF SCALE) อันจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง เกิดการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด
สำหรับพแลทฟอร์มฯ ที่จะได้รับส่งเสริมการลงทุนต้องมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ระบบกักเก็บพลังงาน หรือ ENERGY STORAGE SYSTEM, CHARGING MODULE และ FRONT & REAR AXLE MODULE จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มยานพาหนะไฟฟ้านี้จะเห็นได้ว่าบีโอไอให้ความสำคัญกับการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความนิยมของผู้บริโภคที่มุ่งสู่การใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด
อุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อน ECOSYSTEM ของยานพาหนะไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
นักวิเคราะห์จากธนาคารมองว่า “อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านไปสู่ฐานการผลิตยาน-ยนต์ไฟฟ้าของไทยอาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ไม่เพียงแต่จะต้องเตรียมความพร้อมในแง่ของการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและประกอบตัวรถ ควบคู่ไปกับการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งการ NEW SKILL UP-SKILL และ RE-SKILL ที่เข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้วเท่านั้น แต่ต้องเร่งพัฒนาชิ้นส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง “แบทเตอรี” ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้เดินหน้าได้อย่างเต็มที่”
“ทั้งนี้ แม้เราจะเห็นผู้ประกอบการในประเทศประกาศตั้งโรงงานผลิตแบทเตอรีลิเธียม กระจายในพื้นที่ EEC บ้างแล้ว ทั้งจาก บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในเครือ ปตท. บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) รวมถึงการร่วมมือระหว่างสวนอุตสาหกรรมโรจนะ และบริษัท EVLOMO จากสหรัฐฯ”
“แต่ดูเหมือนว่าไทยจะยังขาดทรัพยากรต้นน้ำที่เป็นหัวใจหลักของแบทเตอรียานยนต์ไฟฟ้าอย่าง “แร่ลิเธียม” และ “แร่นิคเคิล” ที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนใน EEC สะท้อนจากสถิติการลงทุนจากต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา”
“ส่วนใหญ่อยู่ในกิจการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะสูงถึง 1.1 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (HYBRID ELECTRIC VEHICLE: HEV) 4.3 หมื่นล้านบาท และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ 3.4 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ”
ก็ได้แต่คาดหวังว่า นักอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ เพื่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้ในอนาคต
มือบ๊วย ก็คาดหวังเช่นเดียวกัน
เรื่องโดย : มือบ๊วย
นิตยสาร Formula ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2564
คอลัมน์ Online : มาตรวัดตลาดรถ
ลิงค์สำหรับแชร์ : https://www.autoinfo.co.th/article/391473