ตลาดโดยรวม | -37.3 % |
รถยนต์นั่ง | -42.0 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | -32.3 % |
กระบะ 1 ตัน | -35.6 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ และรถประเภทอื่นๆ | -20.7 % |
TOTAL VEHICLE/ตลาดโดยรวม | -32.6% |
SUV/รถกิจกรรมกลางแจ้ง | -34.1% |
กระบะ 1 ตัน | -26.7% |
รถเพื่อการพาณิชย์ และรถประเภทอื่นๆ | -11.6% |
ตลาดรถยนต์บ้านเราโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 นี้โดนคลื่นไวรัส COVID-19 เล่นงานซะอ่วมอรทัย 195,166 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในบ้านเราที่หดหาย 37.3 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562เดือนมิถุนายนเดือนสุดท้ายของการค้าการขายในช่วง 6 เดือนแรกของปี ตัวเลขยอดจำหน่ายรวม 58,013 คัน ลดลง 32.6 % เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนปี 2562 โดยมีแค่ ISUZU (อีซูซุ) ที่่ตัวเลขยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยทำได้ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 และตัวเลขนี้ทำให้ ISUZU ขยับขึ้นไปเป็นรถยนต์ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดประจำเดือนมิถุนายน โดยจำหน่ายได้ 16,661 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้น 26.1 % ได้ส่วนแบ่งการตลาดไป 28.7 % ขณะที่รถยนต์ที่จำหน่ายมากสุดอันดับที่ 2 ถึง 5 มียอดจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงทั้งสิ้น โดยอันดับ 2 TOYOTA (โตโยตา) จำหน่ายได้ 13,345 คัน ลดลง 53.8 % ส่วนแบ่งการตลาดที่ 23.0 % อันดับ 3 HONDA (ฮอนดา) จำหน่ายได้ 5,822 คัน ลดลง 52.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 10.0 % อันดับ 4 MITSUBISHI (มิตซูบิชิ) จำหน่ายได้ 4,002 คัน ลดลง 45.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.9 % และอันดับ 5 NISSAN (นิสสัน) จำหน่ายได้ 3,523 คัน ลดลง 35.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.1 % สำหรับรถพิคอัพ 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2563 มียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 29,576 คัน เทียบกับเดือนมิถุนายน ปี 2562 ลดลง 26.7 % ผู้นำในเดือนมิถุนายน ยังคงเป็น ISUZU เช่นเดิม โดยจำหน่ายได้ 15,368 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา 29.7 % ถือครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 52.0 % เดือนมิถุนายนนี้ TOYOTA ทำยอดจำหน่ายอยู่ในอันดับ 2 จำหน่ายได้ 7,375 คัน ลดลง 57.2 % ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 24.9 % อันดับ 3 เป็นของ MITSUBISHI จำหน่ายได้ 2,562 คัน ลดลง 34.1 % ส่วนแบ่งการตลาดได้ไป 8.7 % อันดับ 4 FORD (ฟอร์ด) จากยอดจำหน่าย 1,726 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่ลดลง 50.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.8 % และอันดับ 5 NISSAN จำหน่ายได้ 1,559 คัน ลดลง 21.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.3 %