ตลาดโดยรวม | - 21.4 % |
รถยนต์นั่ง | - 19.6 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 23.0 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | - 8.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | - 24.2 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 15.1 % |
อื่นๆ | - 17.4 % |
ตลาดโดยรวม | - 3.3 % |
รถยนต์นั่ง | - 3.5 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 10.9 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 51.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | - 3.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 11.1 % |
อื่นๆ | + 0.2 % |
ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในประเทศรวมของปี 2562 ยังเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ทะลุหลักล้านคันขึ้นไปเหมือนกัน ส่วนปี 2563 โตโยตา คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 940,000 คัน ลดลงจากปี 2562 ประมาณ 7 % อย่างไรก็ตาม ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ของปี 2562 ยังเป็นยอดจำหน่ายที่เกินกว่า 1,000,000 คัน เป็นปีที่ 4 ในประวัติศาสตร์ยานยนต์ไทย โดยก่อนหน้านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2555, 2556 และ 2561สำหรับตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ป้ายแดงของปี 2562 รวมแล้วมีทั้งสิ้น 1,007,552 คัน ลดลง 3.3 % เมื่อเทียบกับตัวเลขยอดจำหน่ายของปี 2561 โดยแชมพ์รถยนต์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดยังคงเป็น โตโยตา เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 จำหน่ายได้รวม 331,878 คัน เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 5.5 % ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 32.9 % ยอดจำหน่ายสูงสุดอันดับที่ 2 เป็นของ อีซูซุ จำหน่ายได้รวม 168,215 คัน ลดลง 5.4 % ได้ส่วนแบ่งการตลาดที่ 16.7 % อันดับ 3 ฮอนดา จำหน่ายได้รวม 125,833 คัน ลดลง 1.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.5 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ ที่มียอดจำหน่ายปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยจำหน่ายได้ 88,244 คัน เพิ่มขึ้น 4.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.8 % และอันดับ 5 นิสสัน จำหน่ายได้รวม 64,414 คัน ลดลง 11.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.4 % เฉพาะเดือนธันวาคม ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ป้ายแดงรวมทั้งหมดอยู่ที่ 89,285 คัน ลดลง 21.4 % เมื่อเทียบกับธันวาคม 2561 จำหน่ายได้มากสุดเป็น โตโยตา 29,447 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 33.0 % ตามด้วย อีซูซุ 15,767 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 17.7 % ฮอนดา 9,537 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 10.7 % มิตซูบิชิ 7,351 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.2 % และนิสสัน 4,842 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 5.4 % ในส่วนของรถพิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มก้อนของรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ปี 2562 มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 399,259 คัน ลดลง 3.1 % เมื่อเทียบกับตัวเลขยอดจำหน่ายปี 2561 แชมพ์ยอดจำหน่ายสูงสุดของรถยนต์ประเภทนี้กลับมาเป็นของ โตโยตา อีกครั้งหนึ่ง ด้วยยอดจำหน่ายรวม 146,743 คัน เพิ่มขึ้น 13.1 % ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 36.8 % อันดับ 2 เป็นของแชมพ์เมื่อปีที่แล้ว อีซูซุ จำหน่ายไปได้รวม 137,059 คัน ลดลง 3.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 34.3 % อันดับ 3 ฟอร์ด 38,664 คัน ลดลง 20.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 9.7 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ 31,876 คัน ลดลง 12.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.0 % และอันดับ 5 นิสสัน ยอดจำหน่าย 24,604 คัน เพิ่มขึ้น 1.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.2 % เฉพาะเดือนธันวาคม 2562 พิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ จำหน่ายรวมกันได้ 36,294 คัน ส่วนแบ่งการตลาดมากสุดเป็น โตโยตา จำหน่ายได้ 13,304 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 36.7 % ตามด้วย อีซูซุ 13,018 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 35.9 % ต่อด้วย ฟอร์ด 3,421 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 9.4 % มิตซูบิชิ 2,949 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.1 % และนิสสัน 1,960 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 5.4 % พิคอัพขับเคลื่อน 4 ล้อ มียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 34,865 คัน ลดลง 11.1 % และยังเป็น โตโยตา ที่ครองความเป็นเจ้าตลาดแบบผูกขาดเช่นเดิม โดยปีนี้ทำยอดจำหน่ายได้รวม 18,709 คัน ลดลง 11.6 % เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายปี 2561 ได้ส่วนแบ่งการตลาดไป 53.7 % อันดับ 2 อีซูซุ จำหน่ายไปได้รวม 6,634 คัน ลดลง 4.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 19.0 % อันดับ 3 ฟอร์ด 4,822 คัน ลดลง 27.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.8 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ 3,931 คัน เพิ่มขึ้น 16.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 11.3 % และอันดับ 5 นิสสัน 432 คัน ลดลง 45.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.2 %