วิถีตลาดรถยนต์
เอาแล้วไง
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน ’62 กับ ’61
ตลาดโดยรวม | - 16.2 % |
รถยนต์นั่ง | - 16.6 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 24.6 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 6.4 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | - 15.5 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 13.9 % |
อื่นๆ | - 13.1 % |
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-พฤศจิกาย ’62 กับ ’61
ตลาดโดยรวม | - 1.1 % |
รถยนต์นั่ง | - 1.7 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 9.4 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 65.8 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | - 0.3 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 10.7 % |
อื่นๆ | + 0.5 % |
เหลืออีกเพียงเดือนเดียว การค้าการขายรถยนต์ใหม่ป้ายแดงในประเทศก็จะสิ้นสุดฤดูกาลจำหน่ายปี 2562 แล้ว ซึ่งสถานการณ์ ณ เวลาสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายนยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าปี 2562 ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ป้ายแดงทั้งปีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ว่ากันว่าเอาไว้ แต่ยังดีที่ในเดือนธันวาคมยังมีงาน MOTOR EXPO 2019 งานใหญ่ส่งท้ายปี จึงยังพอจะเชื่อได้ว่าตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ประจำปี 2562 จะพลิกกลับมาอยู่ในแดนบวก เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ตรงกับเป้าหมายที่ว่ากันไว้ หรือจะเกินกว่านั้นก็ไม่ว่ากันสำหรับเดือนพฤศจิกายน 2562 ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภท เป็นตัวเลขที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ของเดือนนี้เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ของปี 2561 เป็นตัวเลขที่ปรับตัวลดลง 16.2 % จำหน่ายรวมกันได้ทั้งสิ้น 79,299 คัน โดย โตโยตา จำหน่ายได้มากสุด 27,139 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 34.2 % รองลงมาเป็น อีซูซุ จำหน่ายได้ 14,629 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 18.4 % ฮอนดา 8,892 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 11.2 % มิตซูบิชิ 6,390 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.1 % และนิสสัน 5,011 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 6.3 % นี่เป็นตัวเลขยอดจำหน่าย และส่วนแบ่งการตลาดของรถยนต์ที่จำหน่ายได้มากสุด 5 อันดับแรกของเดือนพฤศจิกายน 2562 เมื่อรวม 11 เดือน ปี 2562 แล้วตัวเลขยอดจำหน่ายที่เกิดขึ้นเป็นตัวเลขที่ปรับตัวลดลงจาก 11 เดือนของปี 2561 โดยติดลบอยู่ 1.1 % ด้วยยอด 918,267 คัน รถยนต์ที่ตัวเลขยอดจำหน่ายรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย โตโยตา 302,431 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 32.9 % เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.7 % อีซูซุ 152,448 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 16.6 % ลดลง 2.2 % ฮอนดา 116,296 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 12.7 % เพิ่มขึ้น 1.1 % มิตซูบิชิ 80,893 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.8 % เพิ่มขึ้น 7.5 % และนิสสัน 59,572 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 6.5 % ลดลง 7.1 % เมื่อแยกตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ออกมาเป็นส่วนของพิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ ปรากฏว่าเดือนพฤศจิกายนนี้จำหน่ายรวมกันได้เพียง 33,328 คัน เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2561 แล้ว ปรับตัวลดลงไป 15.5 % ซึ่งอาจจะเป็นเพราะยักษ์ใหญ่ค่ายหนึ่งกำลังจะปรับเปลี่ยนโมเดลใหม่ ทำให้เกิดการชะลอตัวรอดูตัวจริงให้ชัดเจนเสียก่อน จึงค่อยตัดสินใจก็เป็นได้ สำหรับเดือนพฤศจิกายนนี้ โตโยตา มียอดจำหน่ายสูงสุด 12,600 คัน มีส่วนแบ่งการตลาด 37.8 % ตามด้วย อีซูซุ 11,775 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 35.3 % ฟอร์ด 2,860 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.6 % มิตซูบิชิ 2,323 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.0 % และนิสสัน 2,079 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 6.2 % รวม 11 เดือนของปี 2652 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ตัวเลขยอดจำหน่ายปรับตัวลดลงเล็กน้อย 0.3 % โดยยอดรวมทั้งตลาดอยู่ที่ 362,965 คัน โตโยตา อยู่หัวแถวด้วยยอดจำหน่ายรวม 133,439 คัน กินส่วนแบ่งการตลาดอยู่ 36.8 % เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 16.3 % อันดับ 2 อีซูซุ 124,041 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 34.2 % ลดลงเล็กน้อย 0.5 % อันดับ 3 ฟอร์ด 35,243 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 9.7 % ลดลง 20.8 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ 28,927 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.0 % ลดลง 11.2 % และอันดับ 5 นิสสัน 22,644 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 6.2 % เพิ่มขึ้น 5.2 %

ABOUT THE AUTHOR
ข
ขุนสัญจร
นิตยสาร 417 ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2563
คอลัมน์ Online : วิถีตลาดรถยนต์