ตลาดโดยรวม | +0.7 % |
รถยนต์นั่ง | -0.2 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | -7.8 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | +75.7 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | +1.5 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | -10.3 % |
อื่นๆ | +2.1 % |
จั่วหัวไว้ ว่าด้วยเรื่องของโบนัส หรือเงินตอบแทนพิเศษ ประจำปี ส่วนใหญ่จ่ายผลตอบแทนพิเศษนี้ กันอย่างเอิกเกริกอาทิ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยฯ โบนัส 7.5 เดือน, อีซูซุ มอเตอร์ โบนัส 7.9 เดือน, ฮอนดา โบนัส 7.5 เดือน สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คาดการณ์อัตราการจ่ายโบนัสเฉลี่ยของทุกกลุ่มธุรกิจอยู่ที่ 4.01 เดือน โดยปี 2562 โบนัสกลุ่มธุรกิจยานยนต์สูงสุด 6.04 เดือน ตามมาด้วยกลุ่มทรัพยากร 5.06 เดือน กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 4.11 เดือน และกลุ่มอสังหาฯ โบนัสเฉลี่ย 3.76 เดือน ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ได้โบนัสรวมสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เฉลี่ย 7 เดือน แม้แนวโน้มปี 2562 จะลดลงเหลือประมาณ 6 เดือน นั่นก็แสดงว่า อุตสาหกรรมรถยนต์บ้านเรา ไม่ได้เลวร้ายจนเกินไปนัก ยอดการขายก็เรื่อยๆ มาเรียงๆ คาดกันว่า สิ้นปีนี้ ก็แตะ 1 ล้านคัน แน่นอนอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของปีหน้า ก็ต้องมาว่ากันอีกครั้ง หันมาดูเรื่องรอบตัวกันบ้าง ว่ากันตั้งแต่ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) อยู่ที่ระดับ 41.9 ในเดือนตุลาคม 2562 ปรับตัวแย่ลงจากระดับ 42.3 ในเดือนกันยายน 2562 โดยที่ครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้นต่อประเด็นเรื่องภาระค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้สิน) ระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศ เงินออม รวมถึงรายได้และการมีงานทำ ขณะที่ สถานการณ์การจ้างงานในองค์กรของตนมีการส่งสัญญาณการเลิกจ้าง สอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ในเดือนตุลาคม 2562 จำนวนผู้ว่างงานจากสาเหตุนายจ้างเลิก/หยุด/ปิดกิจการอยู่ที่ 26,100 คน เพิ่มขึ้น 5,000 คน จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 17,600 คน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ อีก 17.4 % ของครัวเรือนที่ทำการสำรวจในเดือนตุลาคม 2562 ถูกลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT) เพื่อประหยัดต้นทุนทางด้านแรงงานและควบคุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในสถานประกอบการ/บริษัท ที่ดูมันจะสวนทางกับผลตอบแทนพิเศษ ที่บรรดาค่ายรถยนต์จ่ายเป็นโบนัสสิ้นปีเหลือเกิน
บทความแนะนำ