วิถีตลาดรถยนต์
ไตรมาส 3..ปิดไม่สวย
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ ประจำเดือนกันยายน ’62 กับ ’61
ตลาดโดยรวม | - 14.4 % |
รถยนต์นั่ง | - 4.7 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 23.8 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 22.4 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | - 21.3 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 25.0 % |
อื่นๆ | - 11.8 % |
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ ประจำเดือนมกราคม-กันยายน ’62 กับ ’61
ตลาดโดยรวม | + 2.0 % |
รถยนต์นั่ง | + 1.0 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 6.7 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 81.2 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | + 3.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 8.1 % |
อื่นๆ | + 3.7 % |
หลังจากเดือนกันยายนนี้ไปแล้วก็เหลือเวลาอีกเพียง 3 เดือน ที่จะต้องปิดบัญชียอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ป้ายแดงที่มีการซื้อขายกันอย่างเป็นทางการ สำหรับฤดูกาลซื้อขายปี 2562 กันแล้ว อย่างไรก็ตาม 3 เดือนที่เหลืออยู่ถือว่าเป็นช่วงไฮซีซันสำหรับโลกธุรกิจเลย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเรื่องของรถยนต์ใหม่ป้ายแดง แต่หมายรวมถึงทุกๆ ธุรกิจเลยก็ว่าได้ ถือได้ว่า 3 เดือนต่อจากนี้เป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงสุดในรอบปี ดังนั้น การแข่งขันทางด้านการตลาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จึงมีความร้อนเร่ารุนแรงเป็นพิเศษ อยู่ที่ว่าพโรโมชันใครเด็ด ใครโดน ก็รับทรัพย์ รับออร์เดอร์กันไป เช่นเดียวกับโลกยานยนต์ ยักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กล้วนแล้วแต่มีทีเด็ดซุ่มเตรียมไว้กระชากตัวเลขยอดจำหน่ายกันในช่วงโค้งสุดท้ายของปีกันเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะระหว่างช่วงเวลาของการจัดงานส่งเสริมการขาย งาน MOTOR EXPO 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน-10 ธันวาคม 2562 ที่อิมแพคท์ เมืองทองธานี ค่ายยักษ์ใหญ่หลายค่ายจัดเต็มจัดหนัก ทั้งพโรโมชัน ทั้งเปิดตัวรถยนต์โมเดลใหม่ ที่รวมๆกันแล้วยอดจำหน่ายรวมรถใหม่ป้ายแดงปี 2562 ไม่หลุดไปจากตัวเลขที่ประมาณการไว้ ถึงแม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 จะออกอาการซวนเซไปบ้างก็ตามสำหรับเดือนกันยายน เดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 3 ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ป้ายแดงปรับตัวลดลงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนำไปเทียบกับเดือนกันยายนปี 2561 สาเหตุทั้งด้านเศรษฐกิจภายนอก/ภายใน, เรื่องกระแสข่าวของรถยนต์โมเดลใหม่ๆ ที่จะเปิดตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ที่ต้องมาพร้อมกับพโรโมชันสุดฮอทของรถยนต์โมเดลที่มีจำหน่ายอยู่แล้ว รวมไปถึงรถยนต์เวอร์ชันพิเศษต่างๆ ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนกันยายน 2562 ติดลบไปจากเดือนกันยายนปีก่อนถึง 14.1 % โดยมียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 76,195 คัน ที่จำหน่ายได้มากที่สุด 5 มหานิยม ประกอบด้วย โตโยตา 24,595 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 32.3 % อีซูซุ 10,660 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 14.0 % ฮอนดา 10,363 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 13.6 % มิตซูบิชิ 7,583 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 10.0 % และนิสสัน 5,105 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 6.7 % รวม 9 เดือน เพิ่มจากปี 2561 อยู่ที่ 2.0 % ด้วยยอดรวมกันทั้งสิ้น 761,847 คัน และเช่นเดียวกัน 5 มหานิยม ประกอบด้วย โตโยตา 248,673 คัน เพิ่มขึ้น 11.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 32.6 % อีซูซุ 125,959 คัน เพิ่มขึ้น 0.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 16.5 % ฮอนดา 97,695 คัน เพิ่มขึ้น 5.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.8 % มิตซูบิชิ 67,445 คัน เพิ่มขึ้น 10.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.9 % และนิสสัน 49,706 คัน ลดลง 2.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.5 % รถพิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ เดือนกันยายน 2562 ตัวเลขยอดจำหน่ายลดลงจากเดือนกันยายน 2561 ถึง 21.3 % สาเหตุหนึ่งอาจมาจากกระแสรถใหม่ระดับพลิกโฉมเปลี่ยนโลกของบิกเนมรายหนึ่ง ก็ต้องดูกันต่อไปว่าเมื่อถึงเวลารูดม่านแกะกล่องจริงๆ แล้วจะเป็นอย่างที่คาดหวังหรือไม่ เดือนกันยายนจำหน่ายได้รวมกันทั้งสิ้น 27,356 คัน บิกไฟว์ ประกอบด้วย โตโยตา 10,336 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 37.8 % อีซูซุ 8,364 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 30.6 % ฟอร์ด 2,687 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 9.8 % มิตซูบิชิ 2,380 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 8.7 % และ นิสสัน 2,046 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.5 % รวม 3 ไตรมาส ตลาดนี้มีการจำหน่ายไปแล้ว 298,980 คัน เพิ่มขึ้น 3.1 % 5 อันดับแรกยอดจำหน่ายสูงสุด ประกอบด้วย โตโยตา 108,577 คัน เพิ่มขึ้น 23.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 36.3 % อีซูซุ 102,890 คัน เพิ่มขึ้น 2.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 34.4 % ฟอร์ด 29,583 คัน ลดลง 19.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 9.9 % มิตซูบิชิ 24,00 2 คัน ลดลง 11.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.0 % และนิสสัน 18,515 คัน เพิ่มขึ้น 10.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.2 % พิคอัพขับเคลื่อน 4 ล้อ เดือนกันยายน 2562 จำหน่ายได้ 2,501 คัน เทียบกับกันยายน 2561 ติดลบไป 25.0 % อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้ โตโยตา เค้าจองแชมพ์อยู่แล้ว เดือนกันยายนนี้ได้ยอดจำหน่ายไปอีก 1,330 คัน เท่ากับ 53.2 % ของตลาดรวมทั้งหมด ตามด้วย ฟอร์ด 402 คัน เท่ากับ 16.1 % มิตซูบิชิ 329 คัน เท่ากับ 13.2 % อีซูซุ 323 คัน เท่ากับ 12.9 % และน้องใหม่ เอมจี 65 คัน เท่ากับ 2.6 % รวม 9 เดือน จำหน่ายไปแล้ว 25,655 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.1 % แชมพ์ตลาดนี้ โตโยตา ปิดไตรมาส 3 ยอดจำหน่ายอยู่ที่ 14,233 คัน ลดลง 5.7 % ส่วนแบ่งตลาด 55.5 % อีซูซุ 4,183 คัน ลดลง 18.4 % ส่วนแบ่งตลาด 16.3 % ฟอร์ด 3,740 คัน ลดลง 18.1 % ส่วนแบ่งตลาด 14.6 % มิตซูบิชิ 2,912 คัน เพิ่มขึ้น 29.7 % และ นิสสัน 368 คัน ลดลง 39.6 % ส่วนแบ่งตลาด 1.4 %

ABOUT THE AUTHOR
ข
ขุนสัญจร
นิตยสาร 417 ฉบับเดือน มกราคม ปี 2563
คอลัมน์ Online : วิถีตลาดรถยนต์