ตลาดโดยรวม | - 2.1 % |
รถยนต์นั่ง | - 7.2 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | - 0.1 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 62.4 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | - 0.7 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 9.5 % |
อื่นๆ | + 10.7 % |
ตลาดโดยรวม | + 7.1 % |
รถยนต์นั่ง | + 4.3 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | + 0.7 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | + 96.8 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | + 9.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | - 0.5 % |
อื่นๆ | + 5.7 % |
เป้าหมายที่คาดกันว่าจะเป็นไปได้สำหรับปี 2562 นี้ คือ ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคัน ซึ่งเมื่อวันเวลาเดินทางมาจนถึงเดือนมิถุนายนเดือนที่ 6 ของปี ปรากฏว่า รถยนต์ใหม่ป้ายแดงจำหน่ายรวมกันแล้ว 523,770 คัน เพิ่มขึ้น 7.1 % เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2561 รถยนต์ 5 อันดับแรกยอดจำหน่ายสูงสุดประกอบด้วย โตโยตา 171,274 คัน เป็นยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 20.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 32.7 % อีซูซุ ยอดจำหน่าย 89,177 คัน เพิ่มขึ้น 3.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 17.0 % ฮอนดา 64,699 คัน เพิ่มขึ้น 8.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.4 % มิตซูบิชิ 45,343 คัน เพิ่มขึ้น 10.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.7 % และนิสสัน 34,577 คัน เพิ่มขึ้น 3.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 6.6 %สำหรับตลาดรถพิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ คาดว่าในครึ่งปีหลังจะมีการแข่งขันเพื่อความเป็นหนึ่งกันอย่างเข้มข้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาเพราะ โตโยตา แรงขึ้นมาจนทำให้ขยับแซง อีซูซุ ขึ้นไปยึดความเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดนี้ได้สำเร็จในเดือนสุดท้ายของครึ่งปีแรกนี่เอง ต้องลุ้นกันต่อไปว่า อีซูซุ จะพลิกสถานการณ์กลับมาแซงนำได้อีกครั้งหรือไม่ ในช่วงเวลาที่เหลืออีก 6 เดือนนี้ โดยตลาดพิคอัพประเภทนี้เดือนมิถุนายน 2562 มียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 32,746 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง 0.7 % เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2561 โตโยตา ขยับขึ้นมาเป็นจ่าฝูงด้วยยอดจำหน่าย 13,177 คัน รับส่วนแบ่งการตลาดไป 40.2 % อีซูซุ หล่นลงมาอยู่ในอันดับที่ 2 ทำยอดจำหน่ายได้ 10,684 คัน ได้ส่วนแบ่งการตลาด 32.6 % อันดับ 3 เป็นของ ฟอร์ด จากยอดจำหน่าย 2,834 คัน ส่วนแบ่งการตลาดได้ไป 8.7 % อันดับที่ 4 มิตซูบิชิ จำหน่ายได้ 2,441 คัน มีส่วนแบ่งการตลาด 7.5 % และนิสสัน อยู่ในอันดับที่ 5 ยอดจำหน่าย 1,885 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 5.8 % ทั้งนี้ 6 เดือนแรกของปี 2562 ผ่านไป ตลาดรถพิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ มียอดจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 208,710 คัน เพิ่มขึ้น 9.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 แชมพ์ครึ่งปีแรกตกเป็นของ โตโยตา ด้วยยอดจำหน่าย 74,736 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 38.8 % ได้ส่วนแบ่งการตลาดที่ 35.8 % อันดับ 2 อีซูซุ ยอดจำหน่าย 73,450 คัน เพิ่มขึ้น 5.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 35.2 % อันดับ 3 ฟอร์ด ยอดจำหน่าย 20,811 คัน ลดลง 17.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 10.0 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ ยอดจำหน่าย 16,166 คัน ลดลง 13.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 7.7 % และอันดับ 5 นิสสัน ยอดจำหน่าย 12,307 คัน เพิ่มขึ้น 20.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 5.9 % ในส่วนของพิคอัพขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นเป็นตลาดเดียวที่ผ่านครึ่งปีแรกมียอดจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง โดยจำหน่ายรวมกันทั้งสิ้น 18,053 คัน ลดลง 0.5 % โดยแชมพ์ครึ่งปีแรกเป็น โตโยตา เช่นเคยจำหน่ายได้ 10,070 คัน เพิ่มขึ้น 0.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 55.8 % อันดับ 2 เป็นของ อีซูซุ จำหน่ายได้ 2,988 คัน ลดลง 16.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 16.6 % อันดับ 3 ฟอร์ด ยอดจำหน่าย 2,574 คัน เพิ่มขึ้น 13.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 14.3 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ ยอดจำหน่าย 2,053 คัน เพิ่มขึ้น 26.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 11.4 % อันดับ 5 นิสสัน ยอดจำหน่าย 283 คันลดลง 33.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 1.6 % สำหรับเดือนมิถุนายน 2562 ตลาดพิคอัพขับเคลื่อน 4 ล้อ มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 2,743 คัน ลดลง 9.5 % จำหน่ายได้มากสุดเป็น โตโยตา 1,666 คัน ส่วนแบ่งการตลาดได้ไป 60.7 % ตามด้วย อีซูซุ 434 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 15.8 % มิตซูบิชิ 296 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 10.8 % อันดับ 4 ฟอร์ด 281 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 10.2 % และอันดับ 5 นิสสัน 47 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 1.7 %