ตลาดโดยรวม | +27.7 % |
รถยนต์นั่ง | +26.6 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | +58.1 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | +26.1 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | +19.8 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | +35.3 % |
อื่นๆ | +20.4 % |
ตลาดโดยรวม | +21.1 % |
รถยนต์นั่ง | +20.8 % |
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) | +37.8 % |
รถอเนกประสงค์ (MPV) | -13.9 % |
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ | +21.2 % |
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ | +15.3 % |
อื่นๆ | +4.1 % |
แม้ว่ายอดการขายรถยนต์บ้านเรา ในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา จะเติบโตขึ้นถึง 21.1 % ขายกันได้ 657,875 คัน ส่วนเดือนสิงหาคม เดือนเดียวขายเพิ่ม 27.7 % จำนวน 86,814 คัน ก็ตามทียังมีคำถามตามมาภายหลัง ว่ายอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นนี้ มันแสดงว่าสภาพเศรษฐกิจของบ้านเรา สดใสดีอยู่หรือ หรือเป็นเพียงตัวเลขลวงตา ตลาดรถยนต์จะเติบโตได้จริงหรือ ปีนี้จะขายกันได้เก้าแสนคันจริงหรือ จะผลิตกันได้สองล้านคัน จริงหรือ นั่นเป็นคำถามของคนที่มองโลกในแง่ดี แต่ที่นี่ ไม่ได้มองโลกในแง่ดี เรามองจากตัวเลขทางเศรษฐกิจจริง มองจากตัวเลขการส่งออก มองจากราคาน้ำมัน และสภาพการตลาดของประเทศต่างๆ ที่เราค้าขายด้วย มาพิสูจน์ความจริงกัน เริ่มด้วยการส่งออกสินค้า มีมูลค่าอยู่ที่ 22,794 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นมูลค่าส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงจากช่วงก่อนหน้ามาอยู่ที่ 6.7 % ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่สูงมากในปีก่อน ประกอบกับการส่งออกทองคำหดตัวมากถึง 66.6 % ซึ่งเมื่อหักมูลค่าส่งออกทองคำแล้ว การส่งออกสินค้าของไทยจะขยายตัว 10.3 % ในเดือนสิงหาคม 2561 ส่วนปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้การส่งออกสินค้าไทยขยายตัวดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 มาจาก 1. ราคาน้ำมันดิบโลกที่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วยหนุนให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง 2. การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบไปยังตลาดเวียดนาม พลิกกลับมาขยายตัวสูงถึง 204.4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ (DECREE 116/2017) ที่เข้มงวดมากขึ้นต่อการนำเข้ารถยนต์ของทางการเวียดนาม อีกทั้งมีการผ่อนคลายกฎระเบียบการนำเข้ารถยนต์บางส่วนระหว่างเวียดนามกับไทย ซึ่งช่วยหนุนให้ภาพรวมการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบไปยังตลาดโลกเติบโตดีที่ 19.0 % 3. การส่งออกสินค้าเกษตรพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวก เป็นผลมาจากการส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ขยายตัวดี ตามปริมาณการส่งออกที่ติดลบน้อยลง โดยการส่งออกข้าวขยายตัว 9.1 % ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์มาจากการชนะประมูลขายข้าวขาว 25 % ของเอกชนไทยให้กับรัฐบาลฟิลิปปินส์จำนวน 2.125 แสนตัน เข้ามาชดเชยการหดตัวของการส่งออกข้าวไปยังตลาดแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นเบนิน แอฟริกาใต้ แคมมารูน รวมถึงเคนยา ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังขยายตัว 19.4 % จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของจีน อินโดนีเซีย และญี่ปุ่นเป็นสำคัญ
บทความแนะนำ