สกอทท์ ดัทฟีลด์ จาก HOW IT WORKS เดินทางไป นิวเควย์ เพื่อเป็นสักขีพยานในการทดสอบรถยนต์พลังเจทคันนี้ !กลุ่มผู้ชมประมาณ 3,500 คน รวมตัวกันที่สนามบิน คอร์นวอลล์ นิวเควย์ (CORNWALL NEWQUAY) เพื่อเป็นสักขีพยานในการทดสอบครั้งแรกของรถที่กำลังจะทำลายสถิติความเร็วสูงสุดที่โลกเคยมีมา บลัดฮาวน์ด เอสเอสซี ดูคล้ายกับเครื่องบินขับไล่ มากกว่ารถยนต์ โดยได้เครื่องยนต์ อีเจ 200 มาจาก ยูโรเจท ที่มีแรงขับเคลื่อน 90,000 นิวตันธรัสต์ พื้นสนามบินสั่นสะเทือนเนื่องจากพลังมหาศาลของ บลัดฮาวน์ด ที่ต้องวิ่งเป็นระยะทาง 2.7 กม. บนรันเวย์เพื่อทำความเร็ว 322 กม./ชม. ตามเป้าหมาย แต่สุดท้ายแล้วมันเร่งได้ถึง 338 กม./ชม. ในเวลาเพียง 8 วินาที ! เป็นประสบการณ์การทดสอบที่คุ้นเคยสำหรับ แอนดี กรีน ซึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้วเคยนั่งอยู่ในห้องคนขับของรถยนต์ที่ได้รับการบันทึกว่ามีความเร็วสูงสุดจนถึงปัจจุบัน (เธอะ ธรัสต์ เอสเอสซี) พวกเขาร่วมกันทำลายอุปสรรคทางด้านเสียง และประสบความสำเร็จในการสร้างสถิติความเร็วอย่างเป็นทางการถึง 1,227.985 กม./ชม. ด้วยความสำเร็จจากการทดสอบ บลัดฮาวน์ด โดยตั้งใจจะทำความเร็วสูงสุดให้ถึง 1,609 กม./ชม. การทำลายสถิติจะจัดขึ้นที่ แฮคสกีน แพน ในแอฟริกาใต้ ปี 2018 เครื่องยนต์เครื่องบิน ยูโรเจท อีเจ 200 พลังขับเคลื่อนครึ่งหนึ่งของ บลัดฮาวน์ด ถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องยนต์ อีเจ 200 แบบเดียวกับเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น แม้จะมีการปรับปรุง เพื่อให้เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ มากกว่าใช้กับเครื่องบิน แต่ระบบการทำงานยังคงเหมือนเดิม อากาศจะถูกดูดเข้าไปบีบอัดในเครื่องยนต์ จากนั้นเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไป จนเกิดการเผาไหม้ และแผ่ขยายพลังความร้อนออกไป การแผ่ขยายนี้จะบังคับให้เกิดการปล่อยไอเสีย ทำให้เกิดแรงผลักด้านหลังของ บลัดฮาวน์ด เป็นที่วางเครื่องยนต์ขนาด 1 ตัน ที่สามารถคลายแรงอัดออกมาได้ภายในเวลา 3 วินาทีเท่านั้น เพื่อทำให้ บลัดฮาวน์ด ทำความเร็วได้ถึง 1,609 กม./ชม. บลัดฮาวน์ด ต้องการเชื้อเพลิงเครื่องบินประมาณ 400 ลิตร และต้องการ รอคเกท ออกซิไดเซอร์ ถึง 800 ลิตร เพิ่มเติมในส่วนเครื่องยนต์เจท เครื่องยนต์ของจรวด แนมโม ก็มีส่วนร่วมในการผลิตแรงขับเคลื่อนให้กับ บลัดฮาวน์ด เช่นเดียวกัน ในขณะที่เครื่องยนต์ 8 สูบ ซูเพอร์ชาร์จ ของ แจกวาร์ จะให้พลังงานสำรองเพื่อขับเคลื่อนปั๊ม รอคเกท ออกซิไดเซอร์ กระทรวงกลาโหมของอังกฤษให้ยืมเครื่องยนต์ อีเจ 200 3 เครื่องเพื่อใช้ในโครงการ บลัดฮาวน์ด ทีมงานบางส่วนที่อยู่เบื้องหลังโครงการ บลัดฮาวน์ด นักบินแห่งกองทัพอากาศ แอนดี กรีน เป็นผู้ทดสอบขับรถคันนี้ และจะขับอีกครั้งในปี 2018 เพื่อทำสถิติ สกอทท์ ดัทฟีลด์ จับเข่าคุยกับ ริชาร์ด โนเบล ผู้อำนวยการโครงการ บลัดฮาวน์ด เอสเอสซี คุณรู้สึกอย่างไรกับโครงการนี้ ? มันเป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากสำหรับเรา ที่ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อโครงการนี้ อาจจะดูเหมือนเรื่องตลก เราไม่ได้มีความมั่นใจมากมาย แค่ต้องการสร้างรถยนต์ที่สามารถทำความเร็วได้ถึง 1,609 กม./ชม. ซึ่งตอนนี้ บลัดฮาวน์ด กำลังไปได้สวย และทำให้ผู้คนตระหนักถึงคุณค่าของมัน อะไรเป็นแรงบันดาลใจของโครงการ ? เมื่อชาวอเมริกันตัดสินใจว่าจะท้าทายสถิติความเร็วระดับซูเพอร์โซนิค แอนดี กรีน และผมตกลงจะรับคำท้า เราครุ่นคิดว่าพวกอเมริกันวางแผนจะทำความเร็วได้มากขนาดไหน อาจจะประมาณ 1,287 กม./ชม. ดังนั้นเราจะทำความเร็วให้ได้ 1,609 กม./ชม. ง่ายๆ แบบนั้นเลย เรามีความทะเยอทะยานอย่างมาก ทั้งที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องทำออกมาในรูปแบบไหน แต่ขณะนี้เราพร้อมแล้ว