รู้ลึกเรื่องรถ
มิติใหม่ของเกียร์สายพาน
หากกล่าวถึงเกียร์อัตโนมัติอัตราทดต่อเนื่อง หรือเกียร์ซีวีที (CVT: CONTINUOUSLY VARIABLE TRANSMISSION) เชื่อว่าผู้อ่านต่างก็เคยได้สัมผัสกับรถยนต์ที่ใช้เกียร์ในรูปแบบนี้กันแล้ว เนื่องจากออกมาให้เราได้สัมผัสกันมานานเกิน 10 ปี โดยรุ่นแรกที่ผู้เขียนได้สัมผัสเกียร์ซีวีที ติดตั้งอยู่ในรถยนต์ ฮอนดา ซิที รหัสตัวถัง จีดี 8 เมื่อ 15 ปีก่อน และเป็นความทรงจำที่ไม่ค่อยประทับใจ เนื่องจากการตอบสนองที่ให้ความรู้สึก “น่าเบื่อ”ความรู้สึก “น่าเบื่อ” ของเกียร์ซีวีที ในยุคเก่านั้น เกิดจากการที่เมื่อกดคันเร่งลงไป รอบเครื่องจะวิ่งขึ้นไปค้างรอบที่ให้แรงม้าสูงสุด ซึ่งส่งผลให้เครื่องยนต์ส่งเสียงครางโหยหวน แล้วอัตราทดของเกียร์จะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น การทำงานของมัน หากจะอธิบายก็ขอให้นึกถึง ระบบเกียร์ของรถจักรยาน เนื่องจากใช้แนวคิดเดียวกัน โดยเกียร์ของรถจักรยานนั้นมีส่วน “จานหน้า” (CHAINRING) รับกำลังจากขาของเราที่กดบันได (CRANK) เพื่อสร้างการหมุนแล้วส่งกำลังไปยัง “เกียร์” (CASSETTE/GEARS/COG SET) ที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของล้อหลังผ่านทางโซ่ (CHAIN)


- เกียร์ซีวีที ที่มีชื่อว่า “ไดเรคท์ ชิฟท์-ซีวีที” (DIRECT SHIFT-CVT) ที่พัฒนาโดย โตโยตา

- ชุดเกียร์ ไดเรคท์ ชิฟท์-ซีวีที ออกแบบมาสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน บลอคใหม่ ความจุ 2.0 ลิตร ในชื่อ ไดนามิค ฟอร์ศ (DYNAMIC FORCE) และ รุ่น 2.0 ไดเรคท์อินเจคชัน รวมถึงรุ่น 2.0 ไฮบริด
ABOUT THE AUTHOR
ภ
ภัทรกิติ์ โกมลกิติ
นิตยสาร 399 ฉบับเดือน มิถุนายน ปี 2561
คอลัมน์ Online : รู้ลึกเรื่องรถ