การแข่งขัน
DB DRAG RACING
ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ
การออกแบบตู้ลำโพง
สำหรับการแข่งขัน DB DRAG RACING
การคำนวณ
ความเร็วเสียง
สำหรับคอลัมน์ เทคนิค ในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบตู้ลำโพงที่ใช้ในการแข่งขัน SPL โดยจะขอพูดถึง ตู้เปิด เพราะมีความเหมาะสมกว่าตู้ประเภทอื่น สามารถตอบสนองช่วงกว้างของความถี่ได้ดีกว่า และตู้สำหรับการแข่งขัน SPL จะมีการออกแบบให้มีความถี่โดยเฉพาะมากขึ้น ส่วนสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ สูตรคำนวณความเร็วเสียง เพราะการออกแบบตู้ SPL จำเป็นต้องหาความถี่ที่ดีที่สุดให้กับรถคันนั้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ความถี่ที่ต้องการนั้นอยู่ที่เท่าไร
ก่อนอื่นต้องกล่าวถึง ภาคทฤษฎีของคลื่น ซึ่งคลื่นเสียงความถี่เดียวจะใช้รูปแบบ SINE โดยคลื่นรูป SINE นี้ สามารถวัดหรือใช้สมการด้วยสูตรง่ายๆ ซึ่งปกติจะวัดกันเป็นฟุต แต่เนื่องจากการทำงานในข้อจำกัดของรถ มันจะถูกแสดงเป็นหน่วยของนิ้ว นั่นหมายความว่า ต้องเริ่มต้นด้วยการแปลงความเร็วเสียง 1,130 ฟุต/วินาที ให้กลายเป็นนิ้ว โดยใช้สูตร 1,130×12 จะเท่ากับ 13,560 นิ้ว/วินาที
ส่วนเทคนิคการออกแบบตู้เริ่มต้นด้วยการออกแบบตู้ภายในรถที่ใช้กฎสำหรับการแข่งขัน DB DRAG RACING ในการแข่งขันรุ่น SUPER STREET และรุ่น EXTREME
เทคนิค
การออกแบบตู้
เมื่อดูจากภาพประกอบ ให้สังเกตแนว 4 เส้นที่ทำเครื่องหมาย A, B, C, D เป็นเส้นเฟสคลื่นเสียง โดยใช้วิธีวัดจากกรวยลำโพงไปยังจุดอ้างอิงที่แผงหน้าปัด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไมโครโฟนติดตั้งอยู่
ในระหว่างแข่งขัน โดยแนวเส้น A มีความยาวอยู่ที่ 50 นิ้ว สามารถคำนวณความถี่ด้วยสูตร 13,560 หาร 50 เท่ากับ 271.2 HZ แต่กฎที่ใช้แข่งขันจะต้องเป็น 80 HZ หรือต่ำกว่า ส่วนวิธีที่จะทำให้ความถี่จาก 271.2 HZ อยู่ที่ความถี่ 80 HZ ได้อย่างไรนั้น ก็ใช้วิธีกระจายคลื่นเสียงออกเป็น 4 ส่วน คือ 90, 180, 270, 360 องศา ในกรณีนี้จะใช้ 1/4 ของรูปแบบคลื่น 90 องศา ซึ่งจะได้จุดความถี่ต่ำกว่า 68 HZ (รูปเส้น B) ตอนนี้ก็รู้แล้วว่า ความถี่ 68 HZ เป็นความถี่ที่ให้ผลสูงสุด เมื่อต้องใช้คอมพิวเตอร์คำนวณปริมาตรตู้ และเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ ซึ่งพโรแกรมที่สามารถคำนวณได้ดี คือ LEAP ของ LINEAR X ซึ่งมีคุณภาพสูง เพราะสามารถพิจารณาการทำงานของลำโพงในระดับกำลังขับสูงสุดได้ หรือพโรแกรม TERMPRO และ BASSBOX สามารถใช้งานได้ดีเช่นเดียวกัน
การใช้พโรแกรม
ช่วยอ้างอิงในการทำงาน
ส่วนหนึ่งของการแสดงถึงคลื่นด้านหน้า และด้านหลังมีจุดแตกต่างกัน คือ จุดด้านหน้าลำโพงเริ่มต้นด้วย 0 องศา และด้านหลังเป็น 180 องศา และขอบเขตจุดอ้างอิงถึงแผงหน้าปัดที่ 90 องศา เพื่อให้คลื่นด้านหลังมีเฟสเดียวกันกับคลื่นด้านหน้า โดยทำให้เท่าด้วยสมการ 3A = B+C+D ถ้าหากใช้ซับวูเฟอร์หลายตัว ก็จะมีความยาวคลื่นที่เท่าๆ กัน นั่นก็หมายความว่า ซับแต่ละตัวมีระยะทางถึงไมโครโฟนเท่ากันหมด และคลื่นเสียงด้านหลังมีระยะทางเท่ากันด้วย การใช้พโรแกรม LINEAR X จะช่วยอ้างอิงได้ดีในการทำงาน ซึ่งมันมีประโยชน์มาก และเป็นการเพิ่มความมั่นใจ