พิเศษ
2 ผู้บริหารแลนด์โรเวอร์ในไทย
แลนด์โรเวอร์ เป็นรถยนต์สัญชาติอังกฤษที่เคยโลดแล่นอยู่ในเมืองไทย แต่ด้วยความไม่พร้อมในหลาย ๆ ด้าน รวมถึง
การเปลี่ยนแปลงของบริษัทแม่ ทำให้รถยี่ห้อนี้หายไปจากบ้านเราไปนานหลายปี จนกระทั่งปี 2544 แลนด์
โรเวอร์ภายใต้การดูแลของ ฟอร์ด จึงกลับมาสู่ตลาดไทยอีกครั้งหนึ่ง
"ฟอร์มูลา" สัมภาษณ์พิเศษคอลิน แอนดรูส์ กรรมการผู้จัดการ และ สุดาพร เอื้อมพรวนิช ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท
แลนด์โรเวอร์ ประเทศไทย จำกัด
คอลินด์ แอนดรูส์ กรรมการผู้จัดการ
ฟอร์มูลา : คุณมาเริ่มงานที่แลนด์โรเวอร์ ประเทศไทย อย่างไร ?
คอลิน : หลังจากจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็เริ่มทำงานกับแลนด์โรเวอร์ ในด้านนี้ เป็นเวลา
10 ปี จนกระทั่งในปี 2530 ได้มีส่วนร่วมในการเปิดตัวเรนโรเวอร์ ในอเมริกา ช่วงที่ทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการ
ได้มีส่วนร่วมในเรื่องการค้าขาย โดยการจัดตั้งทีมการตลาด การขาย เป็นกลุ่มย่อย ๆ นอกจากนี้ในปี 2533 ยังได้
เข้าไปเปลี่ยนแปลง บริษัท เรนโรเวอร์ นอร์ทอเมริกา เป็น แลนด์ โรเวอร์ นอร์ท อเมริกา ซึ่งช่วยให้การขายสินค้ากว้างขึ้น
และการสร้างสินค้านั้นบริษัทก็ไม่ได้มีงบประมาณมากนัก ดังนั้นจึงใช้ระบบประชาสัมพันธ์เป็นตัววางรากฐานสินค้า ในหน้าที่
จึงต้องทำให้สินค้าเดินได้โดยใข้กาประชาสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญโดยการใช้วิธีการเปิดตัว ดีเฟนเดอร์ และก็ได้รับการตอบรับ
เป็นอย่างดี โดยมีลูกค้าเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการต่าง ๆ
จนปี 2539 มีการเปลี่ยนแปลง เริ่มหาตลาดใหม่ ๆ และผลิตหรือประกอบรถยนต์ในประเทศนั้น ๆพอถึงปี 2540 ได้เป็นหัวหอก
ผลักดันตลาดเอเชีย ในมาเลเซีย และปี 2543 จึงเข้ามาเปิดบริษัทแลนด์โรเวอร์ในไทย
ฟอร์มูลา : ตลาดแลนด์โรเวอร์ในประเทศไทยคิดว่าจุดไหนที่น่าแก้ไขมากที่สุด ?
คอลิน : ไทยเป็นตลาดที่แข็งแรงที่สุดในเอเชีย ถึงแม้ขณะนี้จะซบเซาก็ตาม แต่ในระยะยาวยังเป็นฐานที่สำคัญและเป็นหลัก
ให้คนอื่นเดินตาม
ลูกค้าเอเชียเริ่มฉลาดมากขึ้น และทันความเปลี่ยนแปลงในวงการรถยนต์ เนื่องจากลูกค้าเหล่านั้นค่อนข้างมีการศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา
นอกจากนี้เราเชื่อว่าสินค้าของเราจะตอบโจทย์ของภูมิอากาศ และภูมิประเทศได้ดี อันจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
ฟอร์มูลา : นโยบายที่วางไว้เพื่อให้สินค้ากลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง ?
คอลิน : ปัญหาของการเปิดตลาดในแลนด์โรเวอร์ในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นในด้านการบริการ อะไหล่ ไม่
เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า การเปิดบริษัท แลนโรเวอร์ในประเทศไทยครั้งนี้มีการเตรียมความพร้อมในด้านนี้ไว้
อย่างครบครัน โดยขณะนี้ได้มีการสตอคอะไหล่หวุนเวียนเร็ว ในส่วนอะไหล่หมุนเวียนช้าก็จะรับประกันระยะเวลาการรอ
ไม่เกิน10 วัน ซึ่งฟรีแลนด์เดอร์นั้นเป็นรถที่ผลิตในประเทศจึงไม่มีปัญหาในเรื่องอะไหล่
ในอดีตโวลโวก็มีปัญหาเรื่องอะไหล่ แต่หลังจากเราเข้ามาทำตลาดจนถึงปัจจุบันก็สามารถแก้ไขได้
โดยใช้นโยบายและบุคลากรที่มีประสบการณ์เข้ามาทำงาน ราคาค่าบริการ ก็คือปัญหาอีกอย่างหนึ่ง แต่เราแก้ไขปัญหา โดยทำการวิจัย เมื่อ
เปรียบเทียบค่าซ่อมกับยี่ห้ออื่น ๆ เราถูกกว่าหลายยี่ห้อโดยเฉพาะรถระดับเดียวกันนั้นถือว่าถูกที่สุด ขณะนี้ก็มีการรับประ
กัน 3 ปีหรือ 100,000 กม. ช่วยลูกค้าให้อุ่นใจขึ้น นอกจากนี้ยังมีรถบริการสำหรับลูกค้าทั่วประเทศหากรถไปเสียในต่างจังหวัด
ฟอร์มูลา : การขยายโชว์รูมและศูนย์บริการจะใช้ร่วมกับโวลโวหรือไม่ ?
คอลิน : การให้บริการในเรื่องโชว์รูมและศูนย์บริการในเขตกรุงเทพฯ จะดูแลโดย บริษัท ไทยอัลติเมทคาร์ จำกัด ซึ่งมี
สัญญาเป็นตัวแทนจำหน่าย 3 ปี ส่วนในต่างจังหวัดจะร่วมกับดีเลอร์ของโวลโว ปัจจุบันมีแล้วที่ชลบุรี และเชียงใหม่ และ
จะขยายในหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งอาจจะใช้วิธีดูจากตัวแทนจำหน่ายแลนด์โรเวอร์เก่า หรือทำร่วมกับโวลโว ซึ่งถ้า
โวลโวยังไม่มีอาจจะหาใหม่โดยให้จำหน่ายคู่กันเลย
ฟอร์มูลา : ในปีนี้จะมีการลงทุนในส่วนใดเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ ?
คอลิน : การลงทุนจะมี 2 ส่วน คือ ลงทุนเรื่องการอบรม และให้ความรู้ในเรื่องในเรื่องการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในเรื่องการบริการหลังการขาย
ที่ถูกต้อง โดยการเซทระบบนี้ใช้เงินลงทุนกว่า 50 % ของการลงทุน และนอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นการ
ทำการตลาดของสินค้า จะใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท
สองคือการลงทุนด้านโรงงาน ซึ่งต้องมีการเพิ่มเติมแต่ก็ไม่มากเท่าปีที่แล้ว แต่ในปี 2546 จะมีการลงทุนในโรงงานอีกครั้ง เพื่อรองรับตลาด
ต่างประเทศ ซึ่งในปีที่แล้วลงทุนไปประมาณ 150-200 ล้านบาท
ฟอร์มูลา : ในความเห็นของคุณสถานการณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีนี้จะเป็นอย่างไร ?
คอลิน : สถานการณ์ตลาดรถยนต์โดยรวมปีนี้ดูค่อนข้างยาก เนื่องจากในอเมริกายังไม่สงบ ตลาดยังอยู่ในภาวะปรวนแปร
และคนยังอยู่ในภาวะที่ยังไม่อยากใช้เงินเท่าไร แต่เชื่อว่าเรามีไอเดียใหม่ ๆ ในการกระตุ้นตลาด ก็น่าจะมีโอกาสที่จะค้าขาย
ได้พอสมควร เราเชื่อว่ากลุ่มคนในระดับที่ซื้อแลนด์โรเวอร์ไม่น่ามีปัญหา และในปีนี้บริษัทจะเปิดตัว เรนโรเวอร์ ใหม่ โดยไทยจะเป็นประเทศแรก
ในเอเชียที่เปิดตัวรถตัวใหม่นี้ในเดือนเมษายน และจะเปิดการขายในเดือนมิถุนายน
สำหรับภาพอุตสาหกรรมโดยรวมในปีนี้อยากจะให้ถึง 300,000 คัน แต่คงจะยากซึ่งถ้าได้เท่ากับปีที่แล้วก็นับว่าดีแล้ว แต่สำหรับแลนด์โรเวอร์ยังคง
ตั้งเป้า 14 เดือน คือตั้งแต่เดือน พย. ปี 44 ถึงสิ้นปี 45 900 คัน และได้ส่งมอบให้ลูกค้าไปแล้วบางส่วน
ฟอร์มูลา : การลงทุนทั้งหมดคาดว่าจะคุ้มทุนในกี่ปี ?
คอลิน : การลงทุนทั้งหมดที่บริษัทลงทุนไปนั้นคาดว่าจะคุ้มทุนในปี 2546
สุดาพร เอื้อมพรวนิช
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
ฟอร์มูลา : คุณเข้ามารับตำแหน่งในแลนด์โรเวอร์ได้อย่างไร ?
สุดาพร : แลนด์โรเวอร์เป็นบริษัทลูกของฟอร์ด อยู่ภายใต้บริษัทPREMIER AUTO GROUP (PAG)
มีสินค้าหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น โวลโว แลนด์โรเวอร์ แจกวาร์ด แอสตันมาร์ติน ลินคอร์น และมาซดา โดยหลัก
สินค้าภายใต้ฟอร์ดต้องช่วยเหลือกัน โดยเฉพาะกลุ่ม พีเอจีด้วยกัน โวลโว ซึ่งเป็นตัวหลักของที่นี่ ทำมานาน
ประสบความสำเร็จมากที่สุด การจัดตั้งบริษัทก็ยังเชื่อมโวลโวโดยได้รับความช่วยเหลือจากทางบริษัท วอลโว่
คาร์ ประเทศไทย ตามนโยบายในฐานะพี่น้องภายใต้ พีเอจี ของฟอร์ด
สำหรับแลนด์โรเวอร์ต้องการกลับมาในตลาดเมืองไทยอีกครั้ง และต้งวิ่งให้ทันตลาดเลย ดังนั้นการที่จะตั้ง
บริษัทได้เร็วมีการบริหารงานร่วมช่วยจากส่วนที่พร้อมแล้ว เช่น ใช้ออฟฟิศเดียวกัน
ใช้บริษัทไฟแนนซ์หรือส่วนบัญชีร่วมกัน การสั่งอะไหล่ ชิ้นส่วน และระบบไอที ด้วยกัน
ส่วนการจัดตั้งบุคลกรฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ทีมช่างเทคนิค อะไหล่ เซอร์วิส ต้องแยกกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เพราะรถเป็นคนละยี่ห้อ
ซึ่งฟอร์ดเองก็บอกให้โวลโวช่วยจัดหาบุคลากรที่มีอยู่ในบางส่วนมาช่วยในการบุกเบิกตลาดแลนด์โรเวอร์ ประจวบกับเสร็จการเปิดตัวโวลโว เอส 60
REVOLVOLUTION แล้ว คุณคาร์ลได้มาคุยกับบี๋และก็ตกลงกัน ถือเป็นการโยกย้ายภายในองค์กร เราก็เลยมีโอกาสเข้ามาทำงาน
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
ฟอร์มูลา : รู้สึกอย่างไรเมื่อรู้ว่าต้องมาดูแลตลาดแลนด์โรเวอร์?
สุดาพร : ตอนแรกก็ค่อนข้างกังวลเนื่องจากมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่เมื่อได้มาทำแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร สนุกกว่าที่คิดเยอะ
ฟอร์มูลา : ฟอร์ดให้การสนับสนุนอย่างไรบ้างในการเปิดบริษัท แลนด์โรเวอร์ในครั้งนี้ ?
สุดาพร : ฟอร์ดซื้อแลนด์โรเวอร์มาจากบีเอมดับเบิลยูได้ปีกว่า และที่ซื้อมาก็เฉพาะยี่ห้อแลนด์โรเวอร์เท่า
นั้น และไม่ได้ซื้อยี่ห้อโรเวอร์ซึ่งเป็นรถเก๋งมา ฟอร์ดให้การสนับสนุนในเรื่องการให้นโยบายหลักโดยรวม
แต่ถ้าเรื่องงบประมาณช่วยการลงทุนฟอร์ดจะคุยตรงไปที่แลนด์โรเวอร์อังกฤษก่อน แล้วค่อยผ่านกระจายมาที่ไทย เราต้อง
รายงานไปที่อังกฤษก่อน เหมือนกับโวลโวที่ต้องรายงานไปที่สวีเดน แต่อย่างไรก็ตามฟอร์ดต้องการเปิดตลาดแลนด์โรเวอร์ใน
ไทย ให้เร็วและแกร่งที่สุด เพื่อเป็นฐานตลาดในภูมิภาคนี้ได้ในอนาคต
ฟอร์มูลา : แลนด์โรเวอร์มีนโยบายในการทำตลาดในระยะสั้นและระยะยาว 5 ปีอย่างไร?
สุดาพร : 2-3 ปีจากนี้ จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ากลับมาด้วยการสร้างเนกเวิร์ก รองรับการ
บริการหลังการขาย ทั้งในด้านการเซอร์วิส อะไหล่ การอบรมช่าง ซึ่งการสร้างเนกเวิร์กก็ต้องสร้างให้
ครอบคลุม หลังจากนั้นก็มาสร้างความเชื่อมั่นตัวรถให้ดีขึ้น ทำตลาดต่อเนื่องเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก
ภายใน 5 ปี ต้องเป็นผู้นำในตลาดรถโฟว์วีลล์ แท้จริง ชัดเจน ทั้งในและต่างประเทศในแถบเอเชีย ไทยจะเป็นฐานการผลิต
รถแลนด์โรเวอร์ให้ไม่ใช่เฉพาะในกลุ่มอาฟตาเท่าน้น แต่ยังรวมถึงฮ่องกง ไต้หวัน ในอนาคตด้วย ซึ่งเราสามารถที่จะมีกำลัง
การผลิตอย่างเต็มที่ปีละ 1,500 คัน โดยขณะนี้ผลิตเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น และในปีนี้ก็จะมีการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 รุ่น คือ ดิฟ
คัพเวอรี่ II และจะนำเข้า รุ่น เรนโรเวอร์ และดีเฟนเดอร์ ครบ 4 รุ่นของแลนด์โรเวอร์
ฟอร์มูลา : ขณะนี้มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการเปิดตลาดในเมืองไทย เพราะที่ผ่านมาไม่ประสบ
ความสำเร็จมากนัก และคิดว่าอะไรคือสาเหตุของความล้มเหลว ?
สุดาพร : ก่อนที่แลนด์โรเวอร์จะเข้ามาในไทย ดีเลอร์เดิม ๆ อาจจะ รองรับไม่เต็มที่ ในด้านบริการหลังการขาย แต่นั่นไม่ใช่
ความผิดของดีเลอร์อย่างเดียว แต่มีปัจจัยมาจากตัวแม่ที่ถูกเปลี่ยนมือบ่อย สิ่งเหล่านี้ ต้องดูหลักใหญ่ด้วย การถูกเปลี่ยนมือ
มาหลายครั้ง เสียเวลาตรงจุดนี้ เพราะแต่ละครั้งถูกเปลี่ยนมือ ก้อนเงินลงทุนจะไม่ต่อเนื่อง และไม่เหมือนกัน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำ
ให้แบรนด์ช้ำ ชื่อเสียงเสียไปช่วงหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแลัวยังมีการตอบรับในแบรนด์ดีมาก สาเหตุที่ฟอร์ดซื้อแลนด์โร
เวอร์จากบีเอมดับเบิลยูเนื่องจากมีศักยภาพ เห็นศักยภาพ ของตัวสินค้าและการขยายฐานตลาดให้ครอบคลุม
ทุกเซกเมนท์ฟอร์ดคิดถูก โดยอัดฉีดเงินให้จริง ไม่ซื้อไปเก็บหรือดองไว้ ให้แต่ละแบรนด์อยู่ในเอกลักษณ์ของตัวเอง ยังผล
ให้ชัดเจนไม่เสียภาพลักษณ์ ยังทำยอดขายได้และมีผลกำไรกลับมา เชื่อว่ามีความพร้อมมากเมื่อมาอยู่กับฟอร์ด
ฟอร์มูลา : คุณคิดว่าช่วงเศรษฐกิจแบบนี้รถโฟว์วีลล์ที่มีราคาแพงมีความเหมาะสมกับตลาดในเมืองไทยมาก
น้อยแค่ไหน ?
สุดาพร : ราคารถในไทยขณะนี้ติดปัญหาเรื่องภาษี ถ้าภาษีถูกกว่านี้ได้ก็จะดี เพราะจะช่วยเอื้อประโยชน์ให้รถโฟว์วีลล์ ปัจจุบันคนไทย
ถูกบีบจากข้อจำกัดภาษีจึงเสมือนว่าเลือกไม่ได้นอกจากต้องใช้รถขนาดเล็ก ไม่ควรใช้รถหลายแบบ คือไม่เปิดเสรีแก่ประชาชนเท่าที่ควร
แต่หากรัฐบาลยอมลดค่าภาษีได้ก็สามารถลดราคาได้มาก และได้รถดี ๆ คุณภาพดี ๆ ใช้ เพราะปัจจุบันรถทุกยี่ห้อ ล้วนมีเครื่องยนต์ เทคโนโลยีสูง
แต่ด้วยภาษีจำกัดทั้งเครื่องยนต์ แรงม้า ของฟุ่มเฟือย ล้วนแล้วแต่ตีกรอบให้รถในเมืองไทยต้องตั้งราคาสูงไปโดยอัตโนมัติ
ฟอร์มูลา : การเปิดตลาดในช่วงนี้มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด?
สุดาพร : ตอนแรกที่เกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 นักเศรษฐศาสตร์ไทยบอกว่าจีดีพีไม่มีการเติบโต แต่
หลังจากการตอบรับจากลูกค้าในช่วงงานมอเตอร์เอกซ์โปที่ผ่านมาเหลือเชื่อเพราะยอดขายที่ออกมานั้นแสดง
ว่าสถานการณ์ไม่ได้ตกต่ำมากนัก และถ้ายังเป็นอย่างนี้เหตุการณ์ก็คงไม่แย่ เพราะถ้าจะดูกันตามจริงแล้วก็
เหมือนกับเป็นวัฎจักรของรถที่ถึงกำหนดที่จะต้องเปลี่ยนก่อนช่วงฟองสบู่แตก ปี 2538-2539 ตอนนี้ถือว่าได้จังหวะเสี่ยง
น้อยกว่าที่คาดไว้
ตลาดรถโฟว์วีลล์ยังไปได้ตราบใดที่ราคาไม่เวอร์ คนไทยมีบทเรียนจากฟองสบู่แตก ราคาไม่เกิน 2.5 ล้านบาท พอใจแต่ถ้า
สูงเกินก็จะต้องเป็นรถพรีเมียม
ฟอร์มูลา : ขณะนี้บริษัทมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการรุกตลาดในไทย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน บุคลากร
และสินค้าที่จะทำตลาด?
สุดาพร : การลงทุนในช่วงแรกคือ ช่วงกันยายน ปี 2544 จนถึงสิ้นปี 2545 ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ทั้งในด้านการ
ตลาด เซทอัพดีเลอร์ เซทอัพโครงสร้างและรวมไปถึงการขึ้นไลน์ผลิต ส่วนด้านบุคลากรส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์มาแล้วทั้ง
นั้น โดยจะเป็นคนไทยส่วนใหญ่ แต่จะมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทแม่มาอยู่ด้วยส่วนหนึ่งในช่วงแรก
ฟอร์มูลา : เป้าหมายของคุณกับแลนด์โรเวอร์ในปี 2545 ?
สุดาพร : ทำองค์กรให้เข้มแข็ง อยากให้สิ้นปีนี้มีความพร้อมสมบูรณ์ โดยจะวัดผลทุก 6 เดือน เชื่อว่าต้นไตรมาส 1 ของปี
2546 ทุกอย่างลงตัว 70 % ส่วนอีก 30 % ค่อย ๆ ดำเนินการไป
ฟอร์มูลา : คุณมองว่าการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยเป็นอย่างไร?
สุดาพร : การแข่งขันดุเดือด มีพลิกแพลง สถานการณ์จะเป็นของรถพิคอัพ รถขนาดเล็กก็จะขับเคี่ยวกัน
สนุกสนานน่าจะโตได้ กลุ่มซีดานอาจจะน้อยในปีนี้ แต่แนวโน้มของรถเอสยูวีค่อนข้างมีการเติบโตได้มากกว่าจากกระแสที่จะมี
หลายสินค้าเปิดตัวใหม่จะโตมากกว่ากลุ่มซีดาน ตลาดรวมปีนี้มองว่าน่าจะมีปริมาณไม่เกิน 310,000 คัน
ฟอร์มูลา : สำหรับแผนงานของรถมือสองคุณวางไว้อย่างไรบ้าง?
สุดาพร : รถมือสองนั้นจะทำหลังจากที่ทำเรื่องของเนทเวิร์กก่อน หลังจากนั้นในอนาคตจะรับแลกในราคาที่สูง
กว่าเตนท์ เชื่อว่าภายใน 3-5 ปี รถมือสองน่าจะเป็นรถที่มีคนต้องการ ต้องใช้เวลาเรื่องของการแก้ไขทางจิตใจ
ฟอร์มูลา : การเลือกสินค้าเข้ามาทำตลาดมีหลักเกณฑ์อย่างไร?
สุดาพร : อันดับแรกดูที่ความเหมาะสมกับบ้านเรา การผลิตต้องปรึกษากับทางมาเลเซียด้วย ถ้าชิ้นส่วน
ทั้งภูมิภาค พอไปได้ในเรื่องออฟชัน 70-80 % ขายในประเทศที่เหลือส่งออก เริ่มส่งดิฟคัพเวอรีกลางปีนี้ ที่
ผ่านมาก็มีการส่งบอดีของฟรีแลนด์เดอร์ไปที่มาเลเซียแล้ว และอนาคตจะขยายไปที่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
และฮ่องกง
ฟอร์มูลา : ปัจจุบันตลาดรถยนต์นั้นบริษัทในยุโรปเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ทำให้โครงสร้างทางการตลาด
เปลี่ยน คุณมอง่ารถญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งในตลาดหรือไม่?
สุดาพร : แนวทางการแข่งขันจะอ่านเกมกันออก สุดท้ายก็จะไม่แตกต่างกัน ไม่ว่ายุโรป ญี่ปุ่น ไม่ได้มองว่าใครเป็นคู่แข่ง
ใครมีไอเดียเด็ดกว่าก็ชนะเลิศ เป็นการแข่งขันกันทางความคิด
ฟอร์มูลา : คุณคิดว่าคุณประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนในการทำงาน ?
สุดาพร : ในระดับหนึ่งแต่ยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่พอใจยังต้องทำต่อไปอีก
ฟอร์มูลา : ผู้หญิงจะเหมาะกับการดูแลตลาดรถโฟว์วีลล์หรือ โดยเฉพาะคุณที่ไม่มีภาพลักษณ์แบบลุย ๆ มา
ก่อน?
สุดาพร : เราซ่อนความอึดไว้ข้างใน พูดตามตรงคือ ไม่ได้มองว่าเบสิคการตลาดพรีเมียมของรถโฟร์วีลล์ จะต่างจากซีดาน
แต่มองว่าต้องทำในฐานะนักการตลาด และนักบริหาร ท้าทาย อย่างที่บอก แต่เบสิกการทำเหมือนกันไม่ต่างกัน ตัวอย่าง แลนด์
โรเวอร์ไทยเป็นบริษัทตั้งใหม่ จัดสรรทีมงานเข็นรถออกสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นโวลโว ฮอนด้า โตโยตา บีเอมดับเบิลยู เหมือน
กันหมด แต่จะแตกต่างมากขึ้นเมื่อลงรายละเอียดในด้านเอกลักษณ์ ของแต่ละสินค้าและการใส่สีสัน เครื่องปรุง เพื่อให้สะท้อนคาร์เรคเตอร์เด่น ๆ
ของแบรนด์นั้น ๆ ออกมา ยอมรับว่าไม่ค่อยสันทันกับคาร์แรกเตอร์ของโฟว์วีลล์แต่ของเช่นนี้เรียนรู้อ่าน ศึกษากันได้ มันคือรถในอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน
แต่ก็ยัง 4 ล้อ ไม่ใช่เครื่องบิน รถไฟ เรือ ที่ต้องเรียนใหม่เลย
ฟอร์มูลา : มีใครเคยบอกบ้างไหมว่าจริง ๆ แล้วคุณเหมาะกับโวลโวมากกว่า ?
สุดาพร : ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับอะไรอย่างหนึ่งแน่นอน เป็นสินค้าที่เป็นกลุ่มพรีเมียมเหมือน
กัน การจะบรรลุเป้าหมายได้อยู่ที่ไอเดียที่จะใส่ลงไปให้คาร์แรกเตอร์ของแบรนด์ สินค้า นั้น ๆ โดดเด่นจับต้องใด้ เป็นเอก
ลักษณ์เฉพาะที่ผู้พบเห็นเข้าใจและสนใจที่จะเข้าหานั่นต่างหากคือ นักการตลาดที่แท้จริง
ฟอร์มูลา : แลนด์โรเวอร์ทับตลาดกับฟอร์ด เอกซ์พลอเรอร์ หรือไม่ อย่างไร?
สุดาพร : สินค้าไม่ทับกันเลย แบ่งกันชัดเจน ความจริงแล้วเหมือนแลนด์โรเวอร์มาต่อยอดเปิดตลาดในสิ่ง
ที่ขาดไปและด้วยความฉลาดของฟอร์ดที่จัดตั้ง พีเอจี ชัดเจนยิ่งเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย ราคาอาจใกล้เคียงกัน แต่คนซื้อจะแยก
แยะออกเองว่าต้องการอะไร
ฟอร์มูลา : เมื่อก่อนนี้คุณมีความรู้สึกอย่างไรกับรถโฟว์วีลล์ ?
สุดาพร : เมื่อก่อนไม่ค่อยชอบ แต่ก็เคยขับ 3-4 ปีก่อน พราโด กับ ปาเจโร ขับง่ายดี มองได้ทั่ว เอื้อประโยชน์ได้หลาย
อย่าง รวมถึงจุสัมภาระได้มาก ใจเย็นขั้นเพราะรถพวกนี้ขับเร็วไม่ได้มาก เข้าป่า ลุย สนุกสนาน ก็แปลกดีทุกอย่างมาทีละขั้น
ซีดาน มาก่อน ตามด้วยครอส คันทรี แล้วจึง แลนด์โรเวอร์มีสีสันดี ชอบ
ABOUT THE AUTHOR
น
นุสรา เงินเจริญ
นิตยสาร Formula ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2545
คอลัมน์ Online : พิเศษ