4 WHEELS เอาใจคนรักครอบครัว นำรถยนต์มีนีเอมพีวี ขนาด 7 ที่นั่ง 3 รุ่น ที่กำลังฮอทฮิทอยู่ขณะนี้ทั้ง ฮอนดา บีอาร์-วี ซูซูกิ แอร์ติกา และโตโยตา ซีเอนตา มาทดสอบ เพื่อให้รู้ถึงสมรรถนะ และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง รวมถึงเจาะลึกความน่าใช้ของฟังค์ชันหลากหลาย โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-เขาใหญ่ ผลเป็นอย่างไร รุ่นไหนจะถูกใจเรา มาดูกัน
ภายนอก |
|
---|---|
HONDA BR-V SV | |
SUZUKI ERTIGA 1.4 GX | |
TOYOTA SIENTA 1.5V |
แรกเห็น ถ้ามองหน้าตรงต้องบอกเลยว่าหล่อมาก แต่เมื่อมองรวมๆ แล้วกลับรู้สึกว่ารถคันนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานภายในมากกว่า ไฟหน้า และกระจังหน้าแบบโครเมียม 2 ชั้น ให้ความรู้สึกแข็งแรง ไฟหน้าแบบพโรเจคเตอร์ พร้อมไฟหรี่แบบแอลอีดี และไฟท้ายทันสมัย รูปตัว C ให้ความรู้สึกทันสมัย ด้านข้างเสริมมาดลุยด้วยสเกิร์ทรอบคัน และโป่งข้างสีดำ ตกแต่งชายกันชนหน้าและหลัง และขอบประตูทั้ง 4 ด้วยคิ้วกันกระแทกสีเทา ด้านบนติดตั้งราวหลังคาสไตล์สปอร์ท สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงล้อขนาด 16 นิ้ว ปัดเงาดูสวยงาม
มิติภายนอก ยาว 4,456 มม. กว้าง 1,735 มม. และสูง 1,666 มม. ระยะฐานล้อ 2,655 มม. ถ้าดูจากตัวเลขแล้วตัวรถจะมีลักษณะยาว แต่ฐานล้อสั้นที่สุดในกลุ่ม ช่วยให้ขับง่าย คล่องตัว
ซูซูกิ แอร์ติกา คันที่นำมาทดสอบนี้ถูกปรับหน้าตามาให้ทันสมัย และลงตัวกว่าเดิม มองจากด้านหน้าต้องสะดุดกับกันชนเส้นสายแปลกตา และชุดกระจังหน้าแบบ 3 ชิ้น ด้านหลังเปลี่ยนกันชนท้ายใหม่เป็นสไตล์สปอร์ท เพื่อรับกับกันชนหน้าที่จัดเต็ม ติดตั้งเซนเซอร์ถอยหลังแบบ 2 จุด ไฟท้ายตกแต่งเพิ่มแผงโครเมียม และทับทิมสะท้อนแสงบนมือเปิดฝาท้าย เพิ่มไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง สเกิร์ทข้าง และสปอยเลอร์หลังคา พร้อมไฟเบรคดวงที่ 3 ช่วยให้รถดูสวยขึ้นเยอะ รวมถึงล้อแมกลายใหม่สีดำปัดเงา ขนาด 15 นิ้ว
มิติภายนอก ยาว 4,325 มม. กว้าง 1,695 มม. และสูง 1,685 มม. ระยะฐานล้อ 2,740 มม. ตัวรถจะมีความยาว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของรถเอมพีวี
โตโยตา ซีเอนตา เป็นรถคันเดียวในกลุ่ม ที่มีรูปร่างทรงกล่อง และประตูสไลด์ไฟฟ้า เส้นสายโดยรวมจัดว่าน่ารัก ไฟหน้าพโรเจคเตอร์ ไบ-บีม แอลอีดี พร้อมไฟหรี่แอลอีดี ส่วนไฟส่องสว่างกลางวัน เดย์ไทม์ รันนิง ไลท์ (DRL) ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งไฟตัดหมอก ไฟท้ายแบบแอลอีดีตัดขอบดำให้ดูสปอร์ขึ้น มีเส้นนำแสงสวยงามดูทันสมัย มาพร้อมล้อลายสวยงามขนาด 16 นิ้ว
มิติภายนอก ยาว 4,235 มม. กว้าง 1,695 มม. และสูง 1,695 มม. ระยะฐานล้อ 2,750 มม. ตัวรถมีความกว้างและส่วนสูงเท่ากันพอดิบพอดี เป็นรถทรงกล่องอย่างชัดเจน
ภายใน |
|
---|---|
HONDA BR-V SV | |
SUZUKI ERTIGA 1.4 GX | |
TOYOTA SIENTA 1.5V |
ทั้ง 3 รุ่น เป็นมีนีเอมพีวี 7 ที่นั่ง หากรุ่นใดมีพื้นที่ใช้สอยกว้าง พับเบาะได้หลากหลายรูปแบบกว่า ก็ย่อมได้เปรียบกว่ารถรุ่นอื่นๆ เพราะถือเป็นหัวใจหลักของรถประเภทนี้
ฮอนดา บีอาร์-วี จากการทดลองนั่งของทีมงานพบว่า ไม่รู้สึกอึดอัดแต่อย่างใด พื้นที่เหนือศีรษะเหลือเฟือ แถมกระจกด้านข้างยังมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ทำให้ทัศนวิสัยภายนอกดีกว่าทั้ง 2 รุ่น ชุดคอนโซลและภายในใช้โทนสีดำ ให้อารมณ์สปอร์ท แต่ติดอยู่นิดที่เบาะแถวหน้าสุดไม่สามารถปรับความสูงได้ ซึ่งนับเป็นข้อเสียของรุ่นนี้ ส่วนเบาะแถว 2 สามารถปรับพับได้ 2 จังหวะ ให้ตลบจนเข้ามาชิดกับเบาะคู่หน้าได้ เมื่อพับแล้ว ผู้โดยสารที่นั่งเบาะแถวที่ 3 สามารถนั่งได้โดยไม่รู้สึกเกะกะสายตา ส่วนเบาะแถวที่ 3 ก็สามารถพับตลบได้ 2 จังหวะเช่นกัน สามารถใส่สัมภาระขนาดใหญ่และยาวได้อย่างสบาย และเมื่อพับแล้วจะมีพื้นที่บรรทุกสัมภาระมากกว่าทั้ง 2 รุ่นที่เหลือ
ซูซูกิ แอร์ติกา ภายในใช้โทนสีเบจ ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบายตา เบาะนั่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่ารถทั้ง 2 รุ่น ทำให้มองเห็นทัศนวิสัยได้ชัดเจนในทุกมุมของรถ เบาะผ้ากำมะหยี่นุ่มมาก นั่งสบาย ไม่อึดอัด เบาะนั่งแถวที่ 2 ไม่มีหมอนรองศีรษะสำหรับคนนั่งกลาง หากนั่ง 5 คน อาจทำให้รู้สึกเมื่อยล้าขณะเดินทางไกลได้ แต่ก็ทดแทนด้วยการฝังที่พักแขนไว้ตรงกลาง ซึ่งทั้ง 2 รุ่นที่เหลือไม่มี และยังสามารถเลื่อนหน้า/หลังได้ เบาะแถว 2 พับได้เพียงจังหวะเดียว เช่นเดียวกับเบาะแถวที่ 3 ทำให้เบาะที่พับอยู่ในตำแหน่งที่สูง จึงเหลือพื้นที่บรรทุกสัมภาระที่มีความสูงน้อยกว่า ฮอนดา บีอาร์-วี และโตโยตา ซีเอนตา
โตโยตา ซีเอนตา ภายในใช้สีโทนเข้ม มีสีครีม และดำ เบาะหนังเดินตะเข็บด้วยด้ายสีส้ม ดูทันสมัย เบาะนั่งแถวที่ 2 และ 3 สามารถพับตลบได้ 2 จังหวะเช่นเดียวกับ ฮอนดา บีอาร์-วี จุดเด่นอยู่ที่ลูกเล่นการเลื่อนเก็บเบาะแถวที่ 3 ที่พับลงมาแทนที่เบาะนั่งแถวที่ 2 ได้แนบสนิท โดยที่ผู้โดยสารเบาะแถวที่ 2 ยังนั่งได้เหมือนเดิม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรถอีก 2 รุ่น โตโยตา ซีเอนตา มีพื้นที่ใช้สอยภายในห้องโดยสารกว้างรองลงมาจาก ฮอนดา บีอาร์-วี เล็กน้อย เป็นผลมาจากรูปทรงภายนอกเล็กและหลังคาเตี้ยกว่าทั้ง 2 รุ่นนั่นเอง
ฮอนดา บีอาร์-วี เริ่มจากคอนโซลหน้า ติดตั้งเครื่องเสียงหน้าจอสัมผัส รองรับการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการ IOS และ ANDROID ผ่านช่องทางการเชื่อมต่อ HDMI และเล่นเพลงผ่าน USB ได้ พวงมาลัยมัลทิฟังค์ชัน มีช่องชาร์จไฟ 12 โวลท์ 1 จุด สตาร์ทเครื่องด้วยการกดปุ่ม (PUSH START) ออกแบบให้มีช่องวางแก้วครบทุกที่นั่ง มีระบบเบรคเอบีเอส ระบบช่วยออกตัวในทางลาดชัน (HSA) ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (VSA) ถุงลมคู่หน้า กล้องส่องหลังขณะถอยจอด ติดตั้งระบบปรับอากาศด้านหน้าแบบดิจิทอล ปรับอัตโนมัติ ด้านหลังปรับแรงลมได้ 3 ระดับ มี 3 ช่องแอร์ ซึ่งน้อยกว่ารุ่นอื่น 1 ช่อง
ซูซูกิ แอร์ติกา ให้ออพชันมาพอประมาณ เน้นใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน พวงมาลัยมัลทิฟังค์ชัน สามารถฟังเพลงผ่าน USB ได้ แต่ไม่มีจอแสดงผลแบบทัชกรีน ซึ่งอีก 2 รุ่น ติดตั้งมาให้ครบ แต่ยังดีที่ติดตั้งปลั๊กไฟ 12 โวลท์ ไว้ 2 ตำแหน่ง ทั้งด้านหน้า และด้านหลังคอนโซลกลาง เอาใจผู้โดยสารด้านหลัง ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ยังคงใช้กุญแจบิดสตาร์ท ไม่ติดตั้งปุ่มสตาร์ทมาให้เหมือนรุ่นอื่น ที่คันเกียร์ติดตั้งปุ่มโอเวอร์ดไรฟ เรียกรอบเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นได้ง่ายเพียงแค่กดปุ่ม เครื่องปรับอากาศเป็นแบบมือหมุน ด้านหลังติดตั้งช่องแอร์ 4 ช่อง ด้านความปลอดภัยมีให้แบบพอดี ได้แก่ ถุงลมนิรภัยคู่หน้า และระบบเบรคเอบีเอส ไม่มีระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน และระบบควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง เหมือนรุ่นอื่น
โตโยตา ซีเอนตา น้องใหม่ออกมาหลังสุด เลยมีของเล่นเยอะเป็นพิเศษ เริ่มจากประตูสไลด์ไฟฟ้าที่เป็นจุดเด่นเหนือกว่ารุ่นอื่น สามารถเปิด/ปิดในที่แคบได้ ขึ้น/ลงสะดวก ถูกใจคนรักครอบครัว พวงมาลัยมัลทิฟังค์ชัน กล้องมองหลังขณะถอยจอด สตาร์ทเครื่องยนต์อัจฉริยะโดยการกดปุ่ม เครื่องเสียงหน้าจอสัมผัส เชื่อมต่อ USB, AUX, BLUETOOTH และผ่านแอพพลิเคชัน T CONNECT ได้ เครื่องปรับอากาศด้านหน้าแบบดิจิทอล ปรับอัตโนมัติ ด้านหลังติดตั้งช่องแอร์ 4 ช่อง ปรับแรงลมได้ 4 ระดับ นอกจากนี้ ยังมีที่เก็บของบริเวณคอนโซลหน้า มาพร้อมกล่องรักษาความเย็น (COOL BOX) แถมมีจอแอลอีดี ขนาด 8 นิ้ว สำหรับผู้โดยสารแถวหลังให้ได้ชมความบันเทิง ซึ่งทั้ง 2 รุ่นไม่มี ความปลอดภัยครบครัน ทั้งถุงลมนิภัย 3 ตำแหน่ง ระบบเบรคเอบีเอส ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (HAC) ระบบควบคุมการทรงตัว (VSC) เรียกว่าทำการบ้านออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
สมรรถนะ |
|
---|---|
HONDA BR-V SV | |
SUZUKI ERTIGA 1.4 GX | |
TOYOTA SIENTA 1.5V |
พละกำลังเครื่องยนต์ทั้ง 3 รุ่น ดูจากสเปคแล้วแตกต่างกันไม่มากนัก แต่ถ้าได้ลองขับแต่ละคัน จะรู้สึกได้ถึงความต่างอย่างชัดเจน ทีมงานลงความเห็นตรงกันว่า รถที่ตอบสนองการขับขี่ และให้กำลังเร่งแซงได้ทันใจที่สุด ไม่ว่าบนไฮเวย์ หรือขึ้นทางชันบนเขาใหญ่ ต้องยกให้ ฮอนดา บีอาร์-วี รองลงมา คือ โตโยตา ซีเอนตา และซูซูกิ แอร์ติกา ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามผลทดสอบดาทรอนในแฟ้มทดสอบรถของ 4 WHEELS
ฮอนดา บีอาร์-วี ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร 4 สูบ ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ CVT 6 จังหวะ ซึ่งออกแบบมาอย่างลงตัว สามารถสร้างแรงม้าได้ถึง 117 ตัว ที่ 6,000 รตน. อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม และ 0-400 กม./ชม. ทำได้ 12.8/19.0 วินาที ตีนปลาย 0-1,000 ม. ทำได้ 34.3 วินาที อัตราเร่งยืดหยุ่น จังหวะเร่งแซง 60-100 และ 80-120 กม./ชม. ทำได้ 7.2/9.0 วินาที
ขณะที่น้องใหม่ในกลุ่มอย่าง โตโยตา ซีเอนตา ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร 4 สูบ ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ CVT เช่นกัน แต่กลับมีแรงม้าน้อยกว่าถึง 9 ตัว (108 แรงม้า ที่ 6,000 รตน.) ทำให้อัตราเร่งลดลงไปบ้าง 0-100 กม./ชม. และ 0-400 กม./ชม. ทำได้ 13.9/19.6 วินาที ตีนปลาย 0-1,000 ม. ทำได้ 35.6 วินาที อัตราเร่งยืดหยุ่น จังหวะเร่งแซง 60-100 และ 80-120 กม./ชม. ทำได้ 7.4/10.2 วินาที
ส่วนรุ่นพี่ซีเนียร์ที่อยู่มานานกว่าอย่าง ซูซูกิ แอร์ติกา ยังคงใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.4 ลิตร 4 สูบ ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่ม ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ สามารถสร้างแรงม้าได้เพียง 92 ตัว ที่ 6,000 รตน. เท่านั้น ทำให้อัตราเร่งไม่แรงเท่าไรนัก 0-100 กม./ชม และ 0-400 กม./ชม. ทำได้ 15.7/20.1 วินาที ตีนปลาย 0-1,000 ม. ทำได้ 36.5 วินาที อัตราเร่งยืดหยุ่น จังหวะเร่งแซง 60-100 กม./ชม. และ 80-120 กม./ชม. ทำได้ 8.1/11.6 วินาที
ทั้ง 3 คันมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันที่ประหยัดใกล้เคียงกัน ฮอนดา บีอาร์-วี เด่นสุดในช่วงความเร็วต้น 60-80 กม./ชม. วัดอัตราสิ้นเปลืองจากความเร็วคงที่ 60/80/100/120 กม./ชม. ได้ 25.6/22.2/16.7/12.7 กม./ลิตร ส่วน ซูซูกิ แอร์ติกา ก็ประหยัดไม่เบา โดดเด่นที่ความเร็วปลาย 100-120 กม./ชม. จากความเร็วคงที่ 60/80/100/120 กม./ชม. ทำได้ 25.1/20.9/17.1/13.4 กม./ลิตร ส่วนน้องใหม่ โตโยตา ซีเอนตา ทำได้เพียงแค่เกาะกลุ่ม อัตราสิ้นเปลืองจากความเร็วคงที่ 60/80/100/120 กม./ชม. ทำได้ 24.7/20.9/16.2/12.7 กม./ลิตร เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นผลจากมิติตัวรถทรงกล่อง ที่ต้านลมเมื่อใช้ความเร็วสูง
ระยะเบรคที่ความเร็ว 60/80/100 กม.ชม. จนถึงจุดหยุดนิ่ง ทั้ง 3 รุ่นทำได้ใกล้เคียงกัน ฮอนดา บีอาร์-วี ทำได้ 16.6/28.2/43.8 ม. ดีสุดในกลุ่มช่วงความเร็ว 100 กม./ชม. ซูซูกิ แอร์ติกา ระยะเบรคที่ความเร็ว 60/80/100 กม.ชม. จนถึงจุดหยุดนิ่ง ทำได้ 16.4/28.4/46.6 ม. อยู่ในระดับพอใช้ ส่วน โตโยตา ซีเอนตา ทำได้ 15.8/29.0/45.8 ม. ดีที่สุดในกลุ่มในช่วงความเร็ว 60 กม./ชม.
ข้อมูลจำเพาะ | ฮอนดา บีอาร์-วี | ซูซูกิ แอร์ติกา | โตโยตา ซีเอนตา |
---|---|---|---|
มิติ และน้ำหนัก | |||
ยาว/กว้าง/สูง (มม.) | 4456/1735/1666 | 4325/1695/1685 | 4235/1695/1695 |
ช่วงล้อ หน้า/หลัง (มม.) | 1500/1500 | 1480/1490 | 1465/1470 |
ฐานล้อ (มม.) | 2655 | 2750 | 2740 |
น้ำหนัก (กก.) | 1241 | 1195 | 1310 |
ความจุถังเชื้อเพลิง (ลิตร) | 48.5 | 45 | 42 |
เครื่องยนต์ | เบนซิน 4 สูบ 16 วาล์ว | ||
ความจุ(ซีซี) | 1497 | 1373 | 1496 |
กระบอกสูบ/ช่วงชัก (มม.) | 73.0/89.4 | 73.0/82.0 | 72.5/90.6 |
อัตราส่วนกำลังอัด | 10.3:1 | 11.0:1 | 11.5/1 |
กำลังสูงสุด (แรงม้า/รตน.) | 117/6000 | 92/6000 | 108/6000 |
แรงบิดสูงสุด (กก.-ม./รตน.) | 14.9/4700 | 13.3/4000 | 14.3/4200 |
ระบบจ่ายเชื้อเพลิง | หัวฉีดมัลทิพอยท์ | ||
ระบบถ่ายทอดกำลัง | |||
เกียร์ (จังหวะ) | อัตโนมัติ CVT | อัตโนมัติ 4 | อัตโนมัติ CVT |
ขับเคลื่อน (ล้อ) | 2 หน้า | ||
ระบบรองรับ | |||
หน้า | อิสระ แมคเฟอร์สันสตรัท | อิสระ แมคเฟอร์สันสตรัท | แมคเฟอร์สันสตรัท |
พร้อมเหล็กกันโคลง | พร้อมคอยล์สปริง | พร้อมคอยล์สปริง | |
หลัง | ทอร์ชันบีม | ทอร์ชันบีม พร้อมคอยล์สปริง | ทอร์ชันบีม พร้อมคอยล์สปริง |
ระบบบังคับเลี้ยว | เพาเวอร์ผ่อนแรงแบบไฟฟ้า | ||
ระบบห้ามล้อ | เอบีเอส อีบีดี | ||
หน้า | จาน | จาน | จาน |
หลัง | จาน | ดุม | จาน |
ราคา (บาท) | 820000 | 715000 | 865000 |
อัตราเร่ง (วินาที) | |||
---|---|---|---|
0-60 กม./ชม. | 6.3 | 6.7 | 6.4 |
0-80 กม.-ชม. | 9.1 | 10.3 | 9.6 |
0-100 กม.ชม. | 12.8 | 15.4 | 13.9 |
0-120 กม.ชม. | 17.7 | 21.8 | 20.1 |
0-140 กม./ชม. | 24.9 | 30.6 | 30.7 |
0-400 ม. | 19.0 | 20.1 | 19.6 |
0-1000 ม. | 34.2 | 36.2 | 35.6 |
อัตราเร่งยืดหยุ่น (วินาที) | |||
60-100 กม./ชม. | 7.1 | 8.0 | 7.4 |
80-120 กม./ชม. | 9.0 | 11.4 | 10.2 |
ห้ามล้อเมื่อหยุดรถกระทันหันจากความเร็ว (ม./ค่าจี) | |||
60-0 กม./ชม. | 16.6/0.85 | 16.4/0.86 | 15.8/0.90 |
80-0 กม./ชม. | 28.2/0.89 | 28.4/0.89 | 28.7/0.88 |
100-0 กม./ชม. | 43.8/0.90 | 46.6/0.84 | 45.4/0.87 |
ระดับเสียงรบกวนในห้องโดยสาร (เดซิเบล A) | |||
0 กม./ชม. (จอดนิ่ง) | 41 | 37 | 39 |
60 กม./ชม. | 60 | 59 | 59 |
80 กม./ชม. | 64 | 62 | 64 |
100 กม./ชม. | 66 | 67 | 67 |
120 กม./ชม. | 69 | 69 | 69 |
อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง | |||
60 กม./ชม. | 25.6 | 25.1 | 24.7 |
80 กม./ชม. | 22.2 | 20.9 | 20.9 |
100 กม./ชม. | 16.7 | 17.1 | 16.2 |
120 กม./ชม. | 12.7 | 13.4 | 12.7 |
น้ำมันเบนซินที่ใช้ได้ | E10-E85 | E10-E20 | E10-E20 |
ระบบความปลอดภัย | HONDA BR-V SV | SUZUKI ERTIGA DREZA | TOYOTA SIENTA 1.5V |
---|---|---|---|
โครงสร้างตัวถังนิรภัย | G-CON | TECT | GOA |
ถุงลมนิรภัย | คู่หน้า | คู่หน้า | คู่หน้า |
ระบบป้องกันล้อลอคขณะเบรค (ABS) | |||
ระบบกระจายแรงเบรค (EBD) | |||
ระบบเสริมแรงเบรค (BA) | |||
ระบบควบคุมการทรงตัว (VSC) | |||
ระบบช่วยการออกตัวบนทางลาดชัน (HAC) | |||
แผงไล่ฝ้ากระจกหลัง | |||
ไฟเบรคดวงที่ 3 | |||
ไฟตัดหมอกหน้า | |||
สัญญาณเตือนกะระยะถอยหลัง | กล้องมองหลัง | กล้องมองหลัง | |
ระบบกันขโมย | |||
ระบบกุญแจกันการโจรกรรม IMMOBILISER | |||
ไฟหน้า | พโรเจคเตอร์ | ฮาโลเจน | พโรเจคเตอร์ |
กระจกมองข้างพร้อมไฟเลี้ยว |
Model | Start Price (THB) |